รอนนี โอซุลลิแวน
รอนัลด์ แอนโทนีโอ โอซุลลิแวน (อังกฤษ: Ronald Antonio O'Sullivan, OBE) หรือ รอนนี โอซุลลิแวน (Ronnie O'Sullivan) เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1975 เป็นนักสนุกเกอร์อาชีพชาวอังกฤษจากเมืองชิกเวล เอสเซกซ์ เขาเป็นที่รู้จักในสไตล์การแทงเร็ว ทั้งมีอารมณ์ศิลปิน มีความเป็นตัวเองสูงและการแทงแต่ละลูกของเขาเด็ดขาดสุดๆ โดยรอนนี่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ในฐานะนักสนุกเกอร์ที่เก่งที่สุดตลอดกาล[2]
![]() | |
เกิด | เวิดส์ลี เวสต์มิดแลนส์ อังกฤษ | 5 ธันวาคม ค.ศ. 1975
---|---|
สัญชาติ | ![]() |
ฉายา | The Rocket |
ปีที่เริ่มเล่นอาชีพ | 1992- |
อันดับสูงสุด | 1 |
เบรกสูงสุด | 147: (15 ครั้ง)[1] |
จำนวนเซนจูรีเบรก | 1169 |
รายการแข่งขันที่ชนะ | |
รายการสะสมคะแนนที่ชนะ | 39 |
รายการสะสมคะแนนย่อยที่ชนะ | 3 |
รายการไม่สะสมคะแนนที่ชนะ | 32 |
เวิลด์แชมเปียน | 2001, 2004, 2008, 2012, 2013,2020 2022 |
ronnieosullivan.tv |
เขาทำเซนจูรีเบรกครั้งแรกตอนอายุ 10 ขวบ และทำแม็กซิมัมเบรก ตอนอายุ 15 ปี เขาเทิร์นโปรในปี 1992 ตอนอายุ 16 ปี ไม่นานก็ได้รับฉายาว่า "เดอะร็อกเก็ต" (The Rocket) เขาคว้าแชมป์ในรายการยูเคแชมเปียนชิป 1993 ตอนอายุ 17 ปี กับ 358 วัน กลายเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่คว้าแชมป์รายการสะสมคะแนน สถิติของเขายังคงอยู่ เขายังเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่ได้แชมป์รายการมาสเตอส์ครั้งแรกในปี 1995 ตอนอายุ 19 ปี กับ 69 วัน
โอซุลลิแวนมีทริปเปิลคราวน์ ประกอบด้วยแชมป์รายการเวิลด์สนุกเกอร์แชมเปียนชิปหกสมัย มาสเตอส์เจ็ดสมัย และยูเคแชมเปียนชิปเจ็ดสมัย เป็นคนที่สี่ตามหลัง สตีเฟน เฮนดรี เรย์ เรียร์ดอน และ สตีฟ เดวิส เป็นผู้เล่นคนที่สามที่คว้าแชมป์รายการสะสมคะแนนถึง 28 รายการและได้เงินรางวัลมากกว่า 8 ล้านปอนด์ ตามหลังเฮนดรี[3] เขาติดอันดับหนึ่งในห้าฤดูกาล ระหว่างฤดูกาล 2002/2003 และ ฤดูกาล 2009/2010 ความสำเร็จในรายการของเขารวมทั้งได้แชมป์รายการพรีเมียร์ลีก ถึง 10 ครั้งและได้แชมป์รายการเนชันส์คัพกับทีมอังกฤษในปี 2000
