รานี กี วาว

(เปลี่ยนทางจาก รานีกีวาวะ)

รานี กี วาว (คุชราต: રાણી કી વાવ, เทวนาครี: रानी की वाव, Rani ki Vav) หรือ รานกีวาว (คุชราต: રાણકી વાવ, Ranki vav) หรือเรียกตามความหมายว่า บ่อน้ำขั้นบันไดของพระราชินี (อังกฤษ: Queen’s stepwell) เป็นบ่อน้ำขั้นบันไดในเมืองปาฏัณ รัฐคุชราต ประเทศอินเดีย สร้างขึ้นในสมัยจักรวรรดิจลุกยะ และตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำสรัสวตี[1] ใน ประพันธ-จินตมณี วรรณกรรมโดยภิกษุไชนะ เมรุตุงคะในปี 1304 ระบุว่า "อุทยมตี (Udayamati) ธิดาแห่งนรวรหะ เขนคาร (Khengara) สร้างบ่อน้ำขั้นบันไดใหม่ขึ้นมาที่ศรีปาฏฏณา (ปาฏัณ) ยิ่งใหญ่อลังการยิ่งกว่าเขื่อนสหัสตรลึงค์" ในวรรณกรรมนี้ระบุว่าบ่อน้ำขั้นบันไดสร้างขึ้นในปี 1063 และก่อสร้างเสร็จใช้เวลา 20 ปี เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงราชาภีมะที่หนึ่ง (ค.ป. 1022 – 1064) โดยพระราชินีอุทยมตี ในขณะที่คณะผู้เชี่ยวชาญระบุปีก่อสร้างของบ่อน้ำขั้นบันไดอยู่ที่ปี 1032 โดยเปรียบเทียบความคล้ายคลึงทางสถาปัตยกรรมกับวิมลวสาหีมนเทียร[2][3][4]

รานี-กี-วาว (บ่อน้ำขั้นบันไดของพระราชินี)
ที่ปาฏัณ รัฐคุชราต
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
รานี กี วาว
ที่ตั้งปาฏัณ, อำเภอปาฏัณ, รัฐคุชราต, ประเทศอินเดีย,
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: (i), (iv)
อ้างอิง922
ขึ้นทะเบียน2014 (สมัยที่ 38)
พื้นที่4.68 ha (11.6 เอเคอร์)
พื้นที่กันชน125.44 ha (310.0 เอเคอร์)
พิกัด23°51′32″N 72°6′6″E / 23.85889°N 72.10167°E / 23.85889; 72.10167
รานี กี วาวตั้งอยู่ในรัฐคุชราต
รานี กี วาว
ที่ตั้งรานี กี วาว ในรัฐคุชราต
รานี กี วาวตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
รานี กี วาว
รานี กี วาว (ประเทศอินเดีย)

ในปี 1986 กรมสำรวจโบราณคดีอินเดีย (ASI) เริ่มการขุดค้นและสำรวจรานีกีวาวครั้งใหญ่ ที่ซึ่งมีการขุดพบรูปของพระนางอุทยมตี และมีการทำนุบำรุงซ่อมแซมใหญ่ระหว่างปี 1981 ถึงปี 1987[2] รานีกีวาวได้รับสถานะแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2014[5][6]

รานีกีวาวได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในบ่อน้ำขั้นบันไดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งและเป็นตัวอย่างชิ้นเอกของสถาปัตยกรรมบ่อย้ำขั้นบันไดในคุชราต โดยสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบมรู-คุรชร คล้ายคลึงกับวิมลสาหีมนเทียรแห่งเขาอาบู และ สุรยมนเทียรแห่งโมเธรา[2]

อ้างอิง แก้

  1. "Rani-ki-Vav (the Queen's Stepwell) at Patan, Gujarat – UNESCO World Heritage Centre". whc.unesco.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2015-12-05.
  2. 2.0 2.1 2.2 Mehta Bhatt, Purnima (2014). "7. Queen's Stepwell (Rani ni Vav) - Patan, Gujarat". Her Space, Her Story : Exploring the Stepwells of Gujarat. del Solar, Daniel. New Delhi: Zubaan. pp. 72–90. ISBN 9789383074495. OCLC 898408173.
  3. Shastri, Hariprasadji (1976). Gujaratlo Rajkiya Ane Sanskritik Itihas Granth Part-iii Itihasni Gujaratlo Rajkiya Ane Sanskritik Itihas Granth Part-iv Solanki. pp. 135–137.
  4. Vinod Chandra Srivastava (2008). History of Agriculture in India, Up to C. 1200 A.D. Concept. p. 857. ISBN 978-81-8069-521-6.
  5. "Four new cultural sites inscribed on World Heritage List". UNESCO World Heritage Centre. 2014-06-22. สืบค้นเมื่อ 2014-10-11.
  6. "Gujarat's Rani ki Vav added to UNESCO World Heritage site List". IANS. news.biharprabha.com. สืบค้นเมื่อ 22 June 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้