ภาพยนตร์อเมริกัน
ภาพยนตร์อเมริกัน (อังกฤษ: American movie หรือ อังกฤษ: cinema of the United States) หรือเรียกอีกชื่อว่า ภาพยนตร์ฮอลลีวูด (Hollywood) ถือว่าสร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ มาตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษที่ 20 ด้วยสไตล์อันโดดเด่นของภาพยนตร์อเมริกันคือ ภาพยนตร์คลาสสิกฮอลลีวูด ที่พัฒนาขึ้นระหว่างปี 1917 ถึง 1960 และภาพยนตร์ที่สร้างเอกลักษณ์ก็สร้างขึ้นในยุคนี้ ขณะที่พี่น้องตระกูลลูมิแอร์จากฝรั่งเศส ได้รับเครดิตว่าเป็นผู้ให้กำเนิดภาพยนตร์สมัยใหม่[1] ภาพยนตร์อเมริกันสามารถสร้างความโดดเด่นได้อย่างรวดเร็ว และเป็นแรงผลักดันอย่างชัดเจนให้กับอุตสาหกรรมตั้งแต่เริ่มต้น ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1920 อุตสาหกรรมภาพยนตร์ในสหรัฐสร้างรายได้ประจำปีได้สูงกว่าประเทศอื่น ๆ ได้สร้างภาพยนตร์จำนวนมาก มีภาพยนตร์ภาษาอังกฤษมากกว่า 800 เรื่อง ออกฉายในแต่ละปี[2] ขณะที่ภาพยนตร์ในอังกฤษมี 299 เรื่อง แคนาดา 206 เรื่อง และออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ก็ผลิตภาพยนตร์ในภาษาเดียวนี้ แต่ก็ไม่ถือว่าอยู่ในระบบภาพยนตร์ฮอลลีวูด ถึงกระนั้นภาพยนตร์ฮอลลีวูดก็ถือได้ว่าเป็นภาพยนตร์สหชาติ[3] ภาพยนตร์คลาสสิกฮอลลีวูด ได้สร้างขึ้นเป็นหลายภาษา และใช้ชื่ออื่น โดยมากเป็นภาษาสเปนและฝรั่งเศส
ภาพยนตร์ฮอลลีวูดถือเป็นอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[4] และถือได้ว่าเป็นที่กำเนิดภาพยนตร์หลากหลายแนว ทั้งตลก รัก โลดโผน เพลง สยองขวัญ บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ และภาพยนตร์มหากาพย์
ในปี 1878 เอดเวิร์ด มายบริดจ์ ได้สาธิตอำนาจของภาพยนตร์เคลื่อนไหว ในปี 1894 ได้มีการจัดแสดงภาพยนตร์เพื่อการค้าครั้งแรกของโลกที่นครนิวยอร์ก โดยใช้วิธีคิเนโตสโคปของทอมัส เอดิสัน สหรัฐยังผลิตภาพยนตร์ผนวกเสียงเรื่องแรกของโลก เรื่อง The Jazz Singer ในปี 1927 ได้กลายเป็นบรรทัดฐานในการพัฒนาภาพยนตร์เสียงในทศวรรษต่อมา ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 อุตสาหกรรมภาพยนตร์อเมริกันตั้งอยู่ในรัศมี 30 ไมล์บริเวณสตูดิโอของฮอลลีวูด ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ผู้กำกับ ดี. ดับเบิลยู. กริฟฟิท ถือเป็นผู้พัฒนาภาพยนตร์ ส่วนภาพยนตร์เรื่อง Citizen Kane (1941) มักได้รับคำอ้างจากนักวิจารณ์ว่าเป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุด[5]
สตูดิโอใหญ่ ๆ ในฮอลลีวูด ได้สร้างภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จที่สุด และมียอดขายตั๋วหนังมากที่สุดในโลก อย่างเช่น เรื่อง The Birth of a Nation (1915), Gone with the Wind (1939), The Ten Commandments (1956), The Sound of Music (1965), The Exorcist (1973), Jaws (1975), Star Wars (1977), E.T. the Extra-Terrestrial (1982), Jurassic Park (1993), Titanic (1997), Gladiator (2000), The Dark Knight (2008), Avatar (2009), Marvel's The Avengers (2012), Star Wars: The Force Awakens (2015), Jurassic World (2015), Black Panther (2018) และ Avengers: Endgame (2019) ยิ่งไปกว่านั้นภาพยนตร์ฮอลลีวูดหลายเรื่องทำรายได้บนตารางบ็อกซ์ออฟฟิศนอกสหรัฐมากกว่าเสียอีก ปัจจุบันสตูดิโอได้ผลิตภาพยนตร์หลายร้อยเรื่อยทุก ๆ ปี ทำให้สหรัฐเป็นหนึ่งในผู้ผลิตที่มีผลงานมากที่สุดในโลกและเป็นผู้นำด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีภาพเคลื่อนไหว
อ้างอิง
แก้- ↑ "The Lumière Brothers, Pioneers of Cinema". History Channel. สืบค้นเมื่อ January 15, 2017.
- ↑ UIS. "UIS Statistics". data.uis.unesco.org.
- ↑ Hudson, Dale. Vampires, Race, and Transnational Hollywoods. Edinburgh University Press, 2017. Website เก็บถาวร 2019-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ The earliest documented account of an exhibition of projected motion pictures in the United States was in June 1894 in Richmond, Indiana by Charles Francis Jenkins
- ↑ Village Voice: 100 Best Films of the 20th century (2001) เก็บถาวร มีนาคม 31, 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Filmsite.org; "Sight and Sound Top Ten Poll 2002". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 15, 2012.. BFI. Retrieved June 19, 2007.