พื้นที่เก็บกากนิวเคลียร์ลึกใต้ดิน

พื้นที่เก็บกากนิวเคลียร์ลึกใต้ดิน(อังกฤษ: Deep geological repository) เป็นที่เก็บกากนิวเคลียร์ที่ขุดลึกภายในสภาพแวดล้อมทางธรณีวิทยาที่มั่นคง (โดยปกติจะต่ำกว่า 300 เมตรหรือ 1,000 ฟุต) โดยเป็นการรวมกันของรูปแบบของของเสีย, บรรจุภัณฑ์ที่เสียแล้ว, ผนึกทางวิศวกรรมที่เสียแล้ว, และงานด้านธรณีวิทยาที่เหมาะสมในการจัดให้มีการแยกต่างหากระดับสูงและการเก็บกักในระยะยาวโดยไม่ต้องบำรุงรักษาในอนาคต

ช่างเทคนิคกำลังช่วยกันจัดวางของเสีย transuranic ที่โรงงานนำร่องเพื่อแยกของเสียใกล้ Carlsbad, รัฐนิวเมกซิโก

หลักการและพื้นหลัง แก้

ดูเพิ่มเติม: การจัดการกากกัมมันตรังสีระดับสูง

กากกัมมันตรังสีอายุยาวส่วนมาก, รวมทั้งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว, ต้อง[ต้องการอ้างอิง]ได้รับการเก็บกักและแยกออกต่างหากจากมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานานมาก. การกำจัดของเสียเหล่านี้ในสิ่งอำนวยความสะดวกทางวิศวกรรม, หรือพื้นที่เก็บ, ที่อยู่ลึกลงไปใต้ดินในการก่อตัวทางธรณีวิทยาที่เหมาะสมถูกมองว่าเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่อ้างอิง[1]. คณะกรรมการนานาชาติว่าด้วยวัสดุฟิชชั่นได้กล่าวว่า:

เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วและการนำกลับไปเข้ากระบวนการใหม่ระดับสูงและของเสียพลูโตเนียมต้องมีที่จัดเก็บที่มีการออกแบบที่ดีสำหรับรอบระยะเวลาตั้งแต่หลายหมื่นปีจนถึงหนึ่งล้านปี, เพื่อลดการปล่อยกัมมันตภาพรังสีที่ถูกเก็บกักไว้ออกสู่สภาพแวดล้อม. การป้องกันยังต้องมีเพื่อให้แน่ใจว่าทั้งพลูโตเนียมหรือยูเรเนียมสมรรถนะสูงจะไม่หันเหความสนใจไปกับการใช้เป็นอาวุธ. มีข้อตกลงทั่วไปว่าการจัดวางเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วในพื้นที่เก็บที่อยู่ใต้พื้นผิวโลกหลายร้อยเมตรจะปลอดภัยกว่าที่จัดเก็บที่ไม่แน่นอนของเชื้อเพลิงใช้แล้วบนพื้นผิว[2].

องค์ประกอบทั่วไปของพื้นที่เก็บรวมถึงกากกัมมันตรังสี, ภาชนะที่เก็บของเสีย, อุปสรรคด้านวิศวกรรมอื่นๆหรือที่ปิดผนึกรอบภาชนะ, อุโมงค์ที่อยู่อาศัยของภาชนะบรรจุ, และการชดเชยทางธรณีวิทยาของพื้นที่โดยรอบ[3].

ความสามารถของสิ่งกีดขวางทางธรณีวิทยาธรรมชาติเพื่อแยกกากกัมมันตรังสีถูกแสดงให้เห็นโดยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิชชั่นธรรมชาติที่ Oklo, ประเทศกาบอง. ในช่วงระยะเวลาการเกิดปฏิกิริยาที่ยาวนานของพวกมัน, ประมาณ 5.4 ตันของผลิตภัณฑ์ฟิชชันและ 1.5 ตันของพลูโตเนียมร่วมกับองค์ประกอบ transuranic อื่นๆ ได้ถูกสร้างขึ้นในเนื้อแร่ยูเรเนียม. พลูโตเนียมและสาร transuranics อื่นๆนี้ยังคงไม่เคลื่อนที่จนถึงวันปัจจุบัน, หนึ่งช่วงเวลาใช้เกือบ 2 พันล้านปี[4]. สิ่งนี้เป็นที่น่าทึ่งมากในมุมมองของความจริงที่ว่าน้ำใต้ดินพร้อมที่จะเข้าไปในแหล่งสะสมและพวกมันก็ไม่ได้อยู่ในรูปเฉื่อยทางเคมี, เช่นแก้ว.

แม้จะมีข้อตกลงที่ยาวนานในหมู่ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากว่าการกำจัดทางธรณีวิทยามีความปลอดภัย, เป็นไปได้ทางเทคโนโลยีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, ส่วนใหญ่ของประชาชนทั่วไปในหลายประเทศก็ยังคงมองในแง่ร้าย[5]. หนึ่งในความท้าทายที่เผชิญหน้าผู้สนับสนุนของความพยายามเหล่านี้คือการแสดงให้เห็นด้วยความมั่นใจว่าพื้นที่เก็บจะเก็บกักของเสียได้เป็นเวลานานเสียจนกระทั่งว่าการปลดปล่อยสารใดๆที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญหรือความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม.

การนำกลับไปเข้ากระบวนการนิวเคลียร์ใหม่ไม่ได้ขจัดความจำเป็นสำหรับพื้นที่เก็บ, แต่ช่วยลดปริมาณ, ลดอันตรายจากรังสีในระยะยาว, และความสามารถในการกระจายความร้อนในระยะยาวเป็นสิ่งจำเป็น. การนำกลับไปเข้ากระบวนการใหม่ไม่ได้ขจัดความท้าทายทางการเมืองและชุมชนในการหาสถานที่ตั้งพื้นที่เก็บ[2].

