รอแม็ง รอล็อง (ฝรั่งเศส: Romain Rolland; ภาษาฝรั่งเศส: [ʁɔmɛ̃ ʁɔlɑ̃]; 29 มกราคม ค.ศ. 1866 – 30 ธันวาคม ค.ศ. 1944) เป็นนักเขียนบทละคร, นักเขียนนวนิยาย, นักเขียนเรียงความ, นักประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาและรหัสยลัทธิ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ค.ศ. 1915 "เพื่อเป็นการยกย่องอุดมคติอันสูงส่งของผลงานวรรณกรรมของเขา และความเห็นอกเห็นใจและความรักในความจริงที่เขาได้บรรยายถึงมนุษย์ประเภทต่าง ๆ"[1]

รอแม็ง รอล็อง
รอแม็ง รอล็อง ใน ค.ศ. 1914
รอแม็ง รอล็อง ใน ค.ศ. 1914
เกิด29 มกราคม ค.ศ. 1866(1866-01-29)
แคลมซี ประเทศฝรั่งเศส
เสียชีวิต30 ธันวาคม ค.ศ. 1944(1944-12-30) (78 ปี)
เวเซอแล ประเทศฝรั่งเศส
อาชีพ
ช่วงเวลาค.ศ. 1902–1944
รางวัลสำคัญรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม
ค.ศ. 1915
คู่สมรสโกลธิลเดอ เบรอัล, สมรส ค.ศ. 1892–1901; ฌีฟี รอแม็ง รอล็อง, สมรส ค.ศ. 1934–1944
ญาติมาดแลน รอล็อง (น้องสาว)

ลายมือชื่อ

เขาเป็นผู้สนับสนุนหลักของโจเซฟ สตาลิน ในประเทศฝรั่งเศส และยังมีชื่อเสียงจากการติดต่อโต้ตอบและอิทธิพลที่มีต่อซีคมุนท์ ฟร็อยท์ เช่นกัน

ประวัติ

แก้

รอล็องเกิดในแคลมซี จังหวัดเนียฟวร์ ในครอบครัวที่มีทั้งชาวเมืองและเกษตรกรที่ร่ำรวยในเชื้อสายของตน ในผลงานเรื่องโวยาจอองเตลิเยอร์ (Voyage intérieur) (ค.ศ. 1942) เขามองตัวเองว่าเป็นตัวแทนของ "สายพันธุ์โบราณ" และเขากล่าวถึงบรรพบุรุษเหล่านี้ในผลงานเรื่องโคลาส บรูญง (Colas Breugnon) (ค.ศ. 1919) เขาได้รับการยอมรับเข้าสู่เอกอลนอร์มาลซูว์เปรีเยอร์ใน ค.ศ. 1886 โดยศึกษาปรัชญาเป็นอันดับแรก แต่ด้วยความเป็นอิสระทางจิตวิญญาณทำให้เขาละทิ้งแนวคิดนั้นเพื่อไม่ให้ตกอยู่ภายใต้อุดมการณ์ที่ครอบงำ เขาได้รับปริญญาด้านประวัติศาสตร์ใน ค.ศ. 1889 และใช้เวลาสองปีในโรม ซึ่งการพบปะกับมัลวีดา ฟ็อน ไมเซ็นบุก ซึ่งเป็นเพื่อนของนีทเชอกับวากเนอร์ และการค้นพบผลงานชิ้นเอกของอิตาลีของเขา ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาความคิดของเขา เมื่อเขากลับไปฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1895 เขาได้รับปริญญาเอกพร้อมวิทยานิพนธ์เรื่องเลโอรียีนส์ดูว์เตอัทร์ลีริกโมแดร์เนออิสตัวร์เดอลอเปราอ็องอูโรปอาว็องลูว์ลีเอสการ์ลัตติ (ต้นกำเนิดของโรงละครเพลงสมัยใหม่ ประวัติศาสตร์ของอุปรากรในยุโรปก่อนลูว์ลีและสการ์ลัตติ) ในสองทศวรรษถัดมา เขาได้สอนหนังสือที่ลีซีส์หลายแห่งในปารีส ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนดนตรีที่เพิ่งก่อตั้งใหม่ของเอกอลเดโอตเอจูเดโซซิอาเลตั้งแต่ ค.ศ. 1902 ถึง 1911 ซึ่งใน ค.ศ. 1903 เขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ดนตรีคนแรกที่ซอร์บอน และใน ค.ศ. 1911 เขายังได้เป็นผู้อำนวยการฝ่ายดนตรีที่สถาบันฝรั่งเศสในฟลอเรนซ์เป็นเวลาสั้น ๆ[2]

 
รอแม็ง รอล็อง กับโจเซฟ สตาลิน ใน ค.ศ. 1935

อ้างอิง

แก้
  1. Liukkonen, Petri. "Romain Rolland". Books and Writers (kirjasto.sci.fi). Finland: Kuusankoski Public Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กันยายน 2014.
  2. Henderson, Robert (2001). "Romain Rolland". ใน Sadie, Stanley; Tyrrell, John (บ.ก.). The New Grove Dictionary of Music and Musicians (2nd ed.). London: Macmillan Publishers. ISBN 978-1-56159-239-5.

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Fisher, David James. Romain Rolland and the Politics of the Intellectual Engagement (2003)
  • David-Fox, Michael. "The 'Heroic Life' of a Friend of Stalinism: Romain Rolland and Soviet Culture." Slavonica 11.1 (2005): 3-29. Online[ลิงก์เสีย]
  • Zweig, Stephan. Romain Rolland: The Man and His Work (1921) (online)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

ฉบับอิเล็กทรอนิกส์

แก้