เจิ้ง (จีนตัวย่อ: ; จีนตัวเต็ม: ; พินอิน: Zhèng; 806 ปีก่อนคริสตกาล - 375 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นรัฐประเทศราชของราชวงศ์โจว ซึ่งตั้งอยู่ในใจกลางของจีนโบราณในมณฑลเหอหนานยุคปัจจุบันบนที่ราบจีนตอนเหนือประมาณ 75 ไมล์ (121 กม.) ทางตะวันออกของเมืองหลวงของราชวงศ์ที่ลั่วหยาง เป็นราชรัฐที่มีอำนาจมากที่สุดในบรรดารัฐประเทศราชในตอนต้นของโจวตะวันออก (771–701 ปีก่อนคริสตศักราช) และเป็นราชรัฐแรกที่กำหนดประมวลกฎหมายอย่างชัดเจนในช่วงปลายปี 543 ปีก่อนคริสตศักราช ซึ่งผู้ก่อตั้งราชรัฐเจิ้งนี้ สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าโจวลี่แห่งราชวงศ์โจว[1]

ราชรัฐเจิ้ง

郑国
806 ปีก่อนคริสตกาล–375 ปีก่อนคริสตกาล
แผนที่รัฐในสมัยราชวงศ์โจวรวมทั้งเจิ้ง
แผนที่รัฐในสมัยราชวงศ์โจวรวมทั้งเจิ้ง
สถานะราชรัฐ
เมืองหลวงเจิ้ง (郑)
ซินเจิ้ง (新郑)
ภาษาทั่วไปภาษาจีนโบราณ
กลุ่มชาติพันธุ์
ชาวฮั่วเซี่ย (华夏族)
ศาสนา
ลัทธิเต๋า, วิญญาณนิยม, การบูชาบรรพบุรุษ
การปกครองราชาธิปไตย
กง (公) 
• 806 – 771 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งฮวนกง (郑桓公)
• 743 – 701 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งจวงกง (郑庄公)
• 395 – 375 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งคังกง (郑康公)
ประวัติศาสตร์ 
• พระเจ้าโจวเซฺวียน พระราชทานเขตปกครองให้ เจิ้งฮวนกง
806 ปีก่อนคริสตกาล
• ถูกพิชิตโดย รัฐหาน
375 ปีก่อนคริสตกาล
สกุลเงิน方足布
เขตเวลาUTC+8
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์โจว
รัฐหาน
ราชรัฐเจิ้ง
"เจิ้ง" รูปแบบอักษร (บนสุด) แบบดั้งเดิม, (กลาง) จีนตัวเต็ม, (ด้านล่าง) จีนตัวย่อ
อักษรจีนตัวเต็ม
อักษรจีนตัวย่อ

ประวัติศาสตร์ แก้

บทนำ แก้

เจิ้งจวงกงด้วยความสามารถและกลยุทธ์อันยอดเยี่ยมทำให้ราชรัฐเจิ้งเป็นประเทศแรกที่เถลิงอำนาจขึ้นในยุควสันตสารท ดังนั้นจึงปรากฏคำว่า รัฐในใต้หล้านี้หรือจะเป็นของเจิ้ง (天下诸侯,莫非郑党) บุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น เจิ้งจวงกง (鄭莊公), จื่อชาน (子产), เลี่ยจื่อ(列子), จี้จ้ง (祭仲) เป็นต้น พระมหากษัตริย์แห่งราชรัฐเจิ้งใช้ แซ่ จี (姬), ซื่อ เจิ้ง (郑) ซึ่งได้ปกครองราชรัฐเจิ้งเป็นเวลากว่า 432 ปี และผ่านการปกครองโดยพระมหากษัตริย์รวมทั้งสิ้น 24 พระองค์ ทั้งหมด 28 รัชกาล[2]

ก่อตั้ง แก้

ราชรัฐเจิ้งก่อตั้งขึ้นในปีที่ 22 รัชสมัยพระเจ้าโจวเซฺวียน (806 ปีก่อนคริสตกาล) กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โจวตะวันตก พระองค์ทรงพระราชทานเขตปกครองให้กับพระอนุชานามว่า "เจ้าฟ้าชายจีโหยว (王子姬友)" ซึ่งตั้งอยู่ภายในอาณาเขตของราชวงศ์โจว แถวมณฑลส่านซีบนแม่น้ำเว่ยทางตะวันออกของซีอาน เจ้าชายโหยว ซึ่งเป็นที่รู้จักในพระสมัญญนามว่าเจิ้งฮวนกง ยังรับราชการเป็นซือถู ภายใต้พระเจ้าโจวเซฺวียน[3]

