มาร์ธา โคว์ เชส (30 พฤศจิกายน ค.ศ.1927 – 8 สิงหาคม ค.ศ. 2003) หรือรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า มาร์ธา โคว์ เอ็ปสไตน์,[1] เป็นนักพันธุศาสตร์เชื้อสายอเมริกา ผู้ที่ซึ่งในปี ค.ศ.1952 ได้ร่วมกับอัลเฟรด เฮอร์ชีย์ทำการทดลองเพื่อยืนยันว่าดีเอ็นเอคือสารพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตไม่ใช่โปรตีน

มาร์ธา โคว์ เชส
เกิด30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1927(1927-11-30)
คลีฟแลนด์ไฮท์ โอไฮโอสหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต8 สิงหาคม ค.ศ. 2003(2003-08-08) (75 ปี)
ลอร์เรน โอไฮโอสหรัฐอเมริกา
สัญชาติอเมริกัน
พลเมืองสหรัฐอเมริกา
ศิษย์เก่าวิทยาลัยวูสเตอร์, มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย
มีชื่อเสียงจากการทดลองเฮอร์ชีย์–เชส
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาพันธุกรรม, ชีวเคมี, ชีวโมเลกุล
สถาบันที่ทำงานห้องปฏิบัติการ Cold Spring Harbor, ห้องปฏิบัติการแห่งชาติโอ๊คริดจ์, มหาวิทยาลัยแห่งโรเชสเตอร์
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกจูเซปเป เบอทานี, มาร์กาเรต ลีบ

ชีวิตในวัยเด็กและการศึกษาระดับปริญญา แก้

มาร์ธา เชส เกิดในปี ค.ศ.1927 ที่คลีฟแลนด์ไฮท์ ในโอไฮโอสหรัฐมเมริกา[1] พ่อของเธอเป็นอาจารย์สอนวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย Western Reserve เธอโตมากับครอบครัวของเธอที่คลีฟแลนด์ไฮท์ ในโอไฮโอสหรัฐมเมริกา[2] หลังจากจบจากโรงเรียนมัธยมคลีฟแลนด์ไฮท์ เธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัย Wooster ในปี ค.ศ.1950 และได้ทำงานเป็นผู้ช่วยวิจัยก่อนกลับมาศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ในปี ค.ศ.1959 และได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในปี ค.ศ.1964 ในสาขาจุลชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย[3][4]

การวิจัยและบั้นปลายชีวิต แก้

ในปี ค.ศ.1950 เชสได้เริ่มทำงานเป็นผู้ช่วยวิจัยที่ห้องปฏิบัติการ Cold Spring Harbor ในห้องปฏิบัติการของการศึกษาแบคทีเรียและพันธุกรรมของอัลเฟรด เฮอร์ชีย์ ในปี ค.ศ.1952 เธอและเฮอร์ชีย์ได้ทำการทดลองเฮอร์ชีย์–เชส ที่ช่วยพิสูจน์ว่าสารพันธุกรรมนั้นถูกถ่ายทอดโดยดีเอ็นเอไม่ใช่โปรตีน โดยการทดลองนั้น ได้ใช้การติดฉลากกัมมันตภาพรังสีลงบนโปรตีนหรือดีเอ็นเอของแบคเทอริโอเฟจ (ไวรัสที่แพร่เชื้อในแบคทีเรีย) เพื่อดูว่าตอนแพร่เชื้อส่วนประกอบชิ้นใดที่เข้าไปใน E coli และพวกเขาได้พบว่ามีเฉพาะดีเอ็นเอที่เข้าไปใน E coli ซึ่งช่วยลดความข้อขัดแย้งเรื่องสารทางพันธุกรรม เหตุนี้เองทำให้เฮอร์ชีย์ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาสรีรวิทยาและการแพทย์ในปี ค.ศ.1969 แต่เชสไม่ได้มีชื่อเข้ารับรางวัลด้วย [5]

