มหาวิหารแม่พระแห่งภูเขาคาร์แมล (วัลเลตตา)

มหาวิหารแม่พระแห่งภูเขาคาร์แมล (มอลตา: Santwarju Bażilika tal-Madonna tal-Karmnu; อังกฤษ: Basilica of Our Lady of Mount Carmel) เป็นมหาวิหารน้อยในนิกายโรมันคาทอลิกคณะคาร์แมล อุทิศแด่แม่พระแห่งเขาคาร์แมล มหาวิหารตั้งอยู่ในเมืองวัลเลตตา ประเทศมอลตา เป็นหนึ่งในโบสถ์คริสต์ที่สำคัญของเมืองและเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งมรดกโลกยูเนสโก โบสถ์หลังปัจจุบันสร้างขึ้นในปี 1958 และเสร็จในปี 1981 ตรงจุดที่โบสถ์หลังเดิมที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 16 ถูกระเบิดเสียหายระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

มหาวิหารแม่พระแห่งภูเขาคาร์แมล
Santwarju Bażilika tal-Madonna tal-Karmnu
โดมของมหาวิหารท่ามกลางทิวนครวัลเลตตา
แผนที่
35°54′0.7″N 14°30′44.2″E / 35.900194°N 14.512278°E / 35.900194; 14.512278
ที่ตั้งวัลเลตตา ประเทศมอลตา
นิกายโรมันคาทอลิก
นักบวชประจำคณะคาร์แมล
ประวัติ
สถานะมหาวิหารน้อย
ก่อตั้ง1570
อุทิศแก่แม่พระแห่งเขาคาร์แมล
เสกเมื่อ6 เมษายน 1886
สถาปัตยกรรม
สถานะการใช้งานเปิด
สถาปนิกGirolamo Cassar (หลังเดิม)
Giuseppe Bonavia (ฟาซาด)
Ġużè Damato (หลังปัจจุบัน)
รูปแบบสถาปัตย์นีโอคลาสสิก
ปีสร้างป. 1570–1591/1608 (หลังเดิม)
1852 (ฟาซาด)
1958–1981 (หลังปัจจุบัน)
โครงสร้าง
จำนวนโดม1
จำนวนหอคอย1
วัสดุหินปูน
การปกครอง
แพริชนักบุญดอมินิก วัลเลตตา
อัครมุขมณฑลมอลตา
นักบวช
RectorAlex Scerri

ประวัติศาสตร์ แก้

คณะคาร์แมลมีอยู่ในมอลตามาตั้งแต่อย่างน้อยปี 1418[1] และคณะได้ตั้งโบสถ์และคอนเวนต์ขึ้นไม่นานหลังตั้งนครวัลเตตาในปี 1566 แกรนด์มาสเตอร์แห่งคณะบริบาล Pierre de Monte เป็นผู้มอบที่ดินให้แก่คณะคาร์แมลในวันที่ 27 กรกฎาคม 1570[2]

โบสถ์หลังเดิมสร้างขึ้นหัลงพระราชาคณะคาร์แมล (Carmelite vicar) Ġwann Vella ว่าจ้างให้สถาปนิก Girolamo Cassar ออกแบบโบสถ์ ระหว่างก่อสร้าง ได้ให้พิธีมิสซาจัดในโบสถ์น้อยที่เป็นโบสถ์ประจำเชตแรกของวัลเลตตาแทน[1] ที่ซึ่งต่อมารวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งในเขตสังฆมณฑลซากเรือนักบุญเปาโล[3] โบสถ์หลังที่ Cassar ออกแบบสร้างแล้วเสร็จในปี 1591[4] หรือ 1608[1]

ในปี 1852 ได้มีการสร้างผาซาดขึ้นใหม่ตามงานออกแบบโดย Giuseppe Bonavia[5] และมีการแก้ไขบางจุดของโบสถ์ในเวลาเดียวกันนี้ องค์ประธาน (altarpiece) ของโบสถ์ได้รับการประดับมงกุฏโดย Carmelo Scicluna ในวันที่ 15 กรกฎาคม 1881[4] และในวันที่ 6 เมษายน 1886 ได้ประกอบพิธีเสก (consecrated) โดย Apostolic Administrator Antonio Maria Buhagiar ต่อในวันที่ 13 พฤษภาคม 1895 พระสันตะปาปาลีโอที่สิบสามได้ประทานสถานะของโบสถ์เป็นมหาวิหารน้อย[1] โบสถ์หลังนี้ถูกทำลายเสียหายในวันที่ 4 มีนาคม 1942 หลังถูกระเบิดท่ามกลางสงครามโลกครั้งที่สอง คณะสงฆ์คาร์แมลได้ตัดสินใจทำลายซากที่เหลือทั้งหมดและสร้างหลังใหม่ขึ้นแทน[1] โบราณวัตถุและศิลปกรรมจำนวนหนึ่งสูญหายหรือถูกทำลายไปในเวลาเดียวกัน[6] กระนั้นก็ยังมีองค์ประกอบบางส่วนจากโบสถ์หลังเดิมที่นำมาประกอบในโบสถ์หลังใหม่[7]