ล้มสลาย แก้

ศัตรูตัวฉกาจที่สุดของราชรัฐเจิ้งก็คือรัฐหานที่กำลังอุบัติขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม สถานะของราชรัฐเจิ้งยังคงประสบกับความขัดแย้งภายในเมื่อเจิ้งไอกง (郑哀公) ถูกสังหาร และรัฐหานบุกโจมตีราชรัฐเจิ้ง และสังหารเจิ้งโหยวกง (鄭幽公) ดังนั้นเหล่าประชาชนและขุนนางจึงยก เจ้าชายไต้ 公子骀 พระอนุชาของเจิ้งโหยวกง ขึ้นเป็นกษัตริย์ ซึ่งเป็นที่รู้จักในพระสมัญญนาม เจิ้งซวีกง (郑繻公)[4]

เมื่อเจิ้งซวีกงขึ้นปกครอง ทำให้สถานการณ์ในการทำสงครามกับรัฐหานก็ดีขึ้นช่วงระยะหนึ่ง

ในปีที่ 15 แห่งรัชกาลเจิ้งซวีกง รัฐหานได้เข้าโจมตีเจิ้งและยึดเมืองหยงชิวของเจิ้งได้

ในปีที่ 16 แห่งรัชกาลเจิ้งซวีกง รัฐหานก็พ่ายแพ้ให้กับราชรัฐเจิ้งที่ฟู้ซู๋ (负黍)

ในปีที่ 23 แห่งรัชกาลเจิ้งซวีกง ราชรัฐเจิ้งบุกปิดล้อมรัฐหานที่นครหยางตี่ (阳翟)

เมื่อ 375 ปีก่อนคริสตกาล ราชรัฐเจิ้งเกิดความขัดแย้งภายใน รัฐหานจึงบุกโจมตี ราชรัฐเจิ้งล้มสลาย[5]

เจิ้งกั่วชีมู้ (郑国七穆) แก้

สัปตปูชาแห่งเจิ้ง หรือ เจิ้งกั่วชีมู้ หมายถึงราชสกุลที่สืบเชื้อสายมาจากเจิ้งมู่กง[6][7] ซึ่งได้แก่

  • สี กั่ว (国氏) :มีที่มาจากพระนามจื่อกั่ว (子国) ของเจ้าชายฟา (公子发),ผู้สืบราชสกุล เช่น
    1.จื่อช่าน (子产) หรือที่รู้จักกันในชื่อกงซุนเชียว (公孙侨) "เจ้าชายเชียว"
  • สี ซื่อ (驷氏) :มีที่มาจากพระนามจื่อซื่อ (子驷) ของเจ้าชายเฟ่ย (公子騑),ผู้สืบราชสกุล เช่น
    1.จื่อซี (子西) หรือที่รู้จักกันในชื่อกงซุนเซี้ย (公孙夏) "เจ้าชายเซี้ย"
  • สี ฮาน (罕氏):มีที่มาจากพระนามจื่อฮาน (子罕) ของเจ้าชายซี่ (公子喜),ผู้สืบราชสกุล เช่น กงซุนเซ่อจรือ 公孙舍之 "เจ้าชายเซ่อจรือ" และบุตรชายของเซ่อจรือ คือ ฮานฮู๋ (罕虎) กับฮานถุ่ย (罕魋)
  • สี เฟิง (丰氏):มีที่มาจากพระนามจื่อเฟิง (子丰) หรือ ผิง (平) ผู้สืบราชสกุล เช่น
    1.กงซุนต้วน (公孙段) "เจ้าชายต้วน"
    2.เฟิงจวน (丰卷)
  • สี โหย่ว (游氏):มีที่มาจากพระนามจื่อโหย่ว (子游) ของเจ้าชายเอีย (公子偃),ผู้สืบราชสกุล เช่น
    1.กงซุนไช้ (公孙虿) "เจ้าชายไช้"
    2.กงซุนชู๋ (公孙楚) "เจ้าชายชู๋"
    3.โหย่วพาน (游眅) หรือ จื่อหมิง(子明)
    4.โหย่วจี่ (游吉) หรือ จื่อต้าซู(子大叔)
  • สี อิ้น (印氏):มีที่มาจากพระนามจื่ออิ้น (子印),其后为印氏,ผู้สืบราชสกุล เช่น
    1.กงซุนเฮยกง (公孙黑肱) "เจ้าชายเฮยกง" หรือ จื่อจาง(子张)
    2.อิ้นต้วน (印段)、หรือ อิ้นกุ๋ย (印癸)

