ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

(เปลี่ยนทางจาก Constitutional monarchy)

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ[1] (อังกฤษ: constitutional monarchy) หรือ ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (อังกฤษ: limited monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร[2] ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ (Vernon Bogdanor) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" (a sovereign who reigns but does not rule)[3] การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้

รัฐของโลกแบ่งตามระบอบการปกครอง1
     สาธารณรัฐที่ใช้ระบบประธานาธิบดี2      สาธารณรัฐที่ใช้ระบบกึ่งประธานาธิบดี2
     สาธารณรัฐที่มีประธานาธิบดีผู้ใช้อำนาจบริหารซึ่งมาจากการเลือกหรือเสนอชื่อจากสภานิติบัญญัติ      สาธารณรัฐระบบรัฐสภา2
     ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่ใช้ระบบรัฐสภา      ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่มีหัวหน้ารัฐบาลอีกคนหนึ่ง แต่กษัตริย์ยังมีพระราชอำนาจอยู่มาก
     สมบูรณาญาสิทธิราชย์      รัฐพรรคการเมืองเดียว
     ประเทศที่บทบัญญัติการปกครองตามรัฐธรรมนูญถูกระงับ (เช่น เผด็จการทหาร)      ประเทศที่อยู่นอกเหนือระบบข้างต้น (เช่น รัฐบาลชั่วคราว)
1 แผนที่นี้ประมวลขึ้นตามบทความ รายชื่อประเทศตามระบอบการปกครอง ดูแหล่งอ้างอิงในหน้านั้น
2 บางรัฐอาจมีคนนอกเรียกว่าเป็นรัฐอำนาจนิยม บทความนี้กล่าวถึงระบอบการปกครองโดยนิตินัยเท่านั้น

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) มกุฎสาธารณรัฐ (crowned republic) หรือราชาธิปไตยแบบรัฐสภา (parliamentary monarchy)[4][5]

นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบ็จเจิต (Walter Bagehot) นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน (The English Constitution) ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน

ประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่โดดเด่น เช่น สหราชอาณาจักรและอดีตเมืองขึ้นทั้งสิบห้าซึ่งล้วนใช้การปกครองที่เรียกว่า "ระบบเวสมินสเตอร์" (Westminster system) ส่วนรัฐสามแห่ง คือ กัมพูชา มาเลเซีย และสันตะสำนัก ใช้ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยให้อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ เป็นคณะผู้เลือกตั้งองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นระยะ ๆ

นับแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2013 ประเทศล่าสุดที่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ ภูฏาน

ประวัติของระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (รัฐสภา) แก้

การปกครองระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นการปกครองที่เกิดขึ้นครั้งแรก ณ ประเทศอังกฤษ ในสมัยราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ โดยมีรอเบิร์ต วอลโพล เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผลมาจากการการช่วงชิงอำนาจระหว่างกษัตริย์กับสภาที่ประเทศอังกฤษ ประเทศอังกฤษจึงถือได้ว่าเป็นต้นแบบของรูปแบบรัฐบาลแบบนี้ รัฐสภาในประเทศอังกฤษสมัยนั้นถูกจัดตั้งขึ้นในสมัยที่พระมหากษัตริย์ยังคงอำนาจเด็ดขาดอยู่ รัฐสภาอังกฤษขณะนั้นเป็นสภาที่รวมของชนชั้นต่าง ๆ ซึ่งเปิดโอกาสให้คนธรรมดาที่เป็นสามัญชนเข้าไปนั่งในรัฐสภาด้วย รัฐสภาจึงเป็นสถาบันทางการเมืองเพียงแห่งเดียวที่คนธรรมดาจะเข้าไปมีบทบาททางการเมืองได้ รัฐสภาจึงเป็นสถาบันของประชาชน ก็คือรัฐสภาได้เข้ามามีบทบาทควบคุมการใช้อำนาจของกษัตริย์รวมทั้งการปฏิบัติงานของคณะรัฐมนตรีอีกด้วย

รายชื่อประเทศที่ปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แก้

ทวีปเอเชีย แก้

รัฐ/ประเทศ รัฐธรรมนูญล่าสุด (ค.ศ.) รูปแบบของรัฐ/ประเทศ ที่มา
  บาห์เรน 2002 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  ภูฏาน 2007 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์
  กัมพูชา 1993 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  ญี่ปุ่น 1946 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  จอร์แดน 1952 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  คูเวต 1962 เอมีเรต การสืบพระราชบัลลังก์ โดยต้องได้รับพระราชานุมัติจากพระราชวงศ์อาลเศาะบาห์ และความยินยอมของรัฐสภา
  มาเลเซีย 1957 สหพันธรัฐ; ราชาธิปไตยโดยเลือกตั้ง เลือกตั้งจากเชื้อสายสุลต่านทั้งเก้าซึ่งเป็นผู้แทนรัฐต่าง ๆ ในมาเลเซีย
  ไทย 2017 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