นอกจากนี้เขายังเข้าเบรกได้ดี โอซุลลิแวนยังรวมเซนจูรีเบรกได้ 1061 ครั้งเป็นสถิติที่มากสุดจากผู้เล่นอื่น เขายังมีสถิติในการทำแม็กซิมัมเบรกมากที่สุดในการเล่นอาชีพถึง 15 ครั้ง นอกจากนี้ยังทำแม็กซิมัมเบรกเร็วที่สุดด้วยเวลา 5 นาทีกับ 20 วินาทีในเวิลด์แชมเปียนชิป 1997
ประวัติการแข่งขันแก้ไข
รอนนีเริ่มเล่นอาชีพในปี ค.ศ.1992 และสามารถคว้าแชมป์รายการ ยูเคแชมเปียนชิป ได้ในปี ค.ศ.1993 โดยการเอาชนะสตีเฟน เฮนดรี นักสนุกเกอร์มือวางอันดับ 1 ของโลกในขณะนั้น ซึ่งเป็นการคว้าแชมป์รายการนี้ด้วยวัยเพียง 17 ปีกับอีก 358 วัน ทำให้เขาเริ่มเป็นที่จับตามองในวงการสนุกเกอร์อาชีพ ซึ่งในปีนั้นเขาก็คว้าแชมป์รายการบริติชโอเพน (British Open) ได้อีกหนึ่งรายการด้วย และเมื่อจบฤดูกาล คะแนนอันดับโลกของเขาในปีนั้นก็ขึ้นไปอยู่ในอันดับที่ 9 ของโลก
ในฤดูกาลแข่งขันปี 1995/96 รอนนีคว้าแชมป์รายการเดอะมาสเตอส์ ซึ่งเป็นรายการชิงเงินรางวัลที่ใหญ่ที่สุดโดยการเอาชนะ จอห์น ฮิกกินส์ (John Higgins) ไปได้ 9-3 เฟรม แต่ในส่วนของผลงานของรายการอาชีพเก็บคะแนนของฤดูกาลแข่งขันปี 1995/96 นี้ รอนนีมีผลงานที่ไม่ดีนักเพราะตกรอบแรกไปถึง 5 รายการจากทั้งหมด 10 รายการ ในรายการชิงแชมป์โลกปีนี้ รอนนี่ถูกสมาคมสนุกเกอร์อาชีพโลกปรับเงิน 10,000 ปอนด์ เนื่องจากถูก อแล็ง โรบิดูซ์ (Alain Robidoux) กล่าวหาว่ารอนนีนั้นใช้วิธีการเล่นที่ไม่สุภาพกับเขา โดยในการแข่งขันนัดนั้น รอนนีผลัดกันใช้มือขวาและมือซ้ายในการแทงลูก ซึ่งในเวลาต่อมา รอนนีต้องออกมาแถลงการณ์ขอโทษต่อหน้าสื่อมวลชน อย่างไรก็ตามในรายการชิงแชมป์โลกปีนี้ เขาสามารถเข้าไปถึงรอบรองชนะเลิศ โดยในรอบรองชนะเลิศ เขาพ่ายแพ้ให้กับ ปีเตอร์ เอบดอน (Peter Ebdon) ไป 14-16 เฟรม จบท้ายฤดูกาลนั้นด้วยอันดับที่ 8 ของโลก
ในฤดูกาลการแข่งขันปี 1996/97 รอนนี่เริ่มต้นฤดูกาลด้วยการคว้าแชมป์รายการ เอเชียนคลาสสิก โดยเอาชนะไบรอัน มอร์แกน (Brian Morgan) ไปแบบหวุดหวิด 9-8 เฟรม และสามารถคว้าแชมป์รายการที่ 2 ของฤดูกาลนี้คือรายการเยอร์มันโอเพน โดยเอาชนะ อแล็ง โรบิดูซ์ (Alain Robidoux) ไปได้ 9-7 เฟรม และในการแข่งขันรายการชิงแชมป์โลกปีนี้ เขาสามารถทำ แม็กซิมัมเบรก ในการแข่งขันรอบแรกกับ มิก ไพรซ์ (Mick Price) ซึ่งเป็นการทำแม็กซิมัมเบรกที่เร็วที่สุดในโลก คือใช้เวลาทั้งหมด 5 นาทีกับอีก 20 วินาที แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับรายการชิงแชมป์โลกในฤดูกาลนี้ เขาก็ไปได้เพียงรอบที่ 2 โดยพ่ายแพ้ใหกับแดร์เรน มอร์แกน (Darren Morgan) ไป 12-13 เฟรม