เนื่องจากราชสกุลทั้งหมดนี้สืบเชื้อสายมาจากเจิ้งมู่กง ทั้งเจ็ดตระกูลนี้จึงเรียกรวมกันว่า สัปตปูชา หรือ ชีมู่ (七穆) ซึ่งราชสกุลเหล่านี้ได้ผลัดกันเข้าควบคุมอำนาจทางการทหารและการเมืองของราชรัฐเจิ้งจากเจิ้งเซียงกง (郑襄公) เพื่อที่จะกลายเป็นผู้มีอำนาจที่แท้จริงของราชรัฐเจิ้ง บางครั้งถูกเรียกอย่างเสียดสีว่า ซานฮวนแห่งรัฐลู่ (鲁国的三桓)[8]

รายพระนามพระมหากษัตริย์ แก้

รัชกาล พระสมัญญนาม พระนามเดิม ฐานันดรศักดิ์เดิม ระยะเวลา รวมปีที่ครองราชย์ หมายเหตุ
1 เจิ้งฮวนกง
鄭桓公
โหยว
Yǒu
เจ้าฟ้าชาย
王子
หวางจื่อ
806 - 771 ปีก่อนคริสตกาล 36 ปี
2 เจิ้งหวู่กง
鄭武公
เจวี่ยถู่
Juétú
掘突
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
770 - 744 ปีก่อนคริสตกาล 27 ปี
3 เจิ้งจวงกง
鄭莊公
อู้เซิง
Wùshēng
寤生
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
743 - 701 ปีก่อนคริสตกาล 43 ปี
4 เจิ้งจาวกง
鄭昭公
ฮู

เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
701 ปีก่อนคริสตกาล 1 ปี
5 เจิ้งหลี่กง
鄭厲公
ถู่

เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
700 - 697 ปีก่อนคริสตกาล 4 ปี
6 เจิ้งจาวกง
鄭昭公
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
ฮู

696-695 ปีก่อนคริสตกาล 2 ปี ครองราชย์ครั้งที่ 2
7 กงจือเหมิ่น
公子亹
เหมิ่น
Mén
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
694 ปีก่อนคริสตกาล 7 เดือน ไม่ปรากฏพระสมัญญานามหลังสวรรคต
8 เจิ้งจืออิง
鄭子嬰
อิง
Yīng
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
693 - 680 ปีก่อนคริสตกาล 14 ปี ไม่ปรากฏพระสมัญญานามหลังสวรรคต
9 เจิ้งหลี่กง
鄭厲公
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
ถู่

679–673 ปีก่อนคริสตกาล 4 ปี ครองราชย์ครั้งที่ 2
10 เจิ้งเหวินกง
鄭文公
เจี่ย
Jié
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
672 - 628 ปีก่อนคริสตกาล 45 ปี
11 เจิ้งมู่กง
鄭穆公
หลัน
Lán
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
627 - 606 ปีก่อนคริสตกาล 22 ปี
12 เจิ้งหลิ่งกง
鄭靈公
อี่

เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
605 ปีก่อนคริสตกาล 1 ปี
13 เจิ้งเซียงกง
鄭襄公
เจียน
Jiān
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
604 - 587 ปีก่อนคริสตกาล 18 ปี
14 เจิ้งเต้ากง
鄭悼公
เฟ่ย
Fèi
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
587 - 585 ปีก่อนคริสตกาล 2 ปี
15 เจิ้งเชิ่งกง
鄭成公
กุ้น
Gùn
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
มิถุนายน 585 - มีนาคม 581 ปีก่อนคริสตกาล 3 ปี 11 เดือน
16 เจ้าชายซวี
公子繻
ซวี

เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
581 ปีก่อนคริสตกาล ประมาณ 1 เดือน ไม่ปรากฏพระสมัญญานามหลังสวรรคต
17 เจิ้งซีกง
鄭僖公
ยุ้น
Yùn
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
เมษายน 581 - พฤษภาคม 581 ปีก่อนคริสตกาล ประมาณ 2 เดือน
18 เจิ้งเชิ่งกง
鄭成公
กุ้น
Gùn
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
พฤษภาคม 581 - 571 ปีก่อนคริสตกาล 9 ปี 8 เดือน ครองราชย์ครั้งที่ 2
19 เจิ้งซีกง
鄭僖公
ยุ้น
Yùn
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
570 - 566 ปีก่อนคริสตกาล 5 ปี ครองราชย์ครั้งที่ 2
20 เจิ้งเจี่ยนกง
鄭簡公
เจีย
Jiā
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
565 - 530 ปีก่อนคริสตกาล 36 ปี
21 เจิ้งติ้งกง
鄭定公
หนิง
Níng
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
529 - 514 ปีก่อนคริสตกาล 16 ปี
22 เจิ้งเซียงกง
鄭獻公
ตุ๋น
Dǔn
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
513 - 501 ปีก่อนคริสตกาล 13 ปี
23 เจิ้งเซิงกง
鄭聲公
เซิ้ง
Shèng
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
500 - 463 ปีก่อนคริสตกาล 38 ปี
24 เจิ้งไอกง
鄭哀公
อี้

เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
462 - 455 ปีก่อนคริสตกาล 8 ปี
25 เจิ้งก้งกง
鄭共公
โชว่
Chǒu
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
455 - 424 ปีก่อนคริสตกาล 31 ปี
26 เจิ้งโหยวกง
鄭幽公
จี๋

เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
423 ปีก่อนคริสตกาล 1 ปี
27 เจิ้งซวีกง
鄭繻公
ไถ่
Tái
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
422 - 396 ปีก่อนคริสตกาล 24 ปี
28 เจิ้งคังกง
鄭康公
อี๋

เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
395 - 375 ปีก่อนคริสตกาล 21 ปี

ผังแสดงการสืบทอดของพระมหากษัตริย์แห่งราชรัฐเจิ้ง แก้

ราชรัฐเจิ้ง
เจิ้งฮวนกง
鄭桓公
806 - 771 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งหวู่กง
鄭武公
770 - 744 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งจวงกง
鄭莊公
743 - 701 ปีก่อนคริสตกาล
ก้งชูต้วน
共叔段
เจิ้งจาวกง
鄭昭公
701 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งจืออิง
鄭子嬰
693 - 680 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งหลี่กง
鄭厲公
700 - 697 ปีก่อนคริสตกาล
กงจือเหมิ่น
公子亹
694 ปีก่อนคริสตกาล
จื่อเหริน
子人
เจิ้งเหวินกง
鄭文公
672 - 628 ปีก่อนคริสตกาล
ซูจาน
叔詹
ไท่จื่อฮั่ว
太子华
"รัชทายาท"
เจิ้งมู่กง
鄭穆公
627 - 606 ปีก่อนคริสตกาล
จื่อจาง
子臧
กงจือซื้อ
(公子士)
"เจ้าชายซื้อ"
กงจื่อเซี่ย
公子瑕
"เจ้าชายเซี่ย"
กงจื่อเซี่ย
公子瑕
"เจ้าชายเซี่ย"
เจิ้งหลิ่งกง
鄭靈公
605 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งเซียงกง
鄭襄公
604 - 587 ปีก่อนคริสตกาล
จื่อเหลียง
子良
จื่อโหย่ว
子游
จื่อฮาน
子罕
จื่อซื่อ
子驷
จื่อกั่ว
子国
จื่อคง
子孔
จื่ออิ้น
子印
จื่อเฟิง
子丰
ซื้อจื่อคง
士子孔
จื่อหราน
子然
จื่อหยู๋ว
子羽
เจิ้งเต้ากง
鄭悼公
587 - 585 ปีก่อนคริสตกาล
เจ้าชายซวี
公子繻
587 - 585 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งเชิ่งกง
鄭成公
พฤษภาคม 581 - 571 ปีก่อนคริสตกาล
จื่อชาน
子產
เจิ้งซีกง
鄭僖公
570 - 566 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งเจี่ยนกง
鄭簡公
565 - 530 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งติ้งกง
鄭定公
529 - 514 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งเซียงกง
鄭獻公
513 - 501 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งเซิงกง
鄭聲公
500 - 463 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งก้งกง
鄭共公
455 - 424 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งไอกง
鄭哀公
462 - 455 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งโหยวกง
鄭幽公
423 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งคังกง
鄭康公
395 - 375 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งซวีกง
鄭繻公
422 - 396 ปีก่อนคริสตกาล

