มุมบริวสเตอร์ (Brewster's angle) หรือ มุมโพลาไรซ์ (polarization angle) คือมุมตกกระทบของแสงบนรอยต่อระหว่างตัวกลางซึ่งทำให้เกิดโพลาไรเซชันได้แสงสะท้อนออกมาจะเป็นแสงโพลาไรซ์แบบเส้นตรง ซึ่งแพร่ไปในทิศทางตั้งฉากกับมุมหักเห[1] ชื่อมุมนี้ตั้งตามชื่อนักฟิสิกส์ชาวสก็อต เดวิด บริวสเตอร์ ซึ่งเป็นผู้ค้นพบ[2][3]

ภาพวาดแสดงแสงที่ตกกระทบด้วยมุมบริวสเตอร์แล้วสะท้อนและหักเหเป็นแสงโพลาไรซ์

ทฤษฎี แก้

เมื่อแสงตามธรรมชาติเกิดการสะท้อนและหักเหที่ส่วนรอยต่อระหว่างตัวกลางไอโซทรอปิกสองชนิด สถานะโพลาไรเซชันของแสงจะเปลี่ยนแปลงไป โดยปกติแล้ว แสงสะท้อนและแสงหักเหจะกลายเป็นแสงโพลาไรซ์บางส่วน และในแสงสะท้อน การแกว่งกวัดของแสงในแนวตั้งฉากกับพื้นผิวตกกระทบจะมากกว่าในแนวขนาน ในขณะที่แสงหักเหจะมีแนวโน้มตรงกันข้าม ระดับของโพลาไรเซชันของแสงสะท้อนจะสัมพันธ์กับมุมตกกระทบ เมื่อมุมตกกระทบเท่ากับมุมบริวสเตอร์ แสงสะท้อนจะกลายเป็นแสงโพลาไรซ์เชิงเส้นเฉพาะในแนวที่ตั้งฉากกับระนาบตกกระทบเท่านั้น[4][5]

ให้   เป็นมุมตกกระทบ   เป็นมุมหักเห แล้วให้   และ   เป็นดรรชนีหักเหของตัวกลางทั้งสอง ตามกฎของสแน็ลแล้วจะได้ว่า

 

และมุมบริวสเตอร์   ซึ่งหมายถึงมุมตกกระทบที่ทำให้มุมสะท้อนและมุมหักเหตั้งฉากกันก็จะหาได้เป็น

 

จัดรูปใหม่ได้เป็น

 

ซึ่งก็หมายความว่า มุมบริวสเตอร์เท่ากับอาร์กแทนเจนต์ของอัตราส่วนของดรรชนีหักเหของตัวกลางทั้งสอง

แอปพลิเคชัน แก้

แว่นกันแดดแบบโพลาไรซ์ ใช้หลักการของมุมบริวสเตอร์เพื่อลดแสงโพลาไรซ์ที่สะท้อนจากผิวน้ำหรือพื้นถนน[6]

ช่างภาพใช้หลักการเดียวกันนี้ในการลดแสงแดดที่สะท้อนจากผิวน้ำ ผิวกระจก หรือพื้นผิวอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โลหะ[6]

 
ภาพถ่ายหน้าต่างเดียวกันโดยใช้กล้องถ่ายรูปเดียวกัน แต่ปรับโพลาไรเซอร์ให้หมุนเป็นมุมต่างกัน ในภาพด้านซ้าย มุมของโพลาไรเซอร์อยู่ในแนวเดียวกับมุมโพลาไรซ์ที่สะท้อนจากหน้าต่าง ทางด้านขวา โพลาไรเซอร์ถูกหมุน 90° จึงกำจัดแสงสะท้อนซึ่งเป็นแสงโพลาไรซ์มาก

อ้างอิง แก้

  1. 林宇恆. "布儒斯特定律的理论解释" (PDF) (ภาษาจีน). 济宁学院物理系. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-07-01. สืบค้นเมื่อ 2016-05-27.
  2. David Brewster (1815) "On the laws which regulate the polarisation of light by reflection from transparent bodies," เก็บถาวร 2020-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Philosophical Transactions of the Royal Society of London, 105: 125-159.
  3. Lakhtakia, Akhlesh (June 1989). "Would Brewster recognize today's Brewster angle?" (PDF). Optics News. OSA. 15 (6): 14–18. doi:10.1364/ON.15.6.000014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-06-28. สืบค้นเมื่อ 2016-05-27.
  4. 張三慧. 大學物理學 熱學、光學、量子物理(第三版)B版. 清華大學出版社. p. 250.
  5. "布魯斯特角 (Brewster's angle):" (ภาษาจีน). 雷射知識網. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-15. สืบค้นเมื่อ 2016-05-27.
  6. 6.0 6.1 周泓宇 樊智慧. "浅谈布儒斯特角及其光学应用" (ภาษาจีน). 大连理工大学物理与光电工程学院. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-20. สืบค้นเมื่อ 2016-05-31.