ลายเจิว

นครในจังหวัดลายเจิว ประเทศเวียดนาม

ลายเจิว (เวียดนาม: Lai Châu; ฟัง) เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดลายเจิว ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอฟ็องโถ อำเภอสี่นโห่ และอำเภอตามเดื่อง ณ ค.ศ. 2020 นครลายเจิวมีจำนวนประชากร 42,973 คน ครอบคลุมพื้นที่ 92.37 ตารางกิโลเมตร[1]

ลายเจิว

Lai Châu
นครลายเจิว
Thành phố Lai Châu
ทิวทัศน์นครลายเจิวมองผ่านทะเลสาบกลางเมือง
ทิวทัศน์นครลายเจิวมองผ่านทะเลสาบกลางเมือง
แผนที่
ลายเจิวตั้งอยู่ในประเทศเวียดนาม
ลายเจิว
ลายเจิว
ที่ตั้งในประเทศเวียดนาม
พิกัด: 22°23′57″N 103°26′21″E / 22.39917°N 103.43917°E / 22.39917; 103.43917
ประเทศ เวียดนาม
ภูมิภาคภาคตะวันตกเฉียงเหนือ
จังหวัดลายเจิว
จัดตั้งเป็นเมือง10 ตุลาคม ค.ศ. 2004
จัดตั้งเป็นนคร27 ธันวาคม ค.ศ. 2013
การแบ่งเขตการปกครอง5 แขวง (phường), 2 ตำบล ()
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด92.37 ตร.กม. (35.66 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (ค.ศ. 2020)[1]
 • ทั้งหมด42,973 คน
 • ความหนาแน่น470 คน/ตร.กม. (1,200 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+7 (เวลาอินโดจีน)
เว็บไซต์thanhpho.laichau.gov.vn
อนุสาวรีย์จัตุรัสนครลายเจิว เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2014

ประวัติศาสตร์

แก้

ลายเจิว หรือเมืองไล (เวียดนาม: Mường Lay; เหมื่องไล) เป็นเมืองที่ปกครองโดยเจ้านายชาวไทขาวที่เคยมีอำนาจสูงสุดเหนือชาวไทกลุ่มอื่น ๆ ในพื้นที่ โดยเคยมีการแย่งชิงอำนาจระหว่างผู้ปกครองชาวไทขาวของเมืองไลกับเมืองสอ[2] ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 เมืองไลเคยปกครองโดยแด่ว วัน จิ (Đèo Văn Trị) หรือเจ้าไล หรือลาวเรียกเจ้าคำฮุม เจ้าชาวไทขาวผู้พยายามรวม 12 หัวเมืองเป็นหนึ่งและปกครองทั้ง 12 หัวเมืองนี้ (เวียดนาม-จีน: Châu เจิว/ 州 โจว) รวมเรียกว่า "สิบสองจุไท" โดยเจ้าไลได้รับความช่วยเหลือจากพวกธงดำของจีน จากนั้นจึงได้รับความช่วยเหลือจากฝรั่งเศส อำนาจของเจ้าไลและการปกครองตนเองในพื้นที่ได้รับการยอมรับจากฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1890

เขตการปกครอง

แก้

นครลายเจิวแบ่งออกเป็น 7 เขตการปกครองระดับตำบล ประกอบด้วย 5 แขวง ได้แก่ ดว่านเก๊ด (Đoàn Kết), ดงฟอง (Đông Phong), เกวี๊ยดทั้ง (Quyết Thắng), เกวี๊ยดเตี๊ยน (Quyết Tiến), และเตินฟอง (Tân Phong) และ 2 ตำบล ได้แก่ ซานถ่าง (San Thàng) และสุ่งฝ่าย (Sùng Phài)[1]

ภูมิอากาศ

แก้

นครลายเจิวมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cwa) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม โดยมีฤดูร้อนที่ร้อนอบอ้าว ชื้นแฉะ และเปียกชื้น และฤดูหนาวที่อบอุ่นและแห้งแล้ง

ข้อมูลภูมิอากาศของลายเจิว
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 34.3
(93.7)
38.0
(100.4)
39.6
(103.3)
41.9
(107.4)
42.5
(108.5)
39.8
(103.6)
39.8
(103.6)
38.9
(102)
37.0
(98.6)
36.4
(97.5)
34.3
(93.7)
32.9
(91.2)
42.5
(108.5)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 23.4
(74.1)
26.2
(79.2)
29.9
(85.8)
32.5
(90.5)
32.8
(91)
31.8
(89.2)
31.4
(88.5)
32.1
(89.8)
32.0
(89.6)
30.0
(86)
26.6
(79.9)
23.6
(74.5)
29.4
(84.9)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 17.2
(63)
18.9
(66)
22.1
(71.8)
24.9
(76.8)
26.4
(79.5)
26.7
(80.1)
26.5
(79.7)
26.7
(80.1)
26.1
(79)
24.0
(75.2)
20.6
(69.1)
17.5
(63.5)
23.1
(73.6)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 13.8
(56.8)
14.7
(58.5)
17.2
(63)
20.3
(68.5)
22.5
(72.5)
23.9
(75)
23.9
(75)
23.8
(74.8)
22.8
(73)
20.5
(68.9)
17.4
(63.3)
14.2
(57.6)
19.6
(67.3)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 3.4
(38.1)
7.1
(44.8)
8.1
(46.6)
12.9
(55.2)
14.1
(57.4)
18.2
(64.8)
20.1
(68.2)
19.1
(66.4)
16.4
(61.5)
10.0
(50)
7.5
(45.5)
3.6
(38.5)
3.4
(38.1)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 31.4
(1.236)
33.2
(1.307)
62.3
(2.453)
137.7
(5.421)
276.8
(10.898)
426.7
(16.799)
478.7
(18.846)
363.5
(14.311)
150.8
(5.937)
86.1
(3.39)
52.4
(2.063)
27.2
(1.071)
2,126.6
(83.724)
ความชื้นร้อยละ 80.6 76.4 74.5 76.5 79.9 85.3 87.0 86.0 84.0 83.8 83.8 83.1 81.7
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 5.1 4.8 7.5 13.0 19.4 23.7 25.2 21.6 13.0 9.4 6.7 5.3 154.8
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 129.4 148.2 179.3 198.2 178.1 118.0 123.3 152.2 162.7 151.6 140.7 131.1 1,823.6
แหล่งที่มา: สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการก่อสร้างเวียดนาม (Vietnam Institute for Building Science and Technology)[3]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Nghị quyết số 866/NQ-UBTVQH14 năm 2020 về việc sắp xếp các đơn vị hành chính cấp huyện, cấp xã thuộc tỉnh Lai Châu". 2020-01-10.
  2. Michael C. Howard, Kim Be Howard Textiles of the Daic peoples of Vietnam Page 75, 2002 "In general the White Tai nobles in the north were dominant, but even among them there was intense rivalry between the rulers of Muang Lay and Muang So. In the 1870s and 1880s Chinese bandits known as Haw (or Ho) moved into northern ..."
  3. "Vietnam Institute for Building Science and Technology" (PDF) (ภาษาอังกฤษ).
  4. "Vietnam Institute for Building Science and Technology" (PDF). สืบค้นเมื่อ 16 August 2023.