รัฐบัญญัติเสรีภาพพลเมือง ค.ศ. 1988

รัฐบัญญัติเสรีภาพพลเมือง ค.ศ. 1988 (อังกฤษ: Civil Liberties Act of 1988) (Pub.L. 100–383, ลักษณะ 1, 10 สิงหาคม 1988, 102 Stat. 904, 50a U.S.C. § 1989b et seq.) เป็นกฎหมายรัฐบาลกลางสหรัฐที่ให้การชดใช้ค่าเสียหายแก่ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นที่ถูกรัฐบาลสหรัฐสั่งกักตัวระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้สนับสนุนรัฐบัญญัตินี้ได้แก่สมาชิกรัฐสภาพรรคเดโมแครตจากรัฐแคลิฟอร์เนีย นอร์แมน มิเนตา ซึ่งเมื่อเป็นเด็กเป็นผู้ถูกกักขัง และสมาชิกวุฒิสภาพรรครีพับลิกันจากพรรคไวโอมิง แอลัน เค. ซิมป์สัน ซึ่งพบกับมิเนตาเมื่อไปเยี่ยมค่ายกักขัง ผู้สนับสนุนร่วมคนที่สาม คือ สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐแคลิฟอร์เนีย พีต วิลสัน สมาชิกพรรคเดโมแครตส่วนใหญ่สนับสนุน แต่พรรครีพับลิกันส่วนใหญ่ออกเสียงคัดค้าน ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนลงนามเป็นกฎหมาย

รัฐบัญญัตินี้มอบค่าชดเชยให้ผู้ถูกกักขังที่ยังมีชีวิตอยู่คนละ 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีมูลค่าเทียบเท่า 37,000 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2018 โดยเริ่มจ่ายเงินในปี 1990 กฎหมายนี้ระบุว่าการกระทำของรัฐบาลตั้งอยู่บน "ความเดียดฉันท์ทางเชื้อชาติ ความหวาดผวาสงคราม และความล้มเหลวของผู้นำการเมือง" ซึ่งไม่มีสาเหตุความมั่นคงที่ชอบ[1] มีผู้ได้รับเช็กรวม 82,219 คน[2]

เนื่องจากกฎหมายนี้จำกัดเฉพาะพลเมืองอเมริกัน และผู้อยู่อาศัยถาวรที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้มีเชื้อชาติญี่ปุ่นที่ถูกพามาจากบ้านในละตินอเมริกา (ส่วนใหญ่จากเปรู) จึงไม่ครอบคลุมอยู่ในการจ่ายการชดใช้ค่าเสียหาย ไม่ว่าพำนักอยู่ในสหรัฐนานเท่าใด ในปี 1996 คาร์แมน โมชิซูกิฟ้องคดีแบบกลุ่ม[3] และชนะค่าสินไหมทดแทนประมาณ 5,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อผู้มีสิทธิ์ 1 คน มีผู้ได้รับเงินจำนวนดังกล่าว 145 คนก่อนกองทุนหมด ในปี 1999 อัยการสูงสุดสหรัฐสนับสนุนทุนเพิ่มเติมเพื่อจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้มีสิทธิ์ที่เหลือ[4]

อ้างอิง

แก้
  1. 100th Congress, S. 1009, reproduced at เก็บถาวร 2010-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน internmentarchives.com; accessed September 19, 2006.
  2. Sharon Yamato. "Civil Liberties Act of 1988," Densho Encyclopedia (accessed July 16, 2014).
  3. Court TV Library: Civil Rights Cases – Japanese WWII Internment เก็บถาวร กันยายน 16, 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. "Campaign for Justice". Nikkei for Civil Rights and Redress. สืบค้นเมื่อ March 12, 2007.