พูดคุย:สังเวชนียสถาน

ธงพระธรรมจักร
ธงพระพุทธศาสนาสากล
สังเวชนียสถาน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิพระพุทธศาสนา และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมเรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ถ้าต้องการมีส่วนร่วมโครงการ สามารถเข้าร่วมได้ที่หน้าโครงการ
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ความหมายของคำว่าสังเวช แก้

ผมคิดว่าคำว่าสังเวชนี้ไม่ควรนิยามขึ้นมาใหม่ การใช้คำว่าสังเวช+นียสถาน หากจะเป็นด้วยจุดประสงค์ของพระพุทธเจ้าเองไม่น่าจะใช่เพราะต้องการให้พบเห็นหรือสัมผัสแล้วเกิดความรู้สึกในด้านสุขใจ แต่น่าจะเพราะให้เกิดความ สังเวช แล้วเกิดความเข้าใจธรรมะในความหมายของคำว่าธรรมดามากกว่า --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 124.122.229.215 (พูดคุย | ตรวจ) 17:41, 10 กรกฎาคม 2553

คำถามค่อนข้างสับสน ผมขอตอบตามที่เข้าใจคำถามแล้วกันนะครับ

คำว่า สังเวช ตรง ๆ ตัวนิครับ ในบทความมิได้นิยามใหม่แต่อย่างใด ตามความหมายที่เห็นในบทความ คำนี้ "สํเวชนีย" มีในพระไตรปิฎกครับ พระไตรปิฎกภาษาไทยแปลคำนี้ว่า สังเวชนียสถาน ๔ ท่านเรียก สังเวชนียสถาน หมายถึง สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน ว่า สังเวชนียสถาน มานานแล้วครับ ไม่ได้นิยามใหม่แต่อย่างใด

ส่วนข้อที่ว่า สังเวชนียสถาน ไม่ใช่พระพุทธประสงค์ ผมคิดว่าไม่ถูกต้องครับ เพราะคำนี้ สํเวช มีตรงตัวในพระไตรปิฎกภาษาบาลี เป็นพระพุทธพจน์โดยตรงในมหาปรินิพพานสูตร ครับ

ขอแยกศัพท์นะครับ จากคำนี้ "สํเวชนียานิ านานิ" แยกเป็น สงฺเวช+อีย ปัจจัย ในฐานตัทธิต+ ฐาน (พระไตรปิฎกไทยใช้ สถาน แปลคำว่า ฐาน) สังเวชนียานิ เป็นวิเศษของ ฐานานิ แม้ไม่เป็นศัพท์เดียวกัน การที่พระคณาจารย์ท่านแปลจากบาลีเป็นไทยว่า สังเวชนียสถาน ตามพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกนั้น จึงถูกต้องแล้วครับ

ส่วนข้อที่ท่านเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าทรงใช้คำว่า สังเวช เพื่อให้ชาวพุทธเราได้ไปพิจารณาจนเกิดความเข้าใจในสภาวะไตรลักษณ์ธรรมดาของธรรมชาติ ที่แม้พระพุทธเจ้าผู้เป็นบรมครูของโลก ยังไม่พ้นฐานะนี้ คุณเข้าใจถูกแล้วครับ

