รัฐประหารในประเทศเนปาล พ.ศ. 2548

การรัฐประหารในราชอาณาจักรเนปาลเริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2005 เมื่อสมาชิกรัฐสภาจากพรรคคองเกรสเนปาลซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยชอบธรรมผ่านกระบวนการทางประชาธิปไตย ถูกโค่นล้มโดยกษัตริย์ชญาเนนทระแห่งเนปาล ท้ายที่สุด รัฐสภาได้รับการฟื้นคืนในปี 2006 หลังกษัตริย์ชญาเนนทระยอมสิ้นสุดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของตนอันเป็นผลมาจากการปฏิวัติปี 2006

รัฐประหารในประเทศเนปาล ปี 2005
ส่วนหนึ่งของ สงครามกลางเมืองเนปาล

กษัตริย์ชญาเนนทระ ผู้ก่อการรัฐประหาร
วันที่1 กุมภาพันธ์ 2005
สถานที่
ผล การรัฐประหารโดยฝั่งสถาบันกษัตริย์สำเร็จ, ยุบสภา
คู่สงคราม
 เนปาล รัฐสภาเนปาล
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กษัตริย์ชญาเนนทระ เชร์ บะฮาดูร์ เทวพา

ภูมิหลัง แก้

รัฐบาลของเนปาลในอดีตเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หลังการรัฐประหารในปี 1960 ซึ่งนำโดยกษัตริย์มเหนทระ ต่อมาเนปาลกลายมาเป็นรัฐกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญในปี 1991 ในรัชสมัยของกษัตริย์วิเรนทระ[1] เมื่อกษัตริย์ชญาเนนทระขึ้นสู่บัลลังก์หลังเกิดการสังหารหมู่ราชวงศ์เนปาล ที่ซึ่งสมาชิกสิบคนในราชวงศ์ อันรวมถึงกษัตริย์วิเรนทระ, ราชินีไอศวรยะ และมงกุฏราชกุมารทิเปนทระ ถูกสังหาร[1] กษัตริย์ชญาเนนทระได้ปฏิเสธคณะรัฐบาลที่ผ่านมารลแล้วสามคณะตั้งแต่ปี 2002[2] สงครามกลางเมืองเนปาลซึ่งนำโดยกลุ่มลัทธิเหมายังคงดำเนินอยู่และมียอดเสีชีวิตมากกว่า 11,000 ราย[2] เนปาลคงสถานะเป็นประเทศไร้รัฐสภามาตั้งแต่ปี 2002[3] และความนิยมในตัวกษัตริย์ชญาเนนทระก็ลดต่ำลง[1]

การรัฐประหาร แก้

ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์กษัตริย์ชญาเนนทระประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และยุบสภา[3][4][5] สมาชิกรัฐสภาถูกคุมขังในบ้านของตน, มีการยกเลิกข้อสิทธิที่สำคัญในรัฐธรรมนูญ, ทหารเข้าควบคุมสื่อโดยสมบูรณ์ และการติดต่อสื่อสารถูกตัด[2][6]

การรัฐประหารในครั้งนี้ถูกประณามโดยอินเดีย, สหราชอาณาจักร และสหรัฐ[2] การรัฐประหารของกษัตริย์ชญาเนนทระดำเนินอยู่ได้ปีเดียว โดยเมื่อ 24 เมษายน 2006 กษัตริย์ชญาเนนทระได้ออกมายอมคืนรัฐสภาเดิมและสิ้นสุดระบอบราชาธิปไตยของตน อันเนื่องมาจากขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในตอนนั้น[7][8]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "Unrest as Nepal crowns new king". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2001-06-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-01-22.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Nepal's Royal Coup: Making a Bad Situation Worse". Crisis Group (ภาษาอังกฤษ). 9 February 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2021. สืบค้นเมื่อ 15 April 2021.
  3. 3.0 3.1 Ramesh, Randeep (2 February 2005). "King of Nepal seizes power". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2021. สืบค้นเมื่อ 15 April 2021.
  4. "The Coup in Nepal". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 19 February 2005. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2021. สืบค้นเมื่อ 15 April 2021.
  5. "Nepal's king declares emergency" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2005-02-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 May 2012. สืบค้นเมื่อ 2021-04-15.
  6. "Nepal: Time for King to Relinquish Power". Human Rights Watch. 1 January 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2022. สืบค้นเมื่อ 15 April 2021.
  7. Sengupta, Somini (25 April 2006). "In a Retreat, Nepal's King Says He Will Reinstate Parliament". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2019. สืบค้นเมื่อ 22 February 2017.
  8. "Full text: King Gyanendra's speech". BBC. 24 April 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2006. สืบค้นเมื่อ 29 October 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้