ภาษาอัมโมไนต์
ภาษาอัมโมไนต์ เป็นภาษากลุ่มคานาอันไนต์ ของชาวอัมโมไนต์ที่กล่าวถึงในคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งเคยอาศัยอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศจอร์แดนในปัจจุบันและเป็นที่มาของชื่อ “อัมมัน” เมืองหลวงของจอร์แดน หลักฐานเกี่ยวกับภาษานี้เหลืออยู่น้อย เช่น จารึกที่มั่นสุดท้ายของชาวอัมมัน อายุ 357 ปีก่อนพุทธศักราช ขวดทองแดงอายุราว 157 – 57 ปีก่อนพุทธศักราช หลักฐานเท่าที่พบแสดงว่าภาษานี้ใกล้เคียงกับภาษาฮีบรูในคัมภีร์ไบเบิล โดยได้รับอิทธิพลจากภาษาอราเมอิก เช่น การใช้ ‘bd แทน ‘śh ในภาษาฮีบรูไบเบิลสำหรับคำว่า “ทำงาน” สิ่งที่ต่างไปอีกอย่างหนึ่งคือ การใช้รูปสตรีลึงค์ เอกพจน์ -t (เช่น ’šħt "cistern")
ภาษาอัมโมไนต์ | |
---|---|
ภูมิภาค | เคยใช้พูดทางตะวันตกเฉียงเหนือของจอร์แดน |
สูญแล้ว | พุทธศตวรรษที่ 10 |
ตระกูลภาษา | |
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | sem |
ISO 639-3 | aoq |
อ้างอิง
แก้- F. Israel in D. Cohen (ed.), Les Langues Chamito-semitiques, Paris: CNRS, 1988.
- F. Aufrecht: A Corpus of Ammonite Inscriptions. Lewiston: Mellen Press, 1989.