ราอุล วัลเลนแบร์ย

ราอุล กุสตาฟ วัลเลนแบร์ย (สวีเดน: Raoul Gustaf Wallenberg; 4 สิงหาคม ค.ศ. 1912 – สาบสูญ 17 มกราคม ค.ศ. 1945)[1][2] เป็นสถาปนิก นักธุรกิจ นักการทูตและนักมนุษยธรรมชาวสวีเดน เขาช่วยเหลือชาวยิวนับพันคนจากฮอโลคอสต์โดยนาซีเยอรมันและฟาสซิสต์ฮังการีในฮังการีที่ถูกเยอรมนียึดครองช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง วัลเลนแบร์ยซึ่งเป็นผู้แทนพิเศษของสวีเดนประจำบูดาเปสต์ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม ค.ศ. 1944 ได้ออกหนังสือเดินทางและให้ที่พักพิงแก่ชาวยิวในอาคารที่กำหนดเป็นดินแดนสวีเดน[3]

ราอุล วัลเลนแบร์ย
ภาพวัลเลนแบร์ยในหนังสือเดินทาง
เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944
เกิดราอุล กุสตาฟ วัลเลนแบร์ย
4 สิงหาคม ค.ศ. 1912(1912-08-04)
เทศบาลลีดินเยอ, สวีเดน
สาบสูญ17 มกราคม ค.ศ. 1945
บูดาเปสต์, ฮังการี
เสียชีวิตคาดว่า 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1947 (34 ปี)[1][2]
มอสโก, สหภาพโซเวียต
สัญชาติสวีเดน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมิชิแกน
อาชีพนักธุรกิจ, นักการทูต
มีชื่อเสียงจากการช่วยเหลือชาวยิวฮังการีจากฮอโลคอสต์
บุพการีราอุล ออสการ์ วัลเลนแบร์ย
มารีอา โซฟียา "มาจ" วีซิง
ญาติกาย ฟอน ดาร์เดล (น้องชายต่างพ่อ)
นีนา ลาเกอร์เกรน (น้องสาวต่างพ่อ)
เฟรดริก อีลิอัส ออกุส ฟอน ดาร์เดล (พ่อเลี้ยง)
นีลส์ ดาร์เดล (อา; ครอบครัวผสม)
ครอบครัวฟอน ดาร์เดล (ครอบครัวผสม)
ตระกูลวัลเลนแบร์ย (ฝ่ายพ่อโดยกำเนิด)
รางวัลรายการ

วัลเลนแบร์ยหายสาบสูญหลังถูกสเมิร์ชคุมตัวด้วยข้อหาจารกรรม ระหว่างกองทัพแดงล้อมบูดาเปสต์เมื่อวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1945[4] ภายหลังมีรายงานว่าเขาเสียชีวิตในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1947 ขณะจองจำอยู่ที่อาคารลุปยันกาซึ่งเป็นกองบัญชาการเคจีบีในมอสโก แรงจูงใจในการจับกุมและคุมขังวัลเลนแบร์ย รวมถึงการเสียชีวิตและสายสัมพันธ์ของเขากับสำนักบริการด้านยุทธศาสตร์ของสหรัฐยังคงเป็นปริศนาและมีการคาดการณ์อย่างต่อเนื่อง[5]