ในฤดูกาลแข่งขันปี 2000/01 เป็นฤดูกาลที่รอนนีรอคอย เมื่อเขาสามารถคว้ารายการชิงแชมป์โลกได้สำเร็จเป็นคนแรกโดยเขาเอาชนะ จอห์น ฮิกกินส์ (John Higgins) ไปได้ 18-14 เฟรม และจบฤดูกาลปีนี้ไปด้วยอันดับที่ 2 ของโลก และในฤดูกาลปี 2002/03 เขาก็สามารถก้าวไปถึงมือวางอันดับ 1 ของโลกได้สำเร็จ โดยเขาได้ครองตำแหน่งมือวางอันดับหนึ่งของโลกทั้งสิ้น 4 ฤดูกาล คือฤดูกาลปี 2002/03,2004/05,2005/06 และในฤดูกาล 2008/09
ในฤดูกาลแข่งขันปี 2007/08 เป็นฤดูกาลที่รอนนี่ประสบความสำเร็จหลายอย่าง แม้ว่าเขาจะเริ่มต้นฤดูกาลโดยการยอมแพ้ผ่าน (withdraw) ในรอบแรกของรายการเซี่ยงไฮ้มาสเตอส์ เนื่องจากว่ามีอาการบาดเจ็บที่หลัง ซึ่งแพทย์ประจำตัวของเขาแนะนำให้รอนนี่ถอนตัวจากรายการนี้เพื่อทำการรักษา แต่ในรายการต่อมาคือรายการกรังปรีซ์ รอนนีก็สามารถเข้าไปได้ถึงรอบชิงชนะเลิศ โดยเขาพ่ายแพ้ให้กับ มาร์โก ฟู (Marco Fu) ไป 6-9 เฟรม ในรายการนอร์ทเทิร์นไอร์แลนด์โทรฟี และรายการยูเคแชมเปียนชิป เขาสามารถทำแม็กซิมัมเบรก ครั้งที่ 7 และครั้งที่ 8 ได้ โดยในรายการยูเคแชมเปียนชิป รอนนีทำ แม็กซิมัมเบรก ในรอบรองชนะเลิศเฟรมตัดสินกับ มาร์ก เซลบี (Mark Selby) ซึ่งการทำแม็กซิมัมเบรกครั้งที่ 8 นี้เป็นการทำสถิติเทียบเท่ากับสถิติสูงสุด 8 ครั้งของ สตีเฟน เฮนดรี (Stephen Hendry) ด้วย และในรายการนี้ เขาก็สามารถคว้าแชมป์ไปได้สำเร็จ โดยเอาชนะสตีเฟน แม็กไกวร์ (Stephen Maguire) ไป 10-2 เฟรม
ในรายการชิงแชมป์โลกในฤดูกาลปี 2007/08 รอนนีสามารถทำแม็กซิมัมเบรกครั้งที่ 3 ของฤดูกาลนี้ และเป็นครั้งที่ 10 ในชีวิตการแข่งขันของเขา ซึ่งเป็นสถิติจำนวนครั้งสูงสุดของผู้ทำแม็กซิมัมเบรก โดยเขาทำแม็กซิมัมเบรกได้ในเฟรมที่ 20 ของการแข่งขันในรอบสอง โดยคู่แข่งขันคือ มาร์ก วิลเลียมส์ (Mark Williams) และในรายการชิงแชมป์โลกฤดูกาลนี้ เขาก็สามารถคว้าแชมป์โลกได้เป็นผลสำเร็จ และเป็นการคว้าแชมป์โลกครั้งที่ 3 ของเขาด้วย
