มะลิลา

สปีชีส์ของพืช
มะลิลา
สายพันธุ์ 'Maid of Orleans' จาก ตูนีเซีย.
ดอกมะลิลาระยะต่างๆ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Lamiales
วงศ์: Oleaceae
สกุล: Jasminum
สปีชีส์: J.  sambac
ชื่อพ้อง[1][2]
  • Nyctanthes sambac L.
  • Mogorium sambac (L.) Lam.
  • Jasminum fragrans Salisb.
  • Jasminum sambac var. normale Kuntze
  • Jasminum bicorollatum Noronha
  • Jasminum blancoi Hassk.
  • Jasminum heyneanum Wall. ex G.Don
  • Jasminum odoratum Noronha
  • Jasminum pubescens Buch.-Ham. ex Wall.
  • Jasminum quadrifolium Buch.-Ham. ex Wall.
  • Jasminum quinqueflorum B.Heyne ex G.Don
  • Jasminum quinqueflorum var. pubescens G.Don
  • Jasminum sambac var. duplex Voigt
  • Jasminum sambac var. gimea (Zuccagni) DC.
  • Jasminum sambac var. goaense (Zuccagni) DC.
  • Jasminum sambac var. heyneanum Wall. ex G.Don) C.B.Clarke in J.D.Hooker
  • Jasminum sambac var. kerianum Kuntze
  • Jasminum sambac var. nemocalyx Kuntze
  • Jasminum sambac var. plenum Stokes
  • Jasminum sambac var. syringifolium Wall. ex Kuntze
  • Jasminum sambac var. trifoliatum Vahl
  • Jasminum sambac var. undulatum (L.) Kuntze
  • Jasminum sambac var. verum DC.
  • Jasminum sanjurium Buch.-Ham. ex DC.
  • Jasminum undulatum (L.) Willd.
  • Mogorium gimea Zuccagni
  • Mogorium goaense Zuccagni
  • Mogorium undulatum (L.) Lam.
  • Nyctanthes goa Steud.
  • Nyctanthes grandiflora Lour.
  • Nyctanthes undulata L.

มะลิลา หรือ มะลิซ้อน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum sambac) เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย สูง 15-25 ซม. ใบออกตรงข้าม รูปไข่กว้าง 3.5 - 4.5 ซม. ยาว 4-7 ซม. ปลายแหลม โคนมน ก้านใบสั้น มี 3 ใบใน 1 ข้อ ดอกสีขาว กลิ่นหอมแรง ออกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ใช้ทำเป็นน้ำลอยมะลิ ใช้ทำเป็นขนมไทย[3]มะลิลาและมะลิซ้อนเป็นพืชชนิดเดียวกันแต่เป็นคนละรูปแบบ สังเกตได้จากดอกที่มีความแตกต่างอย่างชัดเจน[4]

มะลิลามีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกดังนี้: ข้าวแตก (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) เตียมูน (ละว้า เชียงใหม่) มะลิ (กลาง) มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่) มะลิซ้อน (กลาง) มะลิป้อม (เหนือ) มะลิลา (กทม., กลาง) และ มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน) [4]

ชาวโอรังอัซลี ในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย นำใบอ่อนแช่ในน้ำเย็น ใช้ดื่มแก้นิ่วในถุงน้ำดี รากนำไปต้ม แล้วดื่มน้ำแก้เบาหวาน[5]เป็นดอกไม้ประจำชาติของฟิลิปปินส์ เรียกว่าซัมปากีตา (sampaguita) และเป็นดอกไม้ประจำชาติหนึ่งในสามชนิดของอินโดนีเซีย ซึ่งเรียกว่าเมอลาตี ปูติห์ (melati putih)

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Jasminum sambac (L.) Aiton". Germplasm Resources Information Network (GRIN). Agricultural Research Service (ARS), United States Department of Agriculture (USDA). สืบค้นเมื่อ March 8, 2011.
  2. Ginés López González (2006). Los árboles y arbustos de la Península Ibérica e Islas Baleares: especies silvestres y las principales cultivadas (ภาษาสเปน) (2 ed.). Mundi-Prensa Libros. p. 1295. ISBN 978-84-8476-272-0.
  3. เสาวลักษณ์ สุขสมัย. เสน่ห์ไม้ไทย. กทม. มติชน.2539
  4. 4.0 4.1 เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
  5. Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6:5

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ มะลิลา ที่วิกิสปีชีส์