ปลาโรนัน
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: จูราสสิกตอนต้น-ปัจจุบัน[1]
ปลาโรนันจุดขาว (Rhynchobatus djiddensis)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Chondrichthyes
ชั้นย่อย: Elasmobranchii
อันดับ: Rajiformes
วงศ์: Rhinobatidae
Müller & Henle, 1837
สกุล
ดูในเนื้อหา

ปลาโรนัน (อังกฤษ: Guitarfishes) ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ Rhinobatidae มีรูปร่างคล้ายปลาฉลามแต่มีส่วนหัวแบนแหลมเหมือนปลากระเบน ซึ่งเป็นรอยต่อของวิวัฒนาการจากปลาฉลามมาถึงปลากระเบน โดยวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคจูราสสิกตอนต้น พบในเขตน้ำอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ทั้งทวีปอเมริกาเหนือ, ทวีปแอฟริกา, เอเชีย และออสเตรเลียทางตอนเหนือ

ลักษณะและพฤติกรรม แก้

มีปากอยู่บริเวณด้านล่างของลำตัวเหมือนปลากระเบน หรือปลาฉนาก อาศัยและว่ายน้ำรวมกันเป็นฝูงใหญ่ โดยปกติปลาตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้มาก ออกลูกเป็นตัว โดยไข่พัฒนาอยู่ในลำตัวแม่ เป็นปลาที่พบได้น้อยและมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์แล้วทุกชนิด ในน่านน้ำของไทย เคยพบอยู่บ้างในอดีตทั้งทะเลอันดามันและอ่าวไทย และเคยถูกเบ็ดหรือแห ของชาวประมงเกี่ยวติดขึ้นมาบ้าง แต่มิได้โดยตั้งใจเพราะมิใช่ปลาเศรษฐกิจ อีกทั้งยังนิยมตกเป็นเกมกีฬา ได้ถูกพบเห็นบ้างโดยนักดำน้ำ ที่บริเวณหมู่เกาะสิมิลัน และรอบกองหินริเชริว ปลาโรนันขนาดโตเต็มที่อาจมีขนาดได้ถึง 3 เมตร น้ำหนักกว่า 200 กิโลกรัม ที่พบในน่านน้ำไทยได้แก่ชนิด Rhynchobatus djiddensis และชนิด Rhinobatos productus เป็นต้น[2]

เป็นปลาที่หากินตามพื้นท้องน้ำเช่นพื้นโคลนหรือพื้นทรายเหมือนปลากระเบน โดยกินสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น ไส้เดือนทะเล, ปู, กุ้ง[3] บางครั้งอาจพบได้ตามปากแม่น้ำ, แหล่งน้ำกร่อย หรือกระทั่งน้ำจืด[4] แต่โดยปกติแล้วจะอยู่ตามชายฝั่ง และพบในความลึกไม่เกิน 30 เมตร[4]

การจำแนก แก้

ตามหนังสือ Fishes of the World ในปี ค.ศ. 2006 ได้จำแนกออกเป็นสกุลต่าง ๆ ได้ดังนี้ คือ Aptychotrema , Rhinobatos , Trygonorrhina และ Zapteryx ขณะที่ในสกุล Platyrhinoidis และ Rhina , ได้ถูกจำแนกไว้ในวงศ์ของตนเอง และเมื่อเร็ว ๆ นี้สกุล Glaucostegus ได้แยกออกจาก Rhinobatos รวมถึง Tarsistes ก็ยังไม่ที่แน่นอน

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Froese, Rainer, and Daniel Pauly, eds. (2011). "Rhinobatidae" ในฐานข้อมูลปลา. ฉบับ February 2011
  2. นะแส, บรรจง (April 8, 2013). "30 ปีที่เจ้าโรนันหายไป...และเขาก็กลับมา". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ July 16, 2016.[ลิงก์เสีย]
  3. "Shovelnose guitarfish, Sandy Seafloor, Fishes, Rhinobatos productus at the Monterey Bay Aquarium". Monterey Bay Aquarium. Monterey Bay Aquarium Foundation. สืบค้นเมื่อ 1 May 2015.
  4. 4.0 4.1 Sullivan, Taylor. "FLMNH Ichthyology Department: Atlantic Guitarfish". Florida Museum of Natural History. Florida Museum of Natural History. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-04. สืบค้นเมื่อ 1 May 2015.
  5. 5.0 5.1 Last, White & Fahmi 2006 (2006). "Rhinobatos jimbaranensis and R. penggali, two new shovelnose rays (Batoidea: Rhinobatidae) from eastern Indonesia". Cybium. 30 (3): 262ff.
  6. Peter R. Last; Leonard J.V. Compagno; Kazuhiro Nakaya (2004). "Rhinobatos nudidorsalis, a new species of shovelnose ray (Batoidea: Rhinobatidae) from the Mascarene Ridge, central Indian Ocean". Ichthyological Research. 51 (2): 153–158. doi:10.1007/s10228-004-0211-0.
  7. 7.0 7.1 Last, P.R., Ho, H.-C. & Chen, R.-R. (2013): A new species of wedgefish, Rhynchobatus immaculatus (Chondrichthyes, Rhynchobatidae), from Taiwan. Pp. 185-198 in: de Carvalho, M.R., Ebert, D.A., Ho, H.-C. & White, W.T. (eds.) : Systematics and biodiversity of sharks, rays, and chimaeras (Chondrichthyes) of Taiwan. Zootaxa, 3752 (1): 1–386.
  8. Compagno, L.J.V. & Marshall, A.D. (2006). "Rhynchobatus sp. nov. A". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2014.1.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้