ราพันเซล
ราพันเซล (เยอรมัน: Rapunzel) เป็นเทพนิยายเยอรมันในงานสะสมที่พี่น้องตระกูลกริมม์รวบรวม ตีพิมพ์ครั้งแรกใน ค.ศ. 1812 โดยเป็นส่วนหนึ่งของนิทานของเด็กและครัวเรือน (Children's and Household Tales)[1] นิยายของพี่น้องตระกูลกริมม์เป็นการดัดแปลงของเทพนิยาย "ราพันเซล" โดย ฟรีดริช ชุลซ์ ซึ่งตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1790[2] ฉบับของชุลซ์อิงตาม แปร์ซีแน็ต (Persinette) โดย ชาร์แล็ต-โรซ เดอ กอม็อง เดอ ลา ฟอส (Charlotte-Rose de Caumont de La Force) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกใน ค.ศ. 1698[3] ซึ่งได้รับอิทธิพลจากนิทานก่อนหน้านั้นอีก คือ เปโตรซีเนลลา (Petrosinella) โดย จีอามบัตติสตา บาซีเล (Giambattista Basile) ซึ่งตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1634 อีกทอดหนึ่ง[4] โครงเรื่องของราพันเซลถูกใช้และล้อในสื่อต่าง ๆ และบาทที่ขึ้นชื่อที่สุด ("Rapunzel, Rapunzel, let down your hair", ท. ราพันเซล ราพันเซล ปล่อยผมเจ้าลงมา) เป็นสำนวนในวัฒนธรรมสมัยนิยม
โครงเรื่อง
แก้มีสามีและภรรยาโดดเดี่ยวคู่หนึ่ง อยากมีบุตรสักคน วันหนึ่ง พวกเขาทราบว่าภรรยาจะมีลูก สามีเป็นสุขมาก จนสัญญาว่าจะทำอะไรก็ได้ที่จะโปรดภรรยาเขา ทุกๆ วัน เมื่อยามที่ภรรยารอลูกเกิด เธอก็มองสวนงดงามของบ้านข้างๆ มันเป็นสวนของแม่มดที่มีพลังอำนาจมหาศาลตนหนึ่ง สวนนั้นเต็มไปด้วยดอกราพันเซล และภรรยาใคร่อยากทานสลัดแสนอร่อยที่ใช้ดอกนั้นเป็นวัตถุดิบหลัก แต่เธอและสามีเธอจน และดอกราพันเซลเป็นสิ่งที่ทำให้เธอนึกถึงความจนเสมอ เรื่องนี้ทำให้เธอเป็นทุกข์มาก สามีไม่สามารถทนมองภรรยาเขาเศร้า คืนนั้น เขาแอบเข้าไปในสวนของแม่มด และเด็ดเอาดอกราพันเซลมาส่วนหนึ่ง เขานำดอกไม้มาให้ภรรยาเขา เธอทานสลัดดอกราพันเซลของเธอ และโปรดมาก แต่ในไม่ช้า เธอก็ใคร่อยากได้อีก
ครั้งที่สอง สามีแอบเข้าไปในสวนนั้น แต่ครั้งนี้ แม่มดจับได้ สามีอ้อนวอนขออภัยโทษ โดยอ้างว่าที่ทำไปทำให้ภรรยาที่ตั้งครรภ์มีความสุข ซึ่งเธอใคร่สลัดดอกราพันเซล แม่มดไตร่ตรองสักพักหนึ่ง และบอกสามีว่าจะเด็ดเท่าไรก็ได้ แต่มีข้อแม้ว่าเมื่อภรรยาเขาคลอดลูก สามีต้องนำบุตรมามอบให้แทน สามีคิดว่าแม่มดคงจะลืม เขาเลยตอบตกลง แต่แม่มดไม่ได้ลืม เมื่อทารกเกิด เธอจะเอาไป แม่มดตั้งชื่อทารกว่า ราพันเซล และเลี้ยงเธอเหมือนกับลูกสาวตัวเอง
ราพันเซลเติบโตด้วยความสวยขึ้นทุกๆ ปี แม่มดคิดว่าราพันเซลต้องเป็นของของเธอผู้เดียว เธอจึงนำราพันเซลไปขังในหอคอยสูง ที่ไม่มีประตู หรือบันได แม่มดแอบขังลูกเลี้ยงเธอจากโลกภายนอกไว้เป็นปีๆ แม่มดระมัดระวังมากที่เธอไม่ยอมแม้กระทั่งสร้างบันไดที่ปีนได้ แม่มดใช้วิธีอื่นแทน โดยเรียก "ราพันเซล ราพันเซล ปล่อยผมเธอลงมา" ราพันเซลก็ย่อมจะปล่อยเปียสีทองของเธอลงมาจากหอสูง เพื่อให้แม่มดปีนขึ้นได้ ราพันเซลรู้สึกเหงา ที่ต้องอยู่ในหอคอยมาก เธอมีแค่นกทั้งหลายที่เป็นมิตรเธอและฟังเธอร้องเพลง