การวิจัย แก้

การกำจัดโดยการฝังลึกได้รับการศึกษามาเป็นเวลาหลายทศวรรษ, รวมทั้งการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ, การเจาะสำรวจ, และการก่อสร้างและการดำเนินงานของห้องปฏิบัติการวิจัยในชั้นใต้ดินที่การทดสอบขนาดใหญ่ในแหล่งกำเนิดอยู่ระหว่างดำเนินการ[6]. สิ่งอำนวยความสะดวกหลักเพื่อการทดสอบใต้ดินได้แสดงอยู่ด้านล่างดังนี้:

ประเทศ ชื่อสถานที่ ชื่อเมือง สภาพทางธรณีวิทยา ความลึก สถานะ
เบลเยี่ยม HADES Underground Research Facility Mol ดินเหนียว 223 m เริ่มดำเนินการปี 1982[6]
แคนาดา AECL Underground Research Laboratory Pinawa แกรนิต 420 m 1990-2006[6]
ฟินแลนด์ Onkalo spent nuclear fuel repository Olkiluoto แกรนิต 400 m อยู่ระหว่างการก่อสร้าง[7]
ฝรั่งเศส Meuse/Haute Marne Underground Research Laboratory Bure, Meuse หินดินดาน 500 m เริ่มดำเนินการปี 1999[8]
ญี่ปุ่น Horonobe Underground Research Lab Horonobe, Hokkaidō หินตะกอน 500 m อยู่ระหว่างการก่อสร้าง[9]
ญี่ปุ่น Mizunami Underground Research Lab Mizunami แกรนิต 1000 m อยู่ระหว่างการก่อสร้าง[9] [10]
เกาหลี Korea Underground Research Tunnel แกรนิต 80 m in operation 2006[11]
สวีเดน Äspö Hard Rock Laboratory Oskarshamn Nuclear Power Plant แกรนิต 450 m เริ่มดำเนินการปี 1995[6]
สวิตเซอร์แลนด์ Grimsel Test Site Grimsel Pass แกรนิต 450 m เริ่มดำเนินการปี 1984[6]
สวิตเซอร์แลนด์ Mont Terri Rock Laboratory Mont Terri หินเคลย์ 300 m เริ่มดำเนินการปี 1996[12]
สหรัฐ Yucca Mountain nuclear waste repository Nevada หินเถ้าภูเขาไฟ, หิน ignimbrite 50 m 1997-2008[6]

สถานที่ตั้งของพื้นที่จัดเก็บ แก้

ประเทศ ชื่อสถานที่ ชื่อเมือง ประเภทของเสีย สภาพทางธรณีวิทยา ความลึก สถานะ
อาเจนตินา Sierra del Medio Gastre แกรนิต อยู่ระหว่างการพิจารณา[13]
เบลเยี่ยม ของเสียระดับสูง ดินเหนียว ~225 m อยู่ระหว่างการพิจารณา
แคนาดา Ontario Power Generation's Deep Geologic Repository (OPG DGR) Ontario 200,000 m3 ของเสียระดับต่ำ & ระดับกลาง หินปูนเนื้อดินเหนียว 680 m ยื่นขอใบอนุญาตปี 2011[14]
แคนาดา เชื้อเพลิงใช้แล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณา
จีน อยู่ระหว่างการพิจารณา
ฟินแลนด์ VLJ Olkiluoto Nuclear Power Plant ของเสียระดับต่ำ & ระดับกลาง tonalite 60–100 m เริ่มดำเนินการปี 1992[15]
ฟินแลนด์ Loviisa ของเสียระดับต่ำ & ระดับกลาง แกรนิต 120 m เริ่มดำเนินการปี 1998[15]
ฟินแลนด์ Onkalo spent nuclear fuel repository Olkiluoto Nuclear Power Plant เชื้อเพลิงใช้แล้ว แกรนิต 400 m อยู่ระหว่างการก่อสร้าง[7]
ฝรั่งเศส ของเสียระดับสูง หินดินดาน ~500 m กำลังหาที่ตั้ง[8]
เยอรมัน Schacht Asse II Lower Saxony โดมหินเกลือ 750 m ปิดในปี 1995
เยอรมัน Morsleben Saxony-Anhalt 40,000 m3 L&ILW โดมหินเกลือ 630 m ปิดในปี 1998
เยอรมัน Gorleben Lower Saxony ของเสียระดับสูง โดมหินเกลือ กำลังนำเสนอ, หยุดไว้ก่อน
เยอรมัน Schacht Konrad Lower Saxony 303,000 m3 ระดับต่ำ & กลาง หินตะกอน 800 m อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
ญี่ปุ่น ของเสียระดับสูง อยู่ระหว่างการพิจารณา[16]
เกาหลี Gyeongju ระดับต่ำและกลาง 80 m อยู่ระหว่างการก่อสร้าง[17]
สวีเดน SFR Forsmark 63,000 m3 ระดับต่ำและกลาง แกรนิต 50 m เริ่มดำเนินการปี 1988[18]
สวีเดน Forsmark เชื่อเพลิงใช้แล้ว แกรนิต 450 m กำลังขอใบอนุญาต 2011[19]
สวิตเซอร์แลนด์ ของเสียระดับสูง ดินเหนียว กำลังหาสถานที่
สหราชอาณาจักร ของเสียระดับสูง อยู่ระหว่างการพิจารณา[20]
สหรัฐ Waste Isolation Pilot Plant New Mexico ของเสