ยุทธการที่ปราจีนบุรี

ยุทธการที่ปราจีนบุรี เป็นการรบของกองทัพอาสาภายใต้การนำของกรมหมื่นเทพพิพิธ โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยกรุงศรีอยุธยามิให้เสียแก่พม่า ระหว่างสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง โดยตั้งกองทัพไว้ที่ปราจีนบุรี แต่ยังไม่ทันจะออกปฏิบัติการ กองทัพพม่าก็ชิงโจมตีก่อนจนกองทัพอาสาสลายตัวไป

ยุทธการที่ปราจีนบุรี
ส่วนหนึ่งของ การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
วันที่พ.ศ. 2309
สถานที่
ผล กองทัพอาสาชาวอยุธยาสลายตัว
คู่สงคราม
กองทัพอาสาชาวอยุธยา อาณาจักรพม่า
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

กรมหมื่นเทพพิพิธ
หมื่นเก้า หมื่นศรีนาวา 

นายทองอยู่น้อย

เมขะระโบ

เนกวนจอโบ
กำลัง
10,000 3,000
ความสูญเสีย
ทัพหน้าถูกตีแตก ไม่ทราบ

เบื้องหลัง แก้

กรมหมื่นเทพพิพิธเดิมเคยถูกคุมขังอยู่ที่เมืองจันทบุรี หนีลาผนวช และชวนชาวเมืองทั้งหลายอาสามาช่วยกรุงศรีอยุธยา เมื่อประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2309 ได้กำลังพลกว่า 10,000 นาย ยกมาตั้ง ณ ปราจีนบุรี แถบปากน้ำโยทะกา

คนในกรุงศรีอยุธยาทั้งหลายได้ทราบกิตติศัพท์ต่างก็พากันหนีไปเข้าร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก รวมทั้งข้าราชการที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น พระยารัตนาธิเบศร์ซึ่งดำรงตำแหน่งจตุสดมภ์วัง

ประวัติการสู้รบ แก้

การรบกับกองทัพอยุธยา แก้

ไม่ว่ากองทัพดังกล่าวจะถูกจัดตั้งขึ้นด้วยจุดประสงค์ใดก็ตาม แต่รัฐบาลอยุธยาภายใต้ราชวงศ์บ้านพลูหลวงเน้นการรักษาเสถียรภาพทางการเมืองของ จากที่กรมหมื่นเทพพิพิธเคยมีประวัติคิดแย่งราชสมบัติมาก่อน ทางการจึงส่งกองทัพออกไปปราบ หมายจะจับตัวกรมหมื่นเทพพิพิธ แต่ทำการรบหลายครั้ง ก็ไม่ปรากฏผลแพ้ชนะ[1]

การเข้าตีของพม่า แก้

มังมหานรธาทราบว่ามีกองทัพจะมาช่วยกรุงศรีอยุธยา จึงให้เมขะระโบกับแนกวนจอโบนำทหาร 3,000 นายไปยังปากน้ำโยทะกา กองทัพพม่าสามารถตีทัพหน้ากรมหมื่นเทพพิพิธแตก หมื่นเก้า หมื่นศรีนาวาก็ตายในที่รบ กองทัพอาสาทั้งหลายก็สลายตัวไปหลังจากนั้น

ผู้บัญชาการทั้งสองของพม่าทราบว่ามีกองกำลังขนาดใหญ่อยู่ที่ปราจีนบุรี จึงรายงานต่อมังมหานรธาให้จัดกองทัพบกและกองทัพเรือมายังปราจีนบุรีด้วยเช่นกัน

สลายตัว แก้

กรมหมื่นเทพพิพิธทราบว่าพม่าส่งกองทัพบกและกองทัพเรือมายังปราจีนบุรี ก็ไม่คิดอยู่ต่อสู้ จึงหนีไปยังนครราชสีมา กองทัพอาสาเห็นนายของตนหนี จึงสลายตัวไปเช่นกัน

อ้างอิง แก้

  • จรรยา ประชิตโรมรัน. (2547). การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 106-110.
  1. นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2550). การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. สำนักพิมพ์มติชน. หน้า 28.