วันหนึ่ง เจ้าชายผู้หนึ่งได้ยินเสียงราพันเซลร้องเพลง เขาจึงขี่ม้าไปที่หอ และมองขึ้นที่โฉมงามในหน้าต่าง ความรักเกิดขึ้นในหัวใจเขา เจ้าชายกลับมาฟังราพันเซลร้องเพลงทุกๆ วัน เขาพยายามที่ค้นหาวิธีหนึ่งที่จะบอกเธอเรื่องความรักของเขา เมื่อเขารอ เขาได้ยินแม่มดเรียกราพันเซล และเห็นเธอปีนผมเปียขึ้น วันถัดไป เจ้าชายปลอมเสียงเรียกแบบแม่มดเจ้าชายปีนขึ้นไปข้างในหอ ราพันเซลตกใจ เธอไม่เคยเจอใครมาก่อนนอกจากแม่มด แต่เจ้าชายพูดกับเธอด้วยความอ่อนโยน เขาบอกเธอว่าเขาได้ตกหลุมรักกับเธอ ราพันเซลฟังด้วยหัวใจเธอ เธอยื่นมือเธอให้เจ้าชายในการสมรส เจ้าชายเยี่ยมราพันเซลทุกๆ บ่าย และมอบดอกกุหลาบให้ภรรยาเขาทุกครั้ง ทั้งสองวางแผนในการหลบหนีออกจากหอ ราพันเซลซ่อนแอบดอกกุหลาบทั้งหลาย โดยแยกดอกออกเป็นกลีบๆ ไว้ในชุดเธอ
วันหนึ่ง เมื่อแม่มดมาเยี่ยม กลีบดอกกุหลาบได้ร่วงหล่นออกมาจากชุดราพันเซล แม่มดเห็นและได้รับรู้การคบสู่ของเจ้าชาย แม่มดจึงตัดผมเปียราพันเซล และส่งเธอไปอยู่ในป่า คืนนั้น เมื่อเจ้าชายเรียก แม่มดปล่อยผมเปียราพันเซลลง ระหว่างที่เจ้าชายกำลังปีนขึ้น เขาได้พบว่าภรรยาเขาไม่อยู่แล้ว แม่มดจึงปล่อยผมเปียซึ่งทำให้เจ้าชายตกลงจากหอสูง
เจ้าชายร่วงตกลงบนขวากหนาม ที่ตำบาดเฉียดลูกตาของเขา ซึ่งทำให้ตาเขาบอด เมื่อไม่มีตาที่มองได้และภรรยาแสนรัก เขาได้ท่องไปที่ที่ความโชคร้ายจะพาไป หลายฤดูผ่านไป และแล้ววันหนึ่งฤดูใบไม้ผลิ เจ้าชายได้ยินเสียงผู้หญิงร้องเพลง เขาเดินตามเสียงเพลงนั้น เมื่อเขาผู้ที่ร่ำร้อง เขาก็ได้พบราพันเซลและเธอมีลูกสองคนแล้ว ซึ่งเป็นลูกของเขาทั้งสองนั้นเอง ราพันเซลได้คลอดฝาแฝดของเจ้าชายในป่าโดยลำพัง ราพันเซลร้องไห้ด้วยความสุข และน้ำตาเธอที่เปี่ยมไปด้วยรักแท้ได้รักษาตาของสามีเธอ อำนาจร้ายของแม่มดได้จบลง
ในที่สุด ครอบครัวได้หลุดจากความโศกเศร้าและความอ้างว้าง พวกเขาได้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรของเจ้าชาย และเติมเต็มชีวิตพวกเขาที่เหลือไปด้วยรักและเสียงหัวเราะ
อ้างอิง
แก้- ↑ Jacob and Wilhelm Grimm (1884) Household Tales (English translation by Margaretmm Hunt), "Rapunzel เก็บถาวร 2016-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน"
- ↑ Oliver Loo (2015) Rapunzel 1790 A New Translation of the Tale by Friedrich Schulz, Amazon, ISBN 978-1507639566. ASIN: B00T27QFRO
- ↑ Jack Zipes (1991) Spells of Enchantment: The Wondrous Fairy Tales of Western Culture, Viking, p. 794, ISBN 0670830534.
- ↑ "Rapunzel, Rapunzel, Let Down Your Hair". Terri Windling.
- McCafferty, Catherine. Rapunzel. Ohio: School Specialty Publishing, 2008. ISBN 0-7696-5418-5. (อังกฤษ, สเปน)