ภาษาโรเฮียร์ริค
ภาษาโรเฮียร์ริค (อังกฤษ: Rohirric) เป็นภาษาประดิษฐ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ที่ปรากฏในนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในฐานะที่เป็นภาษาของชาวโรฮัน ภาษาโรฮันนิส (Rohanese) ก็เรียก
ภาษาโรเฮียร์ริค | |
---|---|
Rohan, Rohirian, Rohanese | |
สร้างโดย | เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน |
การจัดตั้งและการใช้ | โรฮันในโลกของมิดเดิลเอิร์ธ |
จุดประสงค์ | |
ที่มา | ภาษาอังกฤษเก่า. อาจจะสัมพันธ์กับElvish และ Mannish languages. |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | ไม่มี (mis ) |
ในฉบับนิยาย โทลคีนเลือกใช้ภาษาแองโกล-แซกซอน มาแทนที่ภาษาของชาวโรฮัน เนื่องจากมีรากภาษาใกล้เคียงกันกับภาษาเวสทรอน ซึ่งโทลคีนเลือกใช้ภาษาอังกฤษไปแล้ว มีเพียงคำศัพท์โบราณไม่กี่คำที่โทลคีนตั้งไว้โดยไม่แปลงคำแทนที่ด้วยภาษาแองโกล-แซกซอน เช่นคำว่า 'คูดดูคัน (kûd-dûkan)' ซึ่งเป็นคำเก่าแก่หมายถึง "ผู้อยู่ในโพรง" เป็นที่มาของคำว่า 'คูดุค' ชื่อที่ชาวฮอบบิทเรียกตัวเองในภาษาของพวกเขา แม้แต่คำว่า "ฮอบบิท" เอง ก็มีที่มาจากภาษาแองโกล-แซกซอนว่า 'โฮลบีตลา' หมายถึง "ผู้ขุดโพรง"
คำโรเฮียร์ริคแท้ๆ อีกคำหนึ่งที่โทลคีนตั้งไว้ คือคำว่า "โล-" (lô–/loh–) ซึ่งพ้องกับคำในภาษาแองโกล-แซกซอนว่า "เอโอ" (éo) ใช้ในความหมายเกี่ยวกับม้า คำที่เกี่ยวข้องได้แก่ "โลกรัด" หมายถึง ดินแดนแห่งม้า/ผู้ขี่ม้า และคำว่า "โลทูร์" หมายถึงผองชนชาวอาชา ดังนั้นชื่อต่างๆ ที่ขึ้นด้วยคำว่า "เอโอ-" จึงเป็นชื่อที่ขึ้นด้วยคำว่า "โล-" ในภาษาโรเฮียร์ริคนั่นเอง ดังเช่น เอโอแมร์ เอโอวีน หรือชื่ออื่นๆ ของชาวโรฮัน (ข้อน่าสังเกตประการหนึ่งคือ คำในภาษาโรเฮียร์ริคที่หมายถึง ม้า คำนี้ ก็พ้องกับคำในภาษาฮังกาเรียนที่หมายถึง ม้า ด้วย คือคำว่า "โล" (ló))
นอกจากนี้ยังมีคำที่น่าสนใจอีกคำ คือคำว่า 'ทูรัค/ทูร์' (Tûrac/Tûr) ซึ่งถูกถอดภาษาเป็น "เธอ์ด" (théod) มีความหมายถึง ผองชน,ดินแดน หรือราชันแห่งดินแดนและปวงชนก็ได้ ดังในคำว่า "โลทูร์" ที่ถอดภาษาไว้เป็น เอโอเธอ์ด (Éothéod) หมายถึงชนชาวอาชา และในพระนามของกษัตริย์เธโอเดน (Théoden) ด้วยเช่นกัน
อนึ่ง ภาษาของชาวโรห์วาเนียน ชาวเอสการ็อธ และชาวเดล (คือพลเมืองแดนเหนือในแผ่นดินโรห์วาเนียนทั้งหมด) ล้วนมีรากภาษาใกล้เคียงกับภาษาโรเฮียร์ริคทั้งสิ้น
โรเฮียร์ริค หรือ โรฮันนิส?
แก้คำว่า "โรเฮียร์ริค" ปรากฎในฐานะชื่อเรียกภาษาของชาวโรฮันครั้งแรกโดย โรเบิร์ต ฟอสเตอร์ ผู้เรียบเรียงหนังสือ The Complete Guide to Middle-earth (1971) โดยประดิษฐ์ขึ้นเลียนรูปคำว่า โรเฮียร์ริม ที่หมายถึงชาวโรฮัน และคำนี้ก็ได้รับความนิยมใช้มาโดยตลอดแม้แต่ในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาประดิษฐ์ของโทลคีน
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการค้นพบและศึกษาเอกสารมากมายอันเกี่ยวเนื่องกับปกรณัมของโทลคีน จึงได้พบว่า แต่เดิมท่านเคยใช้คำว่า “โรฮัน” เพื่อหมายถึงภาษาของชาวโรฮันเช่นกัน กระทั่งระหว่างปีค.ศ.1967-1969 จึงมีคำว่า “โรฮันนิส Rohanese” ปรากฎขึ้น โดยมีปรากฏใช้เพียงสองครั้งเท่านั้น-ในเอกสารสองชิ้น เนื้อความเหล่านี้ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารเฉพาะกลุ่มราวปีค.ศ.2001 และต่อมาตีพิมพ์ในหนังสือ The Nature of Middle-earth (2021: Carl F. Hostetter)
ภายหลัง กลุ่มผู้ศึกษาภาษาประดิษฐ์ของโทลคีนจึงเห็นว่า เป็นการควรกว่าที่จะใช้คำว่า “โรฮันนิส” เรียกชื่อภาษาของชาวโรฮัน ทว่าคำว่าโรเฮียร์ริคก็ยังสามารถใช้ได้โดยมีความหมายเดียวกัน
อ้างอิง
แก้- เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน, ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ เล่ม 5 และ 12, ว่าด้วย Etymology of Middle-earth Languages