อ้างอิง แก้

  1. Bai, Shouyi (2002). An Outline History of China. Beijing: Foreign Language Press. ISBN 7-119-02347-0.
  2. 司马贞认为其名为仲,字仲足;杜预《春秋经传集解·桓公十一年》:“祭,氏;仲,名。”孔颖达疏曰:“杜以萧叔非字,故知祭仲是名。”但班固《汉书·古今人表》中认为祭仲名足,皮锡瑞《经学通论》称祭仲“是名足字仲甚明,岂有以伯仲叔季为名者乎?
  3. 《竹书纪年》:晋文侯二年,周宣王子多父伐郐,克之。乃居郑父之丘,名之曰郑,是曰桓公。《水经·洧水注》
  4. *《史記》鄭世家
  5. Loewe, Michael (1999). Michael Loewe; Edward L. Shaughnessy (บ.ก.). The Cambridge History of Ancient China: From the Origins of Civilization to 221 B.C. Cambridge University Press. p. xxv. ISBN 0521470307. OCLC 37361770.
  6. 《春秋经传集解·襄公二十六年》:子展,郑子罕之子。居身俭而用心壹。郑穆公十一子,子然、二子孔三族已亡,子羽不为卿,故唯言七穆。○郑七穆,谓子展公孙舍之,罕氏也;子西公孙夏,驷氏也;子产公孙侨,国氏也;伯有良霄,良氏也;子大叔游吉,游氏也;子石公孙段,丰氏也;伯石印段,印氏也。穆公十一子,谓子良,公子去疾也;子罕,公子喜也;子驷,公子骈也;国,公子发也;子孔,公子嘉也;子游,公子偃也;子丰也;子印也;子羽也;子然也;士子孔也。子然、二子孔已亡,子羽不为卿,故止七也。
  7. 《春秋左传正义·襄公二十六年》:“子然、二子孔三族已亡”,十九年传文也。子羽不为卿者,案成十三年“郑公子班自訾求入于大宫,不能,杀子印、子羽”。不书於经,故知不为卿也。杜注彼云:皆穆公子也。又《世族谱》云:“子羽,穆公子。其后为羽氏,即羽师颉,是其孙。此非行人子羽,公孙挥也。”《世族谱》以公孙挥为杂人自外,唯有罕、驷、丰、游、印、国、良七族,见於经、传,皆出穆公,故称七穆也。
  8. 房占红 论郑国七穆世卿政治的内部秩序及其特点《厦门大学学报(哲学社会科学版)》 2008年第6期

[1][2][3] [4] [5] [6] [7] [8]

  1. Creel, Herrlee G. (1970). The Origins of Statecraft in China. ISBN 0-226-12043-0.
  2. Walker, Richard Lewis. The Multi-state System of Ancient China. Beijing.
  3. Theobald, Ulrich (2018-11-01). "The Regional State of Zheng 鄭". China Knowledge. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
  4. Knechtges, David R. & Chang, Taiping, บ.ก. (2014-09-22). Ancient and Early Medieval Chinese Literature: A Reference Guide, Part Three & Four. Vol. 3 & 4. LeidenꞏBoston: BRILL. pp. 2233–2234. ISBN 978-90-04-27185-2.
  5. Robert E. Harrist (2008). The landscape of words: stone inscriptions from early and medieval China. University of Washington Press. pp. 103, 117–118. ISBN 9780295987286.
  6. Chen, Jinhua (2007-05-11). Philosopher, Practitioner, Politician: the Many Lives of Fazang (643-712). BRILL. p. 146. ISBN 978-90-474-2000-2.
  7. Han Si (2008). A Chinese word on image: Zheng Qiao (1104-1162) and his thought on images. Acta Universitatis Gothoburgensis. pp. 31, 266. ISBN 978-91-7346-607-3.
  8. The Journal of the International Association of Buddhist Studies. International Association of Buddhist Studies. 1999. pp. 42, 39, 90.