รอนนีเริ่มต้นฤดูกาลแข่งขันปี 2008/09 ได้อย่างน่าประทับใจเมื่อเขาสามารถคว้าแชมป์รายการนอร์ทเทิร์นไอร์แลนด์โทรฟี ซึ่งเป็นรายการสะสมแรกของฤดูกาลแข่งขัน โดยเอาชนะ เดฟ ฮาโรลด์ (Dave Harold) ไปได้ 9-3 เฟรม และในรายการต่อมาคือรายการเซี่ยงไฮ้มาสเตอส์ รอนนีได้ตำแหน่งรองแชมป์ไป โดยพ่ายแพ้ให้กับนักสนุกเกอร์ดาวรุ่ง ริกกี วอลเดน (Ricky Walden) ไปอย่างเฉียดฉิว 8-10 เฟรม ทำให้เขามีคะแนนสะสมเพียงพอที่จะเป็นมือวางอันดับที่ 1 ของโลกต่อไปอีกในฤดูกาลแข่งขันฤดูกาลถัดไป แม้ว่าในรายการชิงแชมป์โลกในฤดูกาลนี้ เขาจะทำผลงานได้แค่เพียงรอบ 2 หรือรอบ 16 คนสุดท้ายเท่านั้น โดยเขาพ่ายแพ้ให้กับ มาร์ก อัลเลน (Mark Allen) ไป 11-13 เฟรม
ผลงานแก้ไข
รายการสะสมคะแนนแก้ไข
- รายการชิงแชมป์โลก 7 สมัย ในปี ค.ศ.2001 / ค.ศ.2004 / ค.ศ.2008 / ค.ศ.2012 / ค.ศ.2013 / ค.ศ.2020 / ค.ศ. 2022
- รายการ Uk Championship 7 สมัยในปี ค.ศ.1993 / ค.ศ.1997 / ค.ศ.2001 / ค.ศ.2007 / ค.ศ.2014 / ค.ศ.2017 / ค.ศ.2018
- รายการ British Open ปี ค.ศ.1994
- รายการ German Open ปี ค.ศ.1995 ปี / ค.ศ. 2012
- รายการ China Open 3 สมัยในปี ค.ศ.1996 / ค.ศ.1999 / ค.ศ.2000
- รายการ European Open ปี ค.ศ.2003
- รายการ Irish Masters 2 สมัยในปี ค.ศ.2003 และปี ค.ศ.2005
- รายการ Welsh Open 4 สมัยในปี ค.ศ.2004 / ค.ศ.2005 /ค.ศ.2014/ ค.ศ.2016
- รายการ Grand Prix ปี ค.ศ.2004
- รายการ Northern Ireland Trophy ปี ค.ศ.2008
รายการชิงเงินรางวัลแก้ไข
- รายการ The Masters 7 สมัยในปี ค.ศ.1995, 2005, 2007, 2009, 2014, 2016 ,2017
- รายการ Scottish Masters 3 สมัยในปี ค.ศ.1998, 2000, 2002
- รายการ Irish Masters 2 สมัยในปี ค.ศ.2001, 2007
- รายการ Premier League 8 สมัยในปี ค.ศ.1997, 2001, 2002, 2005 (04/05), 2005 (05/06), 2006, 2007, 2008
- รายการ Benson and Hedges Championship ปี ค.ศ.1993
- รายการ Nescafe Extra Challenge ปี ค.ศ.1993
- รายการ Liverpool Victoria Charity Challenge ปี ค.ศ.1996
- รายการ Riley Superstar International ปี ค.ศ.1997
- รายการ Champions Cup ปี ค.ศ.2000
- รายการ Nations Cup ร่วมกับทีมชาติอังกฤษ ปี ค.ศ. 2000
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "Official 147s – World Snooker". สืบค้นเมื่อ 8 May 2018.
- ↑ "Ronnie O'Sullivan says he is ready to retire from snooker". BBC Sport. 1 May 2013. สืบค้นเมื่อ 22 December 2015.
- ↑ "Prize Money – All-time, Professional". CueTracker – Snooker Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-19. สืบค้นเมื่อ 31 May 2013.