เชสได้ลาออกจากห้องปฏิบัติการ Cold Spring Harbor ในปี ค.ศ.1953 และทำงานกับ Gus Doermann ที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติโอ๊คริดจ์ใน Tennessee และต่อมาทำงานที่ มหาวิทยาลัยรอเชสเตอร์ โดยในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 เธอได้กลับมาที่ห้องปฏิบัติการ Cold Spring Harbor ทุกปีเพื่อเข้าร่วมการประชุมของกลุ่มเฟจ [6] ในปี ค.ศ.1959 เธอเริ่มศึกษาปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ในห้องปฏิบัติการของจูเซปเป เบอทานี แต่ว่าเบอทานีได้ย้ายไปสวีเดน เชสเลยได้เขียนวิทยาลัยนิพนธ์ที่เหลือจนเสร็จสิ้นกับมาร์กาเรต ลีบ ในปี ค.ศ. 1964.[7]

ในระหว่างที่อยู่ที่แคลิฟอร์เนีย เชสได้พบและแต่งงานกับเพื่อนนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อ ริชาร์ด เอ็ปสไตน์ ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น มาร์ธา โคว์ เอ็ปสไตน์ เธอมีชีวิตการแต่งงานที่สั้น พวกเขาตัดสินใจหย่าร้างกันหลังจากแต่งงานได้ไม่นาน[1]

และในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 เนื่องจากมีปัญหาส่วนตัวต่างๆรุมเร้า เธอเลยได้สิ้นสุดการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ลง เธอย้ายกลับมาอยู่กับครอบครัวที่โอไฮโอและใช้ชีวิตในช่วงบั้นปลายชีวิตของเธอ เจ็บปวดกับภาวะสมองเสื่อม ที่ทำให้เธอสูญเสียความจำระยะสั้นไป ท้ายที่สุด เธอเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ.2003 ด้วยอายุ 75 ปี[6]

สิ่งอันเนื่องด้วยชื่อ แก้

แฟมิลี่หรือวงศ์ Chaseviridae กลุ่มของ แบคเทอริโอเฟจ ในออร์เดอร์ Caudovirales ได้รับการตั้งชื่อตามตาม มาร์ธา เชส[8]

บทความวิจัยหลัก แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Dawson, Milly (2003-08-20). "Martha Chase dies". The Scientist. สืบค้นเมื่อ 2010-09-25.
  2. Baranick, Alana (August 14, 1998). "Martha Chase, 75, Cleveland native, worked on early DNA experiments". The Plain Dealer.
  3. Lavietes, Stuart. "Martha Chase, 75, a Researcher Who Aided in DNA Experiment". The New York Times.
  4. "Reactivation Of Phage-P2 Damaged By Ultraviolet Light :: University of Southern California Dissertations and Theses". digitallibrary.usc.edu. สืบค้นเมื่อ 2018-03-12.
  5. Dawson, Milly (2003-08-20). "Martha Chase dies". The Scientist. สืบค้นเมื่อ 2010-09-25.
  6. 6.0 6.1 Lavietes, Stuart. "Martha Chase, 75, a Researcher Who Aided in DNA Experiment". The New York Times.
  7. Illuminating life : selected papers from Cold Spring Harbor Laboratory, 1903-1969. Witkowski, J. A. (Jan Anthony), 1947-, Cold Spring Harbor Laboratory. Cold Spring Harbor, N.Y.: Cold Spring Harbor Laboratory Press. 2000. ISBN 9780879695668. OCLC 42462623.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  8. Evelien M. Adriaenssens, Mart Krupovic et al.: Taxonomy of prokaryotic viruses: 2018-2019 update from the ICTV Bacterial and Archaeal Viruses Subcommittee. In: Archives of Virology 165. 11 March 2020. Pp 1253–1260. doi:10.1007/s00705-020-04577-8. PDF

แหล่งข้อมูลอื่น แก้