 
โดมของมหาวิหาร (ขวา) และหอระฆังของอาสนวิหารนักบุญเปาโล (ซ้าย) ในทิวนครวัลเลตตา

โบสถ์หลังปัจจุบันสร้างขึ้นตามงานออกแบบของสถาปนิก Ġużè Damato เริ่มก่อสร้างในวันที่ 30 เมษายน 1958 ที่ซึ่งประกอบพิธีเสกศิลาฤกษ์โดย Prior General อาคารก่อสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 15 มิถุนายน 1981 และประกอบพิธีเสกโดย Prior Provincial Manwel Gatt[1] โดมของโบสถ์สูงกว่าหอระฆังของอาสนวิหารนักบุญเปาโล ของนิกายอังกลิคันที่อยู่ติดกัน อยู่เล็กน้อย[8] ว่ากันว่าเป็นการจงใจออกแบบเช่นนี้เพื่อแข่งกัน[7] ภายในของโบสถ์เป้นผลงานประติมากรรมโดย Joseph Damato ที่รังสรรค์ขึ้นในเวลา 19 ปี[8]

ศิลปกรรม แก้

องค์ประธาน (altarpiece) ของโบสถ์เป็นภาพเขียนแสดงพระนางมารีย์พรหมจารีย์ ทรงอุ้มพระบุตร พระเยซู ห้อมล้อมด้วยนักบุญซีโมน สต็อก และ อากาธาแห่งซิซิลี[a] ไม่ทราบแน่ขัดว่าศิลปินผู้รังสรรค์ผลงานคือใคร แต่เขื่อส่ามีอายุราวปลายศตวรรษที่ 16 เป็นอย่างน้อย บ้างเชื่อว่าเป็นผลงานของ Filippo Paladini ข้อมูลบางแหล่งอ้างว่าคณะคาร์แมลได้งานขิ้นนี้มาจากซิซิลีตั้งแต่สมัยก่อสร้างโสถ์หลังเดิม ภาพวาดได้รับการบูรณะโดย Paul Cuschieri ในปี 1856, โดย Samwel Bugeja ในปี 1978 และโดย Godwin Cutajar ในศตวรรษที่ 21[4]

หมายเหตุ แก้

  1. แหล่งข้อมูลจากศตวรรษที่ 18 และ 19 ระบุว่าในภาพเขียนยังแสดงภาพของนักบุญลูซี กระนั้นไม่ปรากฏให้เห็นนักบุญลูซีในภาพปัจจุบัน เข้าใจกันว่าเลือนไปขณะการบูรณะภาพเขียนในปี 1856[4]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Duncan, Hermann (19 September 2016). "The Church of Our Lady of Mount Carmel in Valletta". The Malta Independent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2022.
  2. Galea, Michael (15 July 2022). "The Knights of St John and the Carmelite church in Valletta". Times of Malta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2022.
  3. "Santwarju Bażilika tal-Madonna tal-Karmnu (Patrijiet Karmelitani)". Archdiocese of Malta (ภาษามอลตา). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2022.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Duncan, Hermann (21 August 2016). "The painting of Our Lady of Mount Carmel in Valletta". Times of Malta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2022.
  5. Thake, Conrad (2016). "Giuseppe Bonavia (1821–1885): a Maltese architect with the Royal Engineers". At Home in Art: Essays in Honour of Mario Buhagiar (PDF). pp. 432–443, 487–490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 May 2022.
  6. Bonello, Giovanni (23 August 2015). "Caterina Scappi and her revolutionary hospital for women who were incurable". Times of Malta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2022.
  7. 7.0 7.1 Hoe, Susanna (2015). "17 – Valletta". Malta: Women, History, Books and Places (PDF). Oxford: HOLO Books. p. 365. ISBN 9780957215351. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 April 2022.
  8. 8.0 8.1 "Building one of Malta's most iconic landmarks". Malta Audio Visual Memories. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2022.