วัดกูบังตีกา

วัดไทยในประเทศมาเลเซีย

วัดกูบังตีกา เป็นวัดในรัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย ห่างจากด่านปาดังเบซ่าร์ 14 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในชุมชนชาวไทย บ้านกูบังตีกา ต.จูปิง เมืองกางะ รัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย ชื่อของวัดตั้งตามชื่อหมู่บ้านคือหมู่บ้านกูบังตีกา คำนี้เป็นภาษามลายูแปลว่าแอ่งน้ำ 3 แอ่ง

วัดกูบังตีกา
ที่ตั้งตำบลจูปิง อำเภอกางะ รัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย
นิกายเถรวาท มหานิกาย
ความพิเศษวัดไทยในประเทศมาเลเซีย
เวลาทำการทุกวัน
จุดสนใจพระอุโบสถ
การถ่ายภาพอนุญาต
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ประวัติวัดกูบังตีกา แก้

วัดกูบังตีกา เดิมพื้นที่ยังไม่เป็นวัดที่แน่นอน เป็นเพียงที่พักสงฆ์บริเวณหมู่บ้านกูบังตีกา อาศัย ถ้ำ ภูเขา เหมาะแก่การพำนักของพระสงฆ์เท่านั้น ต่อมา มีชาวบ้านบริจาคพื้นที่ ท้ายบ้านกูบังตีกา ถัดจากภูเขาหัวล้านไป 3 ลูก ได้รับบริจาคที่ ประมาณ 16 ไร่ จากชาวบ้านกูบังตีกา ปัจจุบันซื้อเพิ่มเติมอีก 4 ไร่ ครูใบฎีกาฉลอง อนาวิโล(พระอาจารย์ทิ่น)เป็นผู้ก่อตั้งวัดเมื่อ วันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2504 เวลา 04:20 น. ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ปีฉลู และมาจำพรรษาระหว่างพ.ศ. 2504 – 2513 ท่านได้ปรับปรุงภูมิทัศน์ป่า สร้างกุฏิพอได้อาศัย พระครูวิพิพิธพัฒนกิจสุนทร (พระอาจารย์บุญถัน)มาจำพรรษา พ.ศ 2514-2535 สร้างศาลาโรงธรรม หอฉันซึ่งประกอบไปด้วย ที่พักสงฆ์ก่อด้วยปูน

ในปี 2536 พระอาจารย์ถัน ได้ขอตัวพระนักศึกษามาปฏิบัติศาสนกิจจากมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย จึงมีพระเดินทางมา 2 รูปคือ พระมหาเหรียญ โชติทินโน และพระมหาเสมอ ท่านทั้งสองได้ทำหน้าที่ สอนหนังสือ และบวชสามเณร อยู่จนครบ 1 ปี เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาปฏิบัติศาสนกิจ จึงเดินกลับไปรับปริญญา ในปี พ.ศ. 2537 ขอพระมาปฏิบัติศาสนกิจต่อ ซึ่งมี พระมหาสินชัย สิกขาสโภ และพระมหาอาทิตย์ มาทำหน้าที่สอนหนังสือ อบรมเยาวชน ช่วงปี พ.ศ. 2538 -2540 ขาดพระอยู่ถาวร มีเพียงพระแวะมาพักอาศัยชั่วคราวแล้วเดินทางไป ทำให้ชาวบ้านขาดพระประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จึงรวมตัวกันเข้ากราบเรียนและปรึกษาพระเทพมงคลญาณเจ้าอาวาสวัดบุญญาราม เจ้าคณะรัฐเคดาห์-เปอร์ลิส ขอพระมาอยู่จำพรรษาอย่างถาวร ท่านมอบหมายให้พระมหาสินชัย สิกขาสโภ ซึ่งเคยจำพรรษาและปฏิบัติศาสนกิจอยู่ จากกัวลาลัมเปอร์ให้มารักษาการเจ้าอาวาสวัดกูบังตีกา ปี พ.ศ 2541 พระมหาสินชัย จึงมาทำหน้าที่รักษาการเจ้าอาวาสตามคำสั่งพระเทพมงคลญาณเจ้าอาวาสวัดบุญญาราม เจ้าคณะรัฐเคดาห์-เปอร์ลิสซึ่งตอนนั้นวัดกูบังตีกาเป็นป่ารก เป็นวัดร้าง เมื่อเดินทางมาอยู่ จึงเริ่มมีพระมาอยู่อาศัยจำพรรษา 5 รูป และได้เริ่มพัฒนา ปรับปรุง เสนาสนะ ซื้อที่ดินเพิ่มเติม 4 ไร่ สร้างวิหารรูปเหมือนหลวงพ่อแก้วสุวรรณ อุโบสถ วิหารพระเทพมงคลญาณ ติดเชิงเขาทางทิศตะวันออกของวัด

สิ่งก่อสร้างภายในวัด แก้

  • พ.ศ 2504 ปรับพื้นที่ สร้างวัด
  • พ.ศ 2520 สร้างศาลาโรงธรรม และอาคารหอฉัน ที่พัก
  • พ.ศ 2539 -2540 ขุดสระ ถมที่ ปรับปรุงพื้นที่ สร้างหอระฆัง งบประมาณ 390,000 บาท
  • พ.ศ 2542 สร้างวิหารหลวงพ่อแก้วสุวรรณ งบประมาณ 530,000 บาท
  • พ.ศ 2543 สร้างห้องน้ำ ห้องสุขา งบประมาณ 300,000 บาท
  • พ.ศ 2543 รัฐบาลมาเลเซีย สร้างศาลาอเนกประสงค์กลางวัด งบประมาณ 350,000 บาท
  • พ.ศ 2544 – 2550 สร้างอุโบสถ พร้อมพระประธาน งบประมาณ 8,000,000 บาท
  • พ.ศ 2551 สร้างวิหารเทพมงคลญาณ งบประมาณ 1,4000,000 บาท


สถานที่สำคัญภายในวัด แก้

กิจกรรมทางศาสนา แก้

  • เวียนเทียนและ สวดมนต์ ทำวัตรเช้า-เย็น อบรมเมตตาภาวนา ทอดกฐิน
  • สอนธรรมศึกษา ธรรมศึกษา แบ่งออก 3 ระดับ
    • 2.1 ธรรมศึกษา ตรี
    • 2.2 ธรรมศึกษา โท
    • 2.3 ธรรมศึกษา เอก

หลักสูตรในการสอน ใช้ตำรา หนังสือ เฉลยข้อสอบเก่า เอกสาร ทางกรุงเทพมหานคร โดยแต่ละปีมีการจัดซื้อหนังสือเพื่อให้นักเรียนธรรมศึกษาฟรี ทุกระดับชั้น นอกจากนี้ ในช่วงใกล้สอบ 2 สัปดาห์ จะจัดอบรมพิเศษ เพื่อให้นักเรียนเตรียมความพร้อม ก่อนวันเข้าสอบจริง

  • สอนภาษาไทยให้กับเยาวชน ภาษาไทย แบ่งออก เป็น 3 ระดับ
  • 1.1 ระดับอนุบาล สอนให้ท่องทำพยัชนะและสระ ตัวเลข พื้นฐาน
  • 1.2 ระดับ ป.1-3 สอนให้สะกดคำ และเขียน เขียนตาม
  • 1.3 ระดับ ป.4-6 สอนให้สะกดคำ เขียน สุภาษิต ฝึกเขียนเอง ทำแบบฝึกหัด

การสอนภาษาไทยนั้น ก่อนหน้านี้ มีผู้สนใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่ภายหลังมีการสอนสืบต่อเนื่อง ผู้ใหญ่ที่ไม่รู้ภาษาไทยจึงหมดไปทีละน้อย พ่อแม่นิยมส่งลูกหลานมาเรียนภาษาไทยตั้งแต่เด็ก สอดคล้องกับเวลาเรียนภาษาไทยนั้นเป็นเวลาว่าง จากการเรียนภาคบังคับของรัฐบาล ซึ่งโรงเรียนรัฐบาลมาเลเซียเลิกเรียน 12.00น. เวลาเปิดสอนของวัดกูบังตีกา คือ 14.00น.-16.30น. การเรียนภาษาไทยในประเทศมาเลเซียนั้น ทุกวันนี้ โรงเรียนรัฐบาลมาเลเซียพยายามจัดให้มีการสอนภาษาไทยขึ้นหลายแห่ง ซึ่งโดยมาก จะเป็นโรงเรียนติดชายแดนไทย รัฐที่มีชาวไทยอยู่มาก ผู้ที่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้นั้น ยังมีผลต่อการสมัครงานอีกด้วย จึงทำให้เยาวชนรุ่นใหม่ สนใจเรียนภาษาไทยกันมากขึ้น

การเดินทางมายังวัดกูบังตีกา แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้