มูนีร์ ซาอิด ตาลิบ

มูนีร์ ซาอิด ตาลิบ (อินโดนีเซีย: Munir Said Thalib; 8 ธันวาคม 1965 – 7 กันยายน 2004) เป็นนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนชาวอินโดนีเซีย ผู้รับรางวัลไลต์ไลฟ์ลิฮูดประจำปี 2000 เขาถูกลอบสังหารในปี 2004 ขณะเดินทางบนเครื่องบินของการูดาอินโดนีเซียไปยังอัมสเตอร์ดัมเพื่อศึกษาต่อปริญญาเอกด้านกฎหมายระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัยยูเทรกต์[1] เขาเป็นหนึ่งในนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนและนักเคลื่อนไหวต้านการคอร์รัปชั่นที่โด่งดังที่สุดของอินโดนีเซีย เขาเป็นผู้ก่อตั้งคณะกรรมการเพื่อคนหายและเหยื่อความรุนแรง (KontraS)[2] และดำรงตำแหน่งผู้ว่าการศูนย์เฝ้าระวังสิทธิมนุษยชนอินโดนีเซีย (Indonesian Human Rights Monitor หรือ IMPARSIAL) เป็นตำแหน่งสุดท้ายก่อนถูกลอบสังหาร

มูนีร์ ซาอิด ตาลิบ
เกิด8 ธันวาคม ค.ศ. 1965(1965-12-08)
บาตู, ชวาตะวันออก, ประเทศอินโดนีเซีย
เสียชีวิต7 กันยายน ค.ศ. 2004(2004-09-07) (38 ปี)
บนเที่ยวบินของการูดาอินโดนีเซียจากจาการ์ตา ไป อัมสเตอร์ดัม
สาเหตุเสียชีวิตวางพิษสารหนู
สัญชาติอินโดนีเศีย
การศึกษามหาวิทยาลัยบราวิชัย
อาชีพนักกฎหมาย
มีชื่อเสียงจากนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน
คู่สมรสซูจีวาตี
รางวัลไรต์ไลฟ์ลิฮูดอะวอร์ด

ในปี 2001 ขณะกำลังสอบสวนกรณีการลักพาตัวของโกปัซซุซ เขาเคยถูกข่มขู่ด้วยการส่งกล่องระเบิดมาที่บ้าน

การลอบสังหารและผลสืบเนื่อง แก้

มูนีร์ถูกลอบสังหารด้วยการวางยาพิษจากสารหนูบนเที่ยวบินการูดาอินโดนีเซียของรัฐบาล จากจาการ์ตา ไปอัมสเตอร์ดัม ในวันที่ 7 กันยายน 2004 ผลชันสูตรพลิกศพและรายงานจากผู้เห็นเหตุการณ์ระบุตรงกันว่าเขาเสียชีวิตสองขั่วโมงก่อนเครื่องบินจะลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติสกิปโฮล เขาได้รับสารพิษนี้ขณะต่อเครื่องที่สิงคโปร์ นักบินของการูดา ปลลีการ์ปุซ ปรียันโต เป็นผู้ต้องสงสัยหลักในการสืบสวน แรกเริ่มมูนีร์เดินทางออกจากอินโดนีเซียโดยเป็นผู้ถือตั๋วฟรีภายใต้เอกสารระบุตนปลอมเพื่อช่วยให้เขาสามารถออกเดินทางบนเครื่องบินได้ มูนีร์เริ่มมีอาการท้องร่วงฉับพลันและอาเจียนอย่างหนักไม่นานหลังเครื่องออกจากสิงคโปร์มุ่งหน้าอัมสเตอร์ดัม ลูกเรือแจ้งแก่กัปตันว่ามีผู้โดยสารป่วยหนัก และมีแพทย์ที่บังเอิญโดยสารไปด้วยบนเครื่องได้รับการเรียกให้ให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ กระนั้นก็ไม่สามารถยื้อชีวิตมูนีร์ไว้ได้[3]

