วัดเจดีย์หลวง (จังหวัดนครศรีธรรมราช)

วัดในจังหวัดนครศรีธรรมราช

วัดเจดีย์หลวง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลควนทอง อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

วัดเจดีย์หลวง
แผนที่
ที่ตั้งตำบลควนทอง อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

บริเวณที่ตั้งของวัดเจดีย์หลวงเป็นชุมชนโบราณ[1] พบเนินดินที่มีร่องรอยว่าเป็นโบราณสถานกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป พบเศษอิฐแนวอิฐหินชิ้นส่วนอาคาร ฯลฯ

จากคำบอกเล่าของชาวบ้านทราบว่าเมื่อครั้งสร้างอุโบสถของวัดได้ มีการทำลายเนินดินลงแห่งหนึ่ง พบโบราณวัตถุและชิ้นส่วนของอาคารซึ่งทำจากอิฐและหินโบราณวัตถุที่ยังเหลืออยู่จากการทำลายเพื่อใช้เป็นฐานรากอุโบสถในคราวนั้น ได้แก่ฐานโยนิทำจากหินปูนเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 100 x100 เซนติเมตรหนา 11.5 เซนติเมตร รูตรงกลางเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเซาะร่อง 2 ชั้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12–14 ธรณีประตูทำด้วยหินปูนและหินทราย จำนวน 4 ชิ้น ทับหลัง เป็นแผ่นหินปูนแผ่นหนึ่งขนาดกว้าง 63 เซนติเมตร ยาว 139 เซนติเมตร หนา 18 เซนติเมตร ด้านบนมีลวดลายพรรณพฤกษาสลักอยู่ ขนาด 40x72 เซนติเมตร ต่ำลงมาจากลวดลายสลักดังกล่าวมีรูข้างละ 1 รู แผ่นหินนี้อาจจะเป็นทับหลังของอาคารก็ได้ กรอบประตู ทำด้วยหินทรายพบ 2 ชิ้น แท่งหินประการังพบแท่งหินประการังรูปทรงต่าง ๆ หลายแบบ สระน้ำโบราณอยู่ห่างจากเนินโบราณสถานที่ถูกรื้อเพื่อสร้างอุโบสถไปทางทิศเหนือทิศใต้และทิศตะวันตก (ทิศละ 1 สระ) ราว 100 เมตร เป็นสระรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 20x20 เมตร ปัจจุบันตื้นเขินหมดแล้ว[2]

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติระบุว่าวัดเจดีย์หลวงตั้งวัดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2514 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2515[3] ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์วัดเจดีย์หลวง เป็นสถานที่เก็บของเก่าโบราณที่เก่าแก่และร่วมสมัย เป็นจำนวนมากควรแก่การอนุรักษ์[4]

อ้างอิง แก้

  1. "วัดเจดีย์หลวง". สนุก.คอม.
  2. กรมศิลปากร. "วัดเจดีย์หลวง" ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 27 มีนาคม 2566. เข้าถึงจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/
  3. "วัดเจดีย์หลวง". สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
  4. "พิพิธภัณฑ์วัดเจดีย์หลวง". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.