ขออนุญาต ยกพระพุทธพจน์บาลีส่วนนี้มากำกับเป็นเครื่องศึกษานะครับ

ปุพฺเพ ภนฺเต ทิสาสุ วสฺสํ วุตฺถา ภิกฺขู อาคจฺฉนฺติ ตถาคตํ ทสฺสนาย เต มยํ ลภาม มโนภาวนีเย ภิกฺขู ทสฺสนาย ลภาม ปยิรูปาสนาย ภควโต ปน มยํ ภนฺเต อจฺจเยน น ลภิสฺสาม มโนภาวนีเย ภิกฺขู ทสฺสนาย น ลภิสฺสาม ปยิรูปาสนายาติ ฯ จตฺตารีมานิ อานนฺท สทฺธสฺส กุลปุตฺตสฺส ทสฺสนียานิ สํเวชนียานิ านานิ ฯ กตมานิ จตฺตาริ ฯ อิธ ตถาคโต ชาโตติ อานนฺท สทฺธสฺส กุลปุตฺตสฺส ทสฺสนียํ สํเวชนียํ านํ อิธ ตถาคโต อนุตฺตรํ สมฺมาสมฺโพธึ อภิสมฺพุทฺโธติ อานนฺท สทฺธสฺส กุลปุตฺตสฺส ทสฺสนียํ สํเวชนียํ านํ อิธ ตถา คเตน อนุตฺตรํ ธมฺมจกฺกํ ปวตฺติตนฺติ อานนฺท สทฺธสฺส กุลปุตฺตสฺส ทสฺสนี ยํ สํเวชนียํ านํ อิธ ตถา คโต อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพุโตติ อานนฺท สทฺธสฺส กุลปุตฺตสฺส ทสฺสนียํ สํเวชนียํ านํ อิมานิ โข อานนฺท จตฺตาริ สทฺธสฺส กุลปุตฺตสฺส ทสฺสนียานิ สํเวชนียานิ านานิ อา คมิสฺสนฺติ โข อานนฺท สทฺธา ภิกฺขู ภิกฺขุนิโย อุปาสกา อุปาสิกาโย อิธ ตถาคโต ชาโตติปิ อิธ ตถาคโต อนุตฺตรํ สมฺมาสมฺโพธึ อภิสมฺพุทฺโธติปิ อิธ ตถาคเตน อนุตฺตรํ ธมฺมจกฺกํ ปวตฺติตนฺติปิ อิธ ตถาคโต อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพุโตติปิ เย หิ เกจิ อานนฺท เจติยจาริกํ อาหิณฺฑนฺตา ปสนฺนจิตฺตา กาลํ กริสฺสนฺติ สพฺเพ เต กายสฺส เภทา ปรมฺมรณา สุคตึ สคฺคํ โลกํ อุปปชฺชิสฺสนฺตีติ ฯ

จาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]

เจริญในธรรมครับ

--  ผู้ใช้Tmd | พูดคุย 23:25, 10 กรกฎาคม 2553 (ICT)


ขออภัยครับ หายงงคำถามแล้ว/ ในบทความกล่าวถึงว่าสังเวช นิยามให้หมายถึงว่า เป็นสถานที่ที่ทำให้เกิดความรู้สึกระลึกถึงพระพุทธเจ้า เกิดความแช่มชื่น เบิกบาน เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำความดี เมื่อได้ไปพบเห็น ผมก็ว่าถูกนะครับ ส่วนใหญ่คนที่ไปจะ ไปแล้วปลง ปลงแล้วปลด ปลดแล้วเปลี่ยน เวียนมามีแฮง ทำดีขึ้นนะครับ เขาไปได้กำลังใจกัน ผมว่าเขียนถูกแล้วครับ เพียงความหมายในพุทธพจน์ ท่านกล่าวเพียงผลให้เกิดสลดสังเวช ปลดปลง ส่วนเดียว ในบทความนี้กล่าวถึงผลให้เกิดความเบิกบาน (ซึ่งจะมีหลังปลง ๆ) ด้วย ก็ไม่น่าผิดอะไรครับ --  ผู้ใช้Tmd | พูดคุย 23:55, 10 กรกฎาคม 2553 (ICT)

พจนานุกรมฯ 2542 แก้

ขออนุญาตเพิ่มเติม จากพจนานุกรมฯ

สังเวชนียสถาน

[สังเวชะนียะสะถาน] น. สถานที่ทางพระพุทธศาสนาอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลดสังเวช มี ๔ แห่ง คือ ๑. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประสูติ ได้แก่ สวนลุมพินี ปัจจุบันได้แก่ รุมมินเด ในประเทศเนปาล ๒. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ที่ควงพระศรีมหาโพธิ ปัจจุบันได้แก่ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ๓. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันได้แก่ สารนาถ ประเทศอินเดีย ๔. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ป่าสาลวัน เมืองกุสินารา ปัจจุบันได้แก่ เมืองกาเซีย ประเทศอินเดีย.

--ธวัชชัย 23:40, 10 กรกฎาคม 2553 (ICT)

ถ้าได้ข้อสรุปอย่างไรก็คงต้องแก้ไขบทความสังเวชด้วยนะครับ --taweethaも 18:11, 11 กรกฎาคม 2553 (ICT)

กลับไปที่หน้า "สังเวชนียสถาน"