รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศบังกลาเทศ
บทความรายชื่อวิกิมีเดีย
องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศบังกลาเทศทั้งสิ้น 3 แหล่ง[1][2]
สถานที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก
แก้สถานที่ | ภาพ | ที่ตั้ง | ประเภท | พื้นที่ (เฮกตาร์) |
ปีขึ้นทะเบียน (พ.ศ./ค.ศ.) |
รายละเอียด | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
นครมัสยิดประวัติศาสตร์แห่งพาเครหาฏ | Bagerhat District, Khulna Division [[22°40′28.1″N 89°44′31.2″E / 22.674472°N 89.742000°E]] |
วัฒนธรรม: (iv) |
2528/1985 | กลุ่มมัสยิดที่ถูกสร้างขึ้นช่วงสมัยของรัฐสุลต่านเบงกอลในคริสต์ศตวรรษที่ 15 จำนวนกว่า 50 แห่งในรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบรัฐสุลต่านเบงกอลอันเป็นรูปแบบพื้นถิ่นของสถาปัตยกรรมอินโด-อิสลาม ซึ่งบางครั้งเรียกว่าสถาปัตยกรรมแบบ 'ข่าน ชหัน' | 321[3] | ||
ซากวิหารพุทธที่ปาหาฑปุระ | Naogaon District, Rajshahi Division [[25°01′51.9″N 88°58′37.9″E / 25.031083°N 88.977194°E]] |
วัฒนธรรม: (i), (ii), (vi) |
2528/1985 | ซากวิหารพุทธซึ่งเป็นหนึ่งในงานสถาปัตยกรรมชิ้นสำคัญที่สุดของบังกลาเทศสมัยก่อนที่อิสลามจะเผยแผ่เข้ามา ก่อสร้างราวช่วงราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 โดยมีกษัตริย์ราชวงศ์ปาละเป็นผู้อุปถัมภ์ | 322[4] | ||
สุนทรพน | Khulna Division [[21°59′26.2″N 89°16′25.7″E / 21.990611°N 89.273806°E]] |
ธรรมชาติ: (ix), (x) |
139,500 (345,000) | 2540/1997 | พื้นที่ป่าชายเลนในดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่เกิดจากการบรรจบกันระหว่างแม่น้ำคงคา แม่น้ำพรหมบุตร และแม่น้ำเมฆนาในบังคลาเทศก่อนจะไหลลงอ่าวเบงกอล เป็นที่อยู่อาศัยของพรรณสัตว์ป่ามากกว่า 450 ชนิดโดยเฉพาะนกที่มีมากถึง 290 ชนิด และปลาอีก 120 ชนิด | 798[5] |
สถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น
แก้ประเทศบังกลาเทศมีสถานที่ที่ได้รับขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาเป็นแหล่งมรดกโลกในอนาคตทั้งสิ้น 5 แห่ง[6] [7]
ชื่อ | ภาพ | ที่ตั้ง | หมวดหมู่ | ปีขึ้นทะเบียน | รายละเอียด | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|
ฮาลุดวิหาร | Rajshahi Division | วัฒนธรรม | 1999 | [8] | ||
จากัดดัลวิหาร | Rajshahi Division | วัฒนธรรม | 1999 | [9] | ||
ป้อมลาลบาฆ | Dhaka Division | วัฒนธรรม | 1999 | [10] | ||
Mahansthangarh and its Environs | Rajshahi Division | วัฒนธรรม | 1999 | [11] | ||
The Lalmai-Mainamati Group of monuments | Comilla Region | วัฒนธรรม | 1999 | [12] |
อ้างอิง
แก้- ↑ "World Heritage List". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
- ↑ "The Criteria for Selection". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 10 September 2011.
- ↑ "Historic Mosque City of Bagerhat". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
- ↑ "Ruins of the Buddhist Vihara at Paharpur". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
- ↑ "The Sundarbans". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
- ↑ "Tentative Lists". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 13 April 2014.
- ↑ "Tentative Lists". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 13 April 2014.
- ↑ "Halud Vihara". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 13 April 2014.
- ↑ "Jaggadala Vihara". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 13 April 2014.
- ↑ "Lalbagh Fort". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 13 April 2014.
- ↑ "Mahansthangarh and its Environs". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 13 April 2014.
- ↑ "The Lalmai-Mainamati Group of monuments". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 13 April 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้