ยูทูบ พรีเมียม (อังกฤษ: YouTube Premium) คือ บริการที่เก็บค่าธรรมเนียมจากสมาชิกที่ยูทูบได้มอบให้กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต โดยให้การดูวิดีโอในยูทูบได้โดยปราศจากโฆษณา ดาวน์โหลดวิดีโอมาเก็บไว้เพื่อดูออฟไลน์เวลาไม่มีอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงการเล่นวิดีโอเบื้องหลังในโทรศัพท์ การเข้าถึงเนื้อหาใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีทีอื่น และการเข้าถึงเพลงโดยไม่มีโฆษณาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ยูทูบ เรด ให้การฟังเพลงออนไลน์โดยไม่มีโฆษณาจากค่ายเพลงบนยูทูบและกูเกิล เพล มิวสิก[1][2][3] การบริการนั้นถูกเปิดตัวอีกรอบด้วยชื่อ ยูทูบ เรด เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2558 โดยเพิ่มขอบเขตเพื่อให้การเข้าถึงโดยปราศจากโฆษณาแก่วิดีโอทั้งหมดในยูทูบ ไม่ใช่เพียงแค่ดนตรีเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาพรีเมี่ยมซึ่งถูกจัดทำขึ้นในความร่วมมือกับผู้ทำและคนดังในยูทูบ[4]

ยูทูบ พรีเมียม
ประเภทบริการสมาชิกแบบเสียค่าใช้จ่าย
สำนักงานใหญ่
สหรัฐอเมริกา
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก (ยกเว้น ประเทศที่ถูกห้าม)
อุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ต
ลงทะเบียนใช่ (กรณีเข้าถึงคุณลักษณะพรีเมียม)
เปิดตัวพฤศจิกายน 2014; 10 ปีที่แล้ว (2014-11) (มิวสิก คีย์)
31 ตุลาคม 2015; 9 ปีก่อน (2015-10-31) (ยูทูบ เรด)
สถานะปัจจุบันเปิดทำการ

ประวัติ

แก้

การบริการถูกเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เป็น มิวสิก คีย์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างยูทูบและกูเกิล เพล มิวสิก มิวสิก คีย์ให้ความสามารถในการเล่นเพลงจากค่ายเพลงที่เกี่ยวข้องอยู่บนยูทูบแบบเบื้องหลังโดยปราศจากโฆษณา รวมไปถึงการเล่นวิดีโอเพลงแบบออฟไลน์ในมือถือผ่านแอปพลิเคชันยูทูบ การบริการยังรวมไปถึงการเข้าถึงกูเกิล เพล มิวสิก ออล แอคเซส ซึ่งให้การเข้าถึงเพลงออนไลน์โดยไม่มีโฆษณา[5] มิวสิก คีย์ ไม่ใช่ความพยายามครั้งแรกที่ยูทูบพยายามที่จะทำเนื้อหาพรีเมี่ยม ด้วยความที่เคยเปิดตัวการเช่าหนังในปีพ.ศ. 2553[6] และรวมไปถึงช่องพรีเมียมบนฐานของการเป็นสมาชิกในปี พ.ศ. 2556[7][8]

ลักษณะ

แก้

การเป็นสมาชิกยูทูบ เรดทำให้ผู้ใช้สามารถดูวิดีโอในยูทูบได้โดยไม่มีโฆษณาผ่านทางเว็[ไซต์และแอปพลิเคชันมือถือ รวมไปถึงแอปพลิเคชัน ยูทูบมิวสิก และยูทูบเกมมิ่ง ผ่านแอปพลิเคชัน ผู้ใช้ยังสามารถบันทึกวิดีโอลงบนอุปกรณ์เพื่อดูออฟไลน์และเล่นเป็นเบื้องหลังอีกด้วย[2][3] ยูทูบ เรดยังให้การเข้าถึงเนื้อหาพรีเมียมซึ่งเป็นต้นฉบับที่ไม่เคยมีที่ไหนมาก่อนต่อสมาชิก เนื้อหาจะถูกสร้างและเผยแพร่โดยผู้สร้างและช่องที่ใหญ่ที่สุดของยูทูบ[9] นอกจากนี้ยังให้การบริการฟังเพลงผ่านทาง กูเกิล เพล มิวสิก อีกด้วย[4]

การยอมรับ

แก้

เงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้สิทธิ

แก้

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 ก่อนการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของการให้บริการมิวสิก คีย์ องค์กรการค้าเพลงใต้ดิน อย่าง เวิร์ลไวด์ อินดีเพนเดนท์ เน็ตเวิร์ค กล่าวหาว่ายูทูบได้ใช้สัญญาที่ไม่สามารถต่อรองได้กับค่ายเพลงใต้ดินซึ่ง "มองว่าไม่มีค่า" เมื่อเทียบกับการบริการที่อื่น และยังบอกอีกว่ายูทูบขู่ว่าจะบล็อกวิดีโอของค่ายเพลงจากสาธารณะหากพวกเขาไม่เห็นด้วยกับเงื่อนไขใหม่ ในบทความที่ส่งให้ ไฟแนนเชี่ยล ไทม์ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 โรเบิร์ท ไคนซล์ ยืนยันว่าการกระทำนี้เพื่อ "ทำให้มั่นใจว่าเนื้อหาทุกอย่างในแพลตฟอร์มอยู่ภายใต้เงื่อนไขใหม่" ทั้งยังกล่าวอีกว่า 90% ของค่ายเพลงได้ยอมรับเงื่อนไขใหม่นี้ และ "ถึงแม้เราอยากจะให้อัตราความสำเร็จเป็น 100% แต่เราเข้าใจว่านั่นไม่ใช่เป้าหมายที่เป็นไปได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของพวกเราต่อผู้ใช้และอุตสาหกรรมที่จะเปิดตัวการปรับปรุงประสบการณ์ในการฟังเพลง" [10][11][12][13] [3]

