ยีนเห็นแก่ตัว (อังกฤษ: The Selfish Gene) เป็นหนังสือเรื่องวิวัฒนาการเขียนโดย ริชาร์ด ดอว์กินส์ พิมพ์ในปี 2519 และแปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกโดย เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ในปี 2559 ตั้งอยู่บนทฤษฎีหลักการของหนังสือเล่มแรกของจอร์จ ซี. วิลเลียมส์ การปรับตัวและการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Adaptation and Natural Selection) ดอว์กินส์ใช้คำว่า "ยีนเห็นแก่ตัว" เป็นวิธีนำเสนอมุมมองวิวัฒนาการที่มียีนเป็นศูนย์กลาง (gene-centred view of evolution) ตรงกันข้ามกับมุมมองที่มุ่งสนใจสิ่งมีชีวิตและกลุ่ม กระพือความคิดที่พัฒนาระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 โดย ดับเบิลยู. ดี. ฮามิลตันและอื่น ๆ ให้ได้รับความนิยม จากมุมมองที่มียีนเป็นศูนย์กลาง ตามด้วยความคิดว่ายิ่งปัจเจกมากกว่าสองมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมมากยิ่งขึ้นเท่าใด ยิ่งมีสำนึก (ในระดับยีน) ทำให้สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นประพฤติเห็นแก่ตัวต่อกันมากยิ่งขึ้นเท่านั้น

ยีนเห็นแก่ตัว  
ปกหนังสือ ยีนเห็นแก่ตัว ฉบับแปลภาษาไทย พิมพ์ครั้งที่ 4
ผู้ประพันธ์ริชาร์ด ดอว์กินส์
ชื่อเรื่องต้นฉบับThe Selfish Gene
ผู้แปลเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์
ประเทศสหราชอาณาจักร
ภาษาอังกฤษ
หัวเรื่องชีววิทยาวิวัฒนาการ
สำนักพิมพ์Oxford University Press
วันที่พิมพ์2519 (อังกฤษ, ฉบับพิมพ์ครั้งแรก)
2559 (ไทย)
ชนิดสื่อพิมพ์, อีบุ๊ก
หน้า224
ISBN0-19-857519-X
OCLC2681149
เรื่องถัดไปThe Extended Phenotype 

คาดหมายว่าเชื้อสายวิวัฒนาให้ความเหมาะสมรวม (inclusive fitness) มากที่สุด คือ จำนวนสำเนาของยีนที่ส่งผ่านทั่วโลก (มิใช่โดยปัจเจกหนึ่ง ๆ) ผลคือ ประชากรจะมีแนวโน้มสู่ยุทธศาสตร์เสถียรในทางวัวัฒนาการ (evolutionarily stable strategy) หนังสือยังประดิษฐ์คำว่า มีม (mene) สำหรับหน่วยของวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมของมนุษย์ที่สมนัยกับยีน โดยแนะว่าการผลิตซ้ำ "ความเห็นแก่ตัว" ดังนี้อาจเป็นแบบจำลองวัฒนธรรมของมนุษย์ในสำนึกที่ต่างไป การศึกษามีม (memetics) กลายเป็นหัวข้อการศึกษาจำนวนมากตั้งแต่มีการพิมพ์หนังสือนี้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้