หลายทศวรรษหลังสันนิษฐานว่าเสียชีวิต วัลเลนแบร์ยได้รับรางวัลจากความสำเร็จในการช่วยชีวิตชาวยิว ในปี ค.ศ. 1981 ทอม แลนโทส สมาชิกรัฐสภาสหรัฐผู้เป็นหนึ่งในชาวยิวที่วัลเลนแบร์ยช่วยเหลือสนับสนุนให้วัลเลนแบร์ยได้รับสภาพพลเมืองกิตติมศักดิ์ของสหรัฐ ส่งผลให้เขากลายเป็นบุคคลที่สองที่ได้รับเกียรตินี้ วัลเลนแบร์ยยังได้รับสภาพพลเมืองกิตติมศักดิ์ของแคนาดา ฮังการี ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักรและอิสราเอล[6] นอกจากนี้อิสราเอลยังมอบรางวัล Righteous Among the Nations เพื่อยกย่องวัลเลนแบร์ยที่เสี่ยงชีวิตช่วยเหลือชาวยิวจากฮอโลคอสต์ ในปี ค.ศ. 1981 มีการตั้งคณะกรรมการราอุล วัลเลนแบร์ยแห่งสหรัฐเพื่อ "ธำรงอุดมคติทางมนุษยธรรมนิยมและความหาญกล้าโดยไม่ใช้ความรุนแรงของราอุล วัลเลนแบร์ย"[7] ซึ่งคณะกรรมการนี้จะมอบรางวัลราอุล วัลเลนแบร์ยทุกปี ต่อมาในปี ค.ศ. 2012 วัลเลนแบร์ยได้รับเหรียญทองรัฐสภาจากรัฐสภาสหรัฐเพื่อ "รับรองความสำเร็จและการกระทำอันกล้าหาญของเขาระหว่างฮอโลคอสต์"[8]

แม้จะมีการอ้างว่าวัลเลนแบร์ยช่วยชีวิตชาวยิวมากถึง 100,000 คน แต่นักประวัติศาสตร์เห็นว่าเป็นการกล่าวเกินจริง[9][10] และตัวเลขแท้จริงมีจำนวนน้อยกว่านั้น ปัจจุบันมีอนุสรณ์และชื่อถนนที่ระลึกถึงวัลเลนแบร์ยหลายแห่งทั่วโลก

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 สันนิษฐานว่าวัลเลนแบร์ยเสียชีวิตในค.ศ. 1947 แม้ว่าการเสียชีวิตของเขาจะยังไม่ชัดเจนและวันที่ที่ระบุจะยังเป็นที่ถกเถียง บางแหล่งรายงานว่าวัลเลนแบร์ยมีชีวิตอยู่ต่อมาหลายปีหลังจากนั้น ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2016 สำนักงานสรรพากรสวีเดนระบุวันเสียชีวิตของวัลเลนแบร์ยเป็นวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1952
  2. 2.0 2.1 Stockholm, Agence France-Presse in (31 October 2016). "Sweden declares Raoul Wallenberg dead 71 years after disappearance". The Guardian.
  3. "A Swedish Rescuer in Budapest". Yad Vashem. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-21. สืบค้นเมื่อ 15 April 2018. he saved the lives of tens of thousands of men, women and children by placing them under the protection of the Swedish crown.
  4. "Raoul Wallenberg's arrest order, signed by Bulganin in January 1945 – Searching for Raoul Wallenberg Searching for Raoul Wallenberg". Searching for Raoul Wallenberg. 17 January 1945. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-22. สืบค้นเมื่อ 27 August 2018.
  5. Nadler, John (19 May 2008). "Unraveling Raoul Wallenberg's Secrets". Time. Budapest. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2016.
  6. "Honorary Australian Citizenship to be Awarded to Raoul Wallenberg". Prime Minister's Press Office, Commonwealth of Australia. 15 เมษายน 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 เมษายน 2013. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2013.
  7. "The Raoul Wallenberg Committee of the United States – Our Mission". Raoulwallenberg.org. สืบค้นเมื่อ 8 June 2013.
  8. "The Library of Congress: Bill Summary & Status 112th Congress (2011–2012) H.R. 3001". 26 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2012. สืบค้นเมื่อ 31 July 2012.
  9. Rubinstein, W. D. (2002). The Myth of Rescue: Why the Democracies Could Not Have Saved More Jews from the Nazis (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 194. ISBN 978-1-134-61568-1.
  10. Dietrich, D. J. (2012). "Raoul Wallenberg in Budapest: Myth, History and Holocaust, Paul A. Levine (London and Portland, OR: Vallentine Mitchell, 2010), xviii + 392 pp". Holocaust and Genocide Studies. 26 (1): 144–145. doi:10.1093/hgs/dcs020.