ผลชันสูตรพลิกศพที่รายงานในสองเดือนหลังเสียชีวิต โดยสถาบันนิติเวชเนเธอร์แลนด์ระบุว่าร่างกายของมูนีร์มีระดับสารหนูสูงกว่าระดับที่เป็นอันตรายถึงชีวิตถึงสามเท่า รายงานนี้ต่อมาได้รับการยืนยันโดยตำรวจอินโดนีเซีย และเข้าใจกันว่าสารหนูถูกใส่ในน้ำส้มที่มูนีร์ดื่มขณะเดินทางบนเครื่องบินของการูดา

ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน ประกาศว่าเขายืนยันจะตามหาผู้กระทำความผิดมาลงโทษและให้มีการสืบสวนแยกเป็นการด่วน อย่างไรก็ตาม หลักฐานไม่เพียงพอ เจ้าหน้าที่ระดับสูงไม่ร่วมมือ และท้ายที่สุดการสืบสวนก็สิ้นสุดลงโดยไม่มีผลออกมา[2][4]

มีการกล่าวโทษว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยข่าวกรองรัฐอินโดนีเซีย (BIN) มีส่วนเกี่ยวข้องในการฆาตกรรมนี้ หัวหน้าหน่วยในเวลานั้น ซูตันโต ถูกกล่าวหาว่ารู้เห็นว่า BIN มีบทบาท ส่วนรองผู้บังคับการหน่วย มุคดี ปูร์โวปรันโจโน ถูกนำตัวขึ้นศาลก่อนจะตัดสินพ้นผิด การตัดสินนี้ถูกประนามในระดับนานาชาติว่าเป็น "การตัดสินคดีแบบแกล้งแสดง"[2][4] เชื่อว่ามุคดีสั่งฆ่ามูนีร์เพราะเขาไปวิจารณ์การนำโกปัซซุซของเขา[5]

การรั่วไหลของบทสนทนาทูตอเมริกาชิ้นหนึ่งกล่าวโทษอดีตหัวหน้าหน่วย BIN อา. เอ็ม. เฮ็นโดรปรีโยโน ว่า "นำการประชุมสองครั้งที่ซึ่งวางแผนการสังหารมูนีร์"[5]

ในปี 2014 เฮ็นโดรปรีโยโนยอมรับต่อนักข่าว Allan Nairn ว่าเขามีส่วน "รับผิดชอบในการสั่งการ" สังหารมูนีร์ และพร้อมจะถูกดำเนินการทางยุติธรรมต่อไป[6]

หลังเสียชีวิต แก้

มูนีร์ได้รับรางวัลซิวิลเคอเรจจากสมาคมเทรนหลังเสียชีวิต[7] ในปี 2013 มีการเปิดตัวพิพิธภัณฑ์ในมาลังเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา[8]

ชีวิตส่วนตัว แก้

มูนีร์สมรสกับนักกิจกรรมสิทธิแรงงาน ซูจีวาตี และมีลูกด้วยกันสองคน ภรรยาของเขาเป็นตัวตั้งตัวตีสำคัญในการสืบสวนการเสียชีวิตของมูนีร์[9]

อ้างอิง แก้

  1. Munir murder conviction quashed BBC News
  2. 2.0 2.1 2.2 Tibke, Patrick (2 September 2014). "Jokowi's Challenge – Part 3: An end to impunity or same old injustices?". Asian Correspondent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-06. สืบค้นเมื่อ 6 September 2014.
  3. "Rights campaigner Munir dies on plane". The Jakarta Post. 8 September 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 November 2004.
  4. 4.0 4.1 "Secretary Kerry's Trip to Indonesia Should Promote Human Rights". Targeted News Service. 4 October 2013. ProQuest 1439503188.
  5. 5.0 5.1 Osman, Nurfika (10 September 2011). "WikiLeaks US Cables Point to BIN Role in Munir Murder". Jakarta Globe. สืบค้นเมื่อ 6 September 2014.
  6. "As Indonesia's New President Takes Office, Cabinet Includes Officials Tied to Atrocities of Old". Democracy Now. สืบค้นเมื่อ 29 October 2014.
  7. "Honorees". Civil Courage Prize. 2010. สืบค้นเมื่อ 26 May 2011.
  8. Ayu Pitaloka, Dyah (9 December 2013). "New Museum Brings Munir's Cases, Death To Public View". Jakarta Globe. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014.
  9. Hegarty, Stephanie (24 May 2011). "Indonesian human rights widow fights for justice". BBC.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้