พูดคุย:เลอง ชาร์ล เตฟว์แน็ง

ชื่อบทความและคำทับศัพท์ แก้

  1. จากการตรวจสอบหลักเกณฑ์การทับศัพท์ฉบับราชบัณฑิตยสภา ปี 2535 (ใช้มากในวงการวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะท่านที่ทราบ) ดูหน้า 4 และ 10 พบว่า fève (ถั่ว) เขียนเป็น แฟฟว์ (ฉบับ 2554 แฟ็ฟว์) Gustave เขียนเป็น กูสตาฟว์ จึงเขียนได้เป็น เตฟว์แนง ไม่ใช่เตเวอแนง
  2. อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ นิยมใช้ชื่อภาษาอังกฤษเป็นหลัก ไม่นิยมใช้ชื่อภาษาอื่น ๆ นอกเหน้ือจากภาษาอังกฤษ หรือบางทีอาจจะใช้ภาษาอังกฤษดัดแปลงเสียงเข้าหาภาษานั้น ๆ ฉะนั้น การจะเขียน ทฤษฎีบทของเตฟว์แน็ง แทนที่ ทฤษฎีบทของเทเวนิน ย่อมทำให้เกิดปัญหามากโดยเฉพาะการอ้างอิง และเป็นการไม่ถูกต้องอย่างร้ายแรง นักวิชาการใดที่กระทำสวนทางมักจะประสบปัญหาเมื่อนำงานให้นักวิชาการอีกท่านตรวจ ต้องปรับแก้ให้ไปตามความนิยมจนเสียเวลาและความรู้สึกกันมาหลายรายแล้ว (ทำนองเดียวกับ กฎของคูลอมบ์ และชื่อหน่วยประจุไฟฟ้า คูลอมบ์ จากชื่อของชาร์ล กูลง และชื่อหน่วยความถี่หรือรอบต่อวินาที เฮิรตซ์ จาก ไฮน์ริช แฮทซ์ ชื่อหน่วยกำลัง (อัตราการทำงานต่อเวลา) วัตต์ จากชื่อของเจมส์ วอตต์)
  3. คีร์ชฮ็อฟฟ์ นั้น เป็นไปตามหลักเกณฑ์ แต่พบว่ามีคำอ่านไม่ลงรอยกันในหลายแหล่งอ้างอิง พจนานุกรมศัพท์พลังงานของราชบัณฑิต กำหนดเป็น (กฎของ)เคิร์ชฮอฟฟ์ แหล่งอ้างอิงวิชาการส่วนมากในไทยใช้ เคอร์ชอฟฟ์ ส่วนในสหรัฐ ใช้ เคียชฮอฟฟ์ ฉะนั้นการใช้ชื่อตามที่รู้อยู่แล้วย่อมเป็นการเหมาะสมกว่า แล้วหมายเหตุเป็นคำอ่านถูกต้องไว้
  4. เลอง นั้น เป็นไปตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์และพจนานุกรมบางฉบับ ขออภัยที่เขียนเป็นเลยง แต่ในทางปฏิบัติพบว่า นิยมอ่านเป็น เลยง มากกว่า (เช่นใน forvo.com และเว็บไซต์ประมวลเสียงอ่านอื่น ๆ)

จึงขอลงหมายเหตุนีั้ไว้เพื่อประกอบการแก้ไข --Char au (คุย) 23:19, 23 พฤษภาคม 2561 (ICT)--Char au (คุย) 23:19, 23 พฤษภาคม 2561 (ICT)

