วัดพระธาตุประสิทธิ์
วัดพระธาตุประสิทธิ์ หรือ วัดธาตุประสิทธิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
วัดพระธาตุประสิทธิ์ | |
---|---|
![]() | |
![]() | |
ชื่อสามัญ | วัดพระธาตุประสิทธิ์, วัดธาตุ, วัดธาตุประสิทธิ์ |
ที่ตั้ง | ตำบลนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม |
ประเภท | พระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ |
นิกาย | มหานิกาย |
เจ้าอาวาส | พระมหาสมัคร วรปุณฺโณ ป.ธ.๙ |
![]() |
วัดพระธาตุประสิทธิ์ เดิมชื่อ วัดธาตุ เนื่องจากมีเจดีย์เก่าแก่ที่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างมาในสมัยใด ลักษณะเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองฐาน[1] สภาพพระธาตุเมื่อแรกพบ มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมีเถาวัลย์ปกคลุมไปทั้งองค์พระธาตุ พบโดยชนเผ่าญ้อ ต่อมาพระเจ้าไชยเชษฐาได้เข้ามาบูรณะใหม่ ต่อมา พ.ศ. 2454 พระครูประสิทธิ์ศึกษากร เจ้าอาวาสวัดธาตุประสิทธิ์ ได้ก่อสร้างพระธาตุเจดีย์องค์ใหม่โดยสร้างเลียนแบบพระธาตุพนมบางส่วน กว้างด้านละ 7.2 เมตร วัดโดยรอบฐาน 24.5 เมตร สูง 24.52 เมตร สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2506 ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันต์ธาตุรวม 24 พระองค์ และดินจากสังเวชนียสถาน และพระพุทธรูปที่พบใน เจดีย์องค์ที่เก่ามาบรรจุไว้ในองค์พระธาตุ และเมื่อปี พ.ศ. 2500 ได้อัญเชิญพระพุทธบาทจำลองที่อัญเชิญมาจากกรุงเทพ พร้อมตั้งชื่อพระธาตุใหม่ว่า พระธาตุประสิทธิ์ [2]
พระธาตุองค์นี้เป็นพระธาตุประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี ทุกปีจะมีงานนมัสการพระธาตุ คือ งานบุญเดือนสี่ของดีนาหว้าซึ่งตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือนสี่ ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสี่[3]
ต่อมาในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2568 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะวัดพระธาตุประสิทธิ์ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2567[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ "วัดธาตุประสิทธิ์". เทศบาลตำบลนาหว้า. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-03.
- ↑ "วัดพระธาตุประสิทธิ์". สำนักงานจังหวัดนครพนม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-03.
- ↑ "พระธาตุประสิทธิ์". กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-23. สืบค้นเมื่อ 2021-07-03.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศยก '12 วัดราษฎร์' ขึ้นเป็น 'พระอารามหลวง'". เดลินิวส์. 26 มีนาคม 2025. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2025.