ต่อจากการเปิดตัวของยูทูบ เรด ได้มีการกล่าวว่าข้อตงลงเหล่านี้ได้ขยายไปสู่สมาชิกของโปรแกรมหุ้นส่วนยูทูบ หุ้นส่วนที่ไม่ยอมรับเงื่อนไขและข้อตกลงการแบ่งรายได้แบบใหม่จะถูกบล็อกวิดีโอทั้งหมดในพื้นที่ที่ยูทูบ เรด ถูกใช้[14] ช่องยูทูบของอีเอสพีเอ็น เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้ ตัวแทนบริษัทแม่ของอีเอสพีเอ็นอย่างบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ กล่าวว่าความขัดแย้งต่อการถือสิทธิของคนนอกเกี่ยวกับร่องรอยกีฬาซึ่งอยู่ในยูทูบวิดีโอของอีเอสพีเอ็นทำให้พวกเขาไม่สามารถถูกเสนอภายใต้ข้อตกลงใหม่ได้ วิดีโอที่เหลืออยู่ในช่องหลังของอีเอสพีเอ็นนั้นมีจำนวนไม่มาก[15]

ในทำนองเดียวกัน เนื้อหาจำนวนมากภายใต้ลิขสิทธิ์ค่ายเพลงเกาหลีและญี่ปุ่นนั่นยังถูกบล็อกในสหรัฐอเมริกาหลังจากการเปิดตัวของบริการนี้ วงการเพลงญี่ปุ่นธรรมเนียมในการแสดงความเข้มงวดในลิขสิทธิ์และการต่อต้านการเผยแพร่เพลงแบบดิจิตัล เชื่อกันว่าการที่สามารถดาวน์โหลดวิดีโอเพื่อดูออฟไลน์ทำให้พวกเขาลังเลที่จะเข้ารวมโปรแกรมนี้[16][17][18]

อ้างอิง

แก้
  1. "YouTube unveils Music Key subscription service, here's what you need to know". Engadget. AOL. สืบค้นเมื่อ 12 November 2014.
  2. 2.0 2.1 "YouTube announces plans for a subscription music service". The Verge. สืบค้นเมื่อ 12 November 2014.
  3. 3.0 3.1 3.2 "YouTube Launches 'Music Key' Subscription Service with More Than 30 Million Songs". Variety. สืบค้นเมื่อ 12 November 2014.
  4. 4.0 4.1 "Red Dawn: An inside look at YouTube's new ad-free subscription service". The Verge. Vox Media. สืบค้นเมื่อ 21 October 2015.
  5. "Google Play Music subscribers will get free access to YouTube Music Key". PC World. สืบค้นเมื่อ 16 November 2014.[ลิงก์เสีย]
  6. Miguel Helft (January 20, 2010). "YouTube takes a small step into the film rental market". The New York Times. สืบค้นเมื่อ August 13, 2010.
  7. "YouTube's 30 Pay-Channel Partners Run from Kid Fare to Cage Matches". Variety. สืบค้นเมื่อ 29 August 2015.
  8. Shaul, Brandy (2015-11-02). "PewDiePie on YouTube Red: 'Adblock Has Actual Consequences'". SocialTimes. Mediabistro Holdings. สืบค้นเมื่อ 2015-12-01.
  9. Josh Constine. "YouTube Red, A $9.99 Site-Wide Ad-Free Subscription With Play Music, Launches Oct 28". TechCrunch. AOL. สืบค้นเมื่อ 21 October 2015.
  10. "YouTube will block videos from artists who don't sign up for its paid streaming service". The Verge. สืบค้นเมื่อ June 17, 2014.
  11. "YouTube subscription music licensing strikes wrong notes with indie labels". The Guardian. สืบค้นเมื่อ June 17, 2014.
  12. "Talks with indie labels stall over YouTube music subscription service". The Guardian. สืบค้นเมื่อ June 17, 2014.
  13. "YouTube to block indie labels who don't sign up to new music service". The Guardian. สืบค้นเมื่อ June 17, 2014.
  14. "YouTube Will Completely Remove Videos Of Creators Who Don't Sign Its Red Subscription Deal". TechCrunch. AOL.
  15. "ESPN is shutting down its YouTube channels over paid subscriptions". The Verge. สืบค้นเมื่อ 23 October 2015.
  16. "CD-Loving Japan Resists Move to Online Music". The New York Times. September 16, 2014. สืบค้นเมื่อ 25 January 2016.
  17. "YouTube blocks Japanese contributors' content for refusing to use its paid version". Networkworld. IDG. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-28. สืบค้นเมื่อ 25 January 2016.
  18. "Japanese music and vocaloid content disappears as YouTube rolls out new paid service". RocketNews24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-20. สืบค้นเมื่อ 25 January 2016.