รูปแบบการไหลของลำน้ำ

รูปแบบการไหลของลำน้ำ (อังกฤษ: channel pattern) เกิดจากกระบวนการของธารน้ำ มีหลายรูปแบบ ได้แก่[1]

ลำน้ำแบบตรง แก้

ลำน้ำแบบตรง (straight channels) มีรูปร่างคล้ายเส้นตรง แต่ก็หาได้ยากนักในธรรมชาติ

ลำน้ำแบบเปีย แก้

 
แม่น้ำไวมาคารีรี (Waimakariri) ในประเทศนิวซีแลนด์ ตัวอย่างทางน้ำแบบเปีย

ลำน้ำแบบเปีย (braided channels) มีร่องน้ำเพี่ยง 1 ร่องน้ำและประกอบด้วยสันทรายกลางแม่น้ำ (braid bar) มีตลิ่งที่ไม่มั่นคง ไม่มีความเป็นเนื้อเดียวกันและถูกกัดเซาะได้ง่ายกว่าแม่น้ำชนิดอื่น ทางน้ำจะดูเหมือนไขว้กันไปมา มีปริมาณตะกอนที่เข้ามาในพื้นที่สูงโดยพื้นที่ที่เกิดการสะสมตัวแบบนี้มีความชันมาก ทำให้เกิดการกัดกร่อนสูง การเคลื่อนย้ายของตะกอนในแนวระนาบทำให้ได้เป็นชั้นทราย(หรือชั้นกรวด) ที่มีรูปร่างเป็นแผ่นหรือเป็นลิ่ม

ลำน้ำโค้งตวัด แก้

 
แม่น้ำริโอ-เคาโต (Rio-cauto) ที่ประเทศคิวบา ตัวอย่างทางน้ำแบบโค้งตวัด

ลำน้ำโค้งตวัด (meandering channels) มีรูปร่างโค้งตวัดไปมา มีตลิ่งที่มีความมั่นคงมากกว่าทางน้ำแบบเปีย เพราะมีการสะสมตัวบริเวณที่ราบน้ำท่วมถึง (floodplain) ที่หนากว่า มีต้นไม้หรือพืชขึ้นปกคลุมมากกว่า มีปริมาณตะกอนที่เข้ามาคงที่และเป็นบริเวณที่มีความชันน้อย ทำให้เกิดการกัดกร่อนได้ยากกว่าทางน้ำแบบเปีย ลักษณะตะกอนทรายที่แทรกอยู่มักจะถูกล้อมรอบด้วยตะกอนที่มีขนาดละเอียดกว่า

ลำน้ำประสานสาย แก้

ลำน้ำประสานสาย (anastomosion channels) มีร่องน้ำหลายร่องน้ำและมีตลิ่งที่มั่นคง มีตลิ่งที่มั่นคงคั่นระหว่างกระแสน้ำกับพื้นที่ที่เป็นที่ราบน้ำท่วมถึง และที่ลุ่มหลังคันดิน (backswamp) ทำให้แม่น้ำมีการเปลี่ยนตำแหน่งน้อยมาก ตะกอนในทางนั้นแบบนี้มีลักษณะเกาะติดกันโดยมีรากไม้ช่วยยืดตะกอน ตะกอนที่พบมีขนาดละเอียดมาก และพอกตัวอยู่หนาในร่องน้ำเดียว

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Channel Types เก็บถาวร 2006-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน University of Wisconsin Stevens Point (อังกฤษ)