ในประเทศไทย มีชื่อเรียกโดยอธิบายถึงระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ รวมกับระบบรัฐสภาว่า "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"[6][7] ซึ่งเรียกรวมการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยระบบรัฐสภา

  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1971 ราชาธิปไตยโดยเลือกตั้ง เลือกสรรโดยสภาสูงสุดกลางจากบรรดาชนชั้นปกครองของอาบูดาบี

ทวีปยุโรป แก้

รัฐ/ประเทศ รัฐธรรมนูญล่าสุด (ค.ศ.) รูปแบบของรัฐ/ประเทศ ที่มา
  อันดอร์รา 1993 ราชรัฐร่วม (Co-principality) เลือกจากมุขนายกแห่งลาแซ็วดูร์เฌ็ลย์ และการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส
  เบลเยียม 1831 ราชอาณาจักร; ราชาธิปไตยของปวงชน[8] การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  เดนมาร์ก 1953 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  ลีชเทินชไตน์ 1862 ราชรัฐ (Principality) การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  ลักเซมเบิร์ก 1868 แกรนด์ดัชชี การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  โมนาโก 1911 ราชรัฐ การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  เนเธอร์แลนด์ 1815 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  นอร์เวย์ 1814 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  สเปน 1978 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  สวีเดน 1974 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  สหราชอาณาจักร 1688 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

ทวีปออสเตรเลีย แก้

รัฐ/ประเทศ รัฐธรรมนูญล่าสุด (ค.ศ.) รูปแบบของรัฐ/ประเทศ ที่มา
  ตองงา 1970 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ชื่อเต็มของรัฐ/ประเทศต่อไปนี้ มิได้ขึ้นต้นด้วยราชอาณาจักร แต่เป็นราชาธิปไตยโดยพฤตินัย
  ออสเตรเลีย 1901 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  นิวซีแลนด์ 1907 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  ปาปัวนิวกินี 1975 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  หมู่เกาะโซโลมอน 1978 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  ตูวาลู 1978 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

ทวีปอเมริกา แก้

รัฐ/ประเทศ รัฐธรรมนูญล่าสุด (ค.ศ.) รูปแบบของรัฐ/ประเทศ ที่มา
ชื่อเต็มของรัฐ/ประเทศต่อไปนี้ มิได้ขึ้นต้นด้วยราชอาณาจักร แต่เป็นราชาธิปไตยโดยพฤตินัย
  แอนทีกาและบาร์บิวดา 1981 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  บาฮามาส 1973 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  เบลีซ 1981 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  แคนาดา 1867 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  กรีเนดา 1974 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  จาเมกา 1962 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  เซนต์คิตส์และเนวิส 1983 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  เซนต์ลูเชีย 1979 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ 1979 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

ทวีปแอฟริกา แก้

รัฐ/ประเทศ รัฐธรรมนูญล่าสุด (ค.ศ.) รูปแบบของรัฐ/ประเทศ ที่มา
  เลโซโท 1993 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ โดยต้องได้รับความยินยอมสภาผู้นำ
  โมร็อกโก 1962 ราชอาณาจักร การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

อ้างอิง แก้

  1. "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. "Constitutional Monarchy",[ลิงก์เสีย] The Encyclopedia of Political Science, CQ Press (2011).
  3. Vernon Bogdanor (1996). "The Monarchy and the Constitution". Parliamentary Affairs. 49 (3): 407–422., excerpted from Vernon Bogdanor (1995). The Monarchy and the Constitution. Oxford University Press.
  4. Boyce 2008, p. 1.
  5. McCannon 2006, pp. 177–178.
  6. จินตภาพสังคมไทยและพรรคการเมืองของประชาชน เก็บถาวร 2008-04-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เมธา มาสขาว. ไทยเอ็นจีโอ 10 เมษายน พ.ศ. 2551, เข้าถึงเมื่อ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
  7. แนวทางประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม หรือ “สังคม-ประชาธิปไตย” (Social-Democracy) ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย. หน้าที่ 8. เข้าถึงเมื่อ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
  8. เบลเยียมเป็นประเทศเพียงแห่งเดียวที่มีราชาธิปไตยของปวงชน — เป็นระบบซึ่งบรรดาศักดิ์ของพระมหากษัตริย์ยึดโยงกับประชาชนแทนรัฐ บรรดาศักดิ์พระมหากษัตริย์ของเบลเยียมจึงไม่ใช่ พระมหากษัตริย์เบลเยียม แต่เป็น พระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของระบบของเบลเยียมนี้ก็คือ พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จะไม่ได้ขึ้นครองราชย์โดยอัตโนมัติหลังพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนหน้าเสด็จสวรรคตหรือสละบัลลังก์ ผู้ที่จะเป็นพระมหากษัตริย์จะเป็นได้ต่อเมื่อทรงตรัสคำสาบานต่อรัฐธรรมนูญ

ดูเพิ่ม แก้