วฏทาเค (สิงหล: වටදාගෙ; vaṭadāge) หรือชื่ออื่น[1] ทาเค, ถูปาคาร และ เจติยาคาร เป็นรูปแบบของสิ่งปลูกสร้างในศาสนาพุทธที่พบในประเทศศรีลังกา

แบบจำลองโครงสร้างที่คาดว่าเป็นโครงสร้างเดิมของวฏทาเคของถูปาราม จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์อนุราธปุระ

วฏทาเคสำคัญได้แก่โปโลนนรูววฏทาเค, เมทีรีคิริยะ และ ฐิริยายะ

วฏทาเคสร้างขึ้นเป็นทรงกลมรอบสถูปขนาดเล็กเพื่อปกป้องสถูป รวมถึงเป็นร่มเงาให้กับศาสนิกชนที่เดินทางมายังสถูป โครงสร้างค้พยันของวฏทาเคคือเสาซึ่งล้อมเป็นวงกลมหลายชั้น โดยชั้นในสุดจะสูงที่สุด และลดหลั่นลงมาตามรอบวง จำนวนเสานี้แตกต่างกันไปตามแต่ละที่ ตัวอย่างเช่นที่ลังการาม อาจเคยมีเสามากถึง 88 เสา[2] อย่างไรก็ตาม มีข้อถกเถียงว่าจริง ๆ แล้วเสาเหล่านี้มีไว้เพื่อค้ำยันโครงสร้างหลังคาหรือไม่[3] เนื่องจากหากเป็นหลังคาคลุมจริง จะหมายความว่ายอดของสถูปก็ต้องถูกบดบังไปด้วย[2]

โดยทั่วไปวฏทาเคมีทางเข้าสี่ทาง ส่วนใหญ่ตั้งไปตามทิศหลักทั้งสี่[4] บางที่เช่นที่ถูปารามมีเพียงทางเข้าเดียว[5] ซุ้มทางเข้าออกจะตกแต่งอย่างวิจิตร มีการประดับหินต่าง ๆ เช่น korawakgala, sandakada pahana แลด muragala[6]

อ้างอิง แก้

  1. Sarachchandra (1987), p. 115
  2. 2.0 2.1 Siriweera (2004), p. 285
  3. Amarasinghe (1998), p. 58
  4. Bandaranayake (1974), p. 140
  5. Bandaranayake (1974), p. 141
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Sa117

บรรณานุกรม แก้

  • Amarasinghe, Malinga (1998). පොළොන්නරුවේ නටබුන් [The Ruins of Polonnaruwa] (ภาษาสิงหล). S. Godage & Brothers. ISBN 955-20-3051-X.
  • Prematilleke, P. L.; Karunaratne, L. K. (2004). Polonnaruwa - The Silver Capital of Sri Lanka. Colombo: Central Cultural Fund, Ministry of Cultural Affairs. ISBN 955-613-111-6.
  • Sarachchandra, B. S. (1977). අපේ සංස්කෘතික උරුමය [Cultural Heritage] (ภาษาสิงหล). Silva, V. P.
  • Siriweera, W. I. (2004). History of Sri Lanka. Dayawansa Jayakodi & Company. ISBN 955-551-257-4.
  • Bandaranayake, Senake (1974). Sinhalese monastic architecture: the viháras of Anurádhapura. Brill Publishers. ISBN 978-90-04-03992-6.

title=Vatadageya: Vatadageya – Polonnaruwa|publisher=Story of Ceylon|date=2019|https://www.storyofceylon.com/vatadageya/}}[ลิงก์เสีย]