รากูโงะ (ญี่ปุ่น: 落語โรมาจิRakugo; แปลว่า "คำตก") เป็นรูปแบบความบันเทิงที่ใช้คำพูดของญี่ปุ่น โดยนักเล่าเรื่องเดี่ยว (ญี่ปุ่น: 落語家โรมาจิrakugoka) นั่งบนเวทีที่เรียกว่า โคซะ (ญี่ปุ่น: 高座โรมาจิkōza) ใช้เพียงพัดกระดาษ (ญี่ปุ่น: 扇子โรมาจิsensu) และผ้าผืนเล็ก (ญี่ปุ่น: 手拭โรมาจิtenugui) เป็นอุปกรณ์ และไม่มีการยืนขึ้นมาจากตำแหน่งนั่งบนเบาะรองนั่ง (ญี่ปุ่น: 正座โรมาจิseiza) ศิลปินรากูโงะจะเล่าเรื่องตลก (หรือบางครั้งเป็นเรื่องซึ้งกินใจ) ที่ยาวและซับซ้อน เรื่องราวที่เล่ามักเป็นบทสนทนาระหว่างตัวละครสองคนหรือมากกว่า ความแตกต่างระหว่างตัวละครจะแสดงออกมาผ่านเพียงการเปลี่ยนแปลงของระดับเสียง น้ำเสียง หรือการหันศีรษะเล็กน้อย

ศิลปินรากูโงะ (รากูโงกะ) ในเทศกาลซัมมะ

ศัพทมูล แก้

รากูโงะเดิมรู้จักในชื่อ คารูกูจิ (ญี่ปุ่น: 軽口โรมาจิkarukuchi)[1] การปรากฏของอักษรคันจิที่เก่าแก่ที่สุดที่หมายความถึงการแสดงชนิดนี้มีตั้งแต่ ค.ศ. 1797 แต่เวลานั้นตัวอักษรดังกล่าว (落とし噺) โดยปกติอ่านว่า โอโตชิบานาชิ (การพูดที่ตกลง)

ในช่วงกลางยุคเมจิ (ค.ศ. 1868–1912) คำว่า รากูโงะ เริ่มมีการใช้เป็นครั้งแรก และกลายมาเป็นคำที่ใช้ทั่วไปในยุคโชวะ (ค.ศ. 1926–1989).

ศิลปินรากูโงะที่มีชื่อเสียง แก้

เอโดะ (โตเกียว) แก้

คามิกาตะ (โอซากะ) แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Rakugo". Big Serving. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-06. สืบค้นเมื่อ 11 May 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้