  • ในหลักเกณฑ์ฉบับ พ.ศ. 2535 การทับศัพท์ fève และ Gustave เป็น "แฟฟว์" และ "กูสตาฟว์" นั้นเป็นไปตามข้อ 4. (คำที่มีพยัญชนะท้ายคำตามด้วยสระ e ให้ทับศัพท์โดยละเสียง e แต่คงพยัญชนะหน้า e ไว้ และใส่เครื่องหมายทัณฑฆาต เช่น lamp = ลองป์) พจนานุกรมส่วนใหญ่ถอดเสียงสองคำนี้เป็นสัทอักษรว่า /fɛv/ และ /ɡystav/ เพราะเสียง /ə/ (ซึ่งแทนด้วยรูปสระ e) ที่อยู่ท้ายคำมักถูกละออกไป ส่วน Thévenin ออกเสียง /tev(ə)nɛ̃/ โดยที่เสียง /ə/ (ซึ่งแทนด้วยรูปสระ e) อยู่ในตำแหน่งกลางคำ พจนานุกรมส่วนใหญ่จะถอดเสียงโดยไม่ตัด ə ออก (แต่ ə กลางคำอาจอยู่ในวงเล็บหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับคำ) หลักเกณฑ์ฉบับ พ.ศ. 2535 (ซึ่งไม่ได้เน้นการออกเสียงเป็นหลักอย่างสมบูรณ์) ไม่ได้กล่าวครอบคลุมถึงกรณีนี้ และโครงสร้างของภาษาฝรั่งเศสโดยปกติไม่มีคำที่ลงท้ายด้วย -éve อยู่แล้ว ดังนั้นคำว่า Thévenin จึงเป็นคนละกรณีกับ fève และ Gustave และทับศัพท์โดยแยกพยางค์ได้เป็น เตเวอแนง อย่างคำว่า demi = เดอมี หรือชื่อเกาะ Miquelon ซึ่งราชบัณฑิตยสถานทับศัพท์ตามหลักเกณฑ์ฉบับนี้ว่า มีเกอลง ไม่ได้ทับศัพท์ว่า "มีกลง" การทับศัพท์เสียง /ə/ ที่อยู่กลางคำและอยู่ในวงเล็บ เพิ่งมีระบุไว้ในหลักเกณฑ์ฉบับ พ.ศ. 2553 ว่า เสียง ə ในวงเล็บยังคงออกเสียงแต่ออกเสียงเพียงเล็กน้อย ในกรณีที่อยู่ในพยางค์แรกให้ทับศัพท์เป็น เ–อ ในกรณีที่อยู่ในพยางค์กลางคำหรือท้ายคำไม่ต้องทับศัพท์ ตามหลักเกณฑ์ฉบับนี้ เสียง /tev(ə)nɛ̃/ จึงทับศัพท์ได้ว่า เตฟว์แน็ง โดย /v/ ซึ่งตามโครงสร้างเดิมเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์กลาง กลายเป็นพยัญชนะท้ายของพยางค์แรก
  • "คูลอมบ์", "เฮิรตซ์", "วัตต์" ต่างกับ "กฎของคูลอมบ์" และ "กฎของ Kirchhoff" เนื่องจากกลุ่มแรกเป็นคำที่มีความหมายใหม่เป็นของตัวเอง แต่กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มคำที่มีคำว่า "ของ" อยู่ด้วย ชื่อในกลุ่มหลังจึงควรทับศัพท์ตามชื่อบุคคล (ในภาษาต้นทาง) เพราะสื่อถึงสิ่งเดียวกัน แต่ในกรณีนี้ถ้าต้องการจะสะกดตามที่นิยมในไทยก็จะไม่คัดค้าน
  • León ออกเสียงว่า "เลอง" /leɔ̃/ ไม่มีเสียง ย /j/ แทรกเป็น "เลยง" /lejɔ̃/ ได้ลองฟังใน Forvo แล้ว ไม่พบว่ามีคลิปใดที่ออกเสียงแทรก /j/ อย่างชัดเจน และลองค้นในพจนานุกรมเท่าที่หาได้แล้วก็ไม่พบว่ามีฉบับใดให้ออกเสียงเป็น /lejɔ̃/ เช่นกัน ถ้าจะออกเสียงให้ใกล้เคียงกับ /lejɔ̃/ ตามอักขรวิธีภาษาฝรั่งเศสควรจะสะกดชื่อนี้เป็น Layon มากกว่า
  • ที่คุณใส่ไว้ว่า พิจารณาโดยแยบคายแล้วควรเป็น อำเภอ และจังหวัดตามลำดับ ไม่ใช่จังหวัดและแคว้น อยากทราบว่าเป็นเพราะอะไรครับ --Potapt (คุย) 06:09, 24 พฤษภาคม 2561 (ICT)
กลับไปที่หน้า "เลอง ชาร์ล เตฟว์แน็ง"