วัดกำแพงงาม (จังหวัดเชียงใหม่)

วัดในจังหวัดเชียงใหม่

วัดกำแพงงาม เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่มีประวัติความเป็นวัดที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2300 เดิมชื่อวัดสันกำแพงงาม โดยลักษณะวิหารเป็นทรงล้านนา หลังคาซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ลดหลั่นกันลงมา มีช่อฟ้าเป็นเครื่องประดับปลายหลังคา มีลักษณะคล้ายหัวนาถปลายแหลม ใบระกาเป็นส่วนของเกล็ดหลังคารูปฟันปลา หางหงส์ (ลายตัวเหงา) อยู่ที่ปลายป้านลมของวิหารต่อจากนาคลำพอง ส่วนหน้าบันประดิษฐ์เป็นลวดลายเครือเถา ซุ้มประตูทางเข้าไปในวิหาร ด้านบนเป็นแบบจั่วทำเป็นนาคสะดุ้งทอดหางยาวขึ้นไป ลวดลายของซุ้มตกแต่งและประดับด้วยกระจกสี หน้าต่างจะมีลักษณะคล้ายกับซุ้มประตู ซึ่งศิลปกรรม บางอย่างที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ แต่ยังคงความเป็นเอกลักษณะของศิลปะล้านนาได้อย่างลงตัว

วัดกำแพงงาม
ไฟล์:Phrakukeaws.jpg
เจ้าอาวาสวัดกำแพงงาม
แผนที่
ที่ตั้งตั้งอยู่เลขที่ 26 บ้านตลาดหางดง ถนนสายเชียงใหม่ - ฮอด หมู่ที่ 3 ตำบลหางดง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 50230
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูรัตนธรรมพินิต (ครูบาสิงห์แก้ว ธมฺมธีโร)
กิจกรรมศาสนสถานในพระพุทธศาสนาที่มีกิจกรรมเชิงพุทธตลอดปี/ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ประวัติ แก้

วัดกำแพงงาม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2300 เดิมชื่อวัดสันกำแพงงาม เพราะตั้งอยู่หมู่บ้านสันฟ้างาม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดกำแพงงาม ตามประวัติแจ้งว่าวัดสร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2277 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร

ขนาดและพื้นที่ของวัด แก้

ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 5 ไร่ 73 ตารางวา น.ส. 3 ก. เลขที่ 1956 อาณาเขตทิศเหนือประมาณ 110 เมตร จรดที่ธรณีสงฆ์ ทิศตะวันตกประมาณ 135 เมตร จรดถนนสายเชียงใหม่ - ฮอด มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 3 แปลง เนื้อที่ 5 ไร่ 94 ตารางวา น.ส. 3 ก. เลขที่ 1957

ศาสนสถาน แก้

  1. อุโบสถ
  2. พระวิหาร
  3. ศาลาการเปรียญ
  4. กุฎิที่พักสงฆ์
  5. ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

ลำดับเจ้าอาวาส แก้

  1. รายนามคณะสงฆ์ผู้เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด

รูปที่ 1 พระอธิการคันธา (ครูบาคันธา) เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. รูปที่ 2 พระอธิการอินตา (ครูบาอินตา) เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. รูปที่ 3 พระอธิการแก้ว (ครูบาแก้ว) เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. รูปที่ 4 พระครูบุญญาภินันท์ (บุญชู จนฺทสิริ) ได้นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๔๘๓ เป็นเจ้าอาวาสในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นผู้รั้งตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอหางดงพ.ศ. ๒๔๘๕, เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ. ๒๔๘๘ และเป็นเจ้าคณะอำเภอหางดง พ.ศ. ๒๔๘๙ รูปที่ 5 องค์ปัจจุบันพระครูรัตนธรรมพินิต (ครูบาสิงห์แก้ว ธมฺมธีโร) เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๕ จนถึงปัจจุบันนี้

สถานที่น่าสนใจภายในวัดกำแพงงาม อ.หางดง จ.เชียงใหม่ แก้

พระวิหารลายปูนปั้นที่มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะล้านนาดั้งเดิม วิหารเป็นทรงล้านนา หลังคาซ้อนกันเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกันลงมา มีช่อฟ้าเป็นเครื่องประดับปลายหลังคา มีลักษณะคล้ายหัวนาถปลายแหลม ใบระกาเป็นส่วนของเกล็ดหลังคารูปฟันปลา หางหงส์ (ลายตัวเหงา) อยู่ที่ปลายป้านลมของวิหารต่อจากนาคลำพอง ส่วนหน้าบันประดิษฐ์เป็นลวดลายเครือเถา ซุ้มประตูทางเข้าไปในวิหาร ด้านบนเป็นแบบจั่วทำเป็นนาคสะดุ้งทอดหางยาวขึ้นไป ลวดลายของซุ้มตกแต่งและประดับด้วยกระจกสี หน้า ต่างจะมีลักษณะคล้ายกับซุ้มประตู ซึ่งศิลป-กรรม บางอย่างที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ แต่ยังคง ความเป็นเอกลักษณะของศิลปะล้านนาได้อย่างลงตัว พระเจดีย์ พระรูปเหมือนปูนปั้นของพระครูบุญญาภินันท์ (บุญชู จนฺทสิริ) ภายในปูนปั้นบรรจุอัฐิธาตุของพระครูบุญญาภินันท์ (บุญชู จนฺทสิริ)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้