วัก (อังกฤษ: vug) คือ ช่องว่างหรือโพรงเล็กๆในสายแร่หรือหิน โดยปรกติจะมีผลึกแร่ต่างชนิดกับผลึกแร่ของหินที่ล้อมรอบอยู่เคลือบผนังช่องว่างนั้น บางครั้งอาจมีกระบวนการเกิดค่อนข้างหลากหลาย รอยแยกและรอยแตกทั้งหมดมักเกิดจากกระบวนการทางธรณีแปรสัณฐาน (การคดโค้งโก่งงอและรอยเลื่อน) โดยแร่ ควอตส์ แคลไซน์ และแร่ทุติยภูมิต่างๆ จะเข้าไปเติมในรอยแตกนั้น รอยเปิดและหินกรวดเหลี่ยมยุบ มวลเศษหินซึ่งประกอบด้วยกรวดเหลี่ยมที่เกิดจากการยุบตัวลงมาของเพดานหินในโพรงหิน หรือถ้ำหรือของหินท้องที่ซึ่งอยู่เหนือหินอัคนีแทรกซอน เป็นตัวสำคัญของบริเวณที่มีการเกิดวัก วักบางครั้งเป็นผลจากเมื่อผลึกแร่หรือฟอสซิลในเนื้อหินที่เกิดการกัดกร่อนและถูกละลายออกมาอาศัยอยู่ในช่องว่าง โดยบริเวณผิวหน้าของโพรงข้างในหินจะถูกเคลือบและตกผลึกของสารละลาย ถ้ามีการเกิดอย่างเสถียรและช้าๆจะทำให้เกิดเป็นผลึกแร่ หรือผลึกที่มีหน้าสมบูรณ์ สวยงาม

วักมักไม่พบในสายแร่ แนวแตกหรือรอยแยกขนาดใหญ่ที่ปะทุให้เห็นเป็นแนวยาวแต่อาจพบการเกิดวักในช่องว่างหรือโพรงที่เกิดตามธรรมชาติใต้ผิวดินหรือเกิดขึ้นจากองอากาศในเนื้อหิน โดยเฉพาะหินภูเขาไฟ จีโอดเป็นวักปกติที่เกิดในหิน[1]

คำว่า วัก เป็นชื่อภาษาอังกฤษตั้งโดย Cornish miners ภาษา Cornish มาจากคำว่า vooga แปลว่า "ถ้ำ" โดยสามารถสะกดได้อีกว่า vugg และ vugh

อ้างอิง

แก้
  • ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ศัพท์ธรณีวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2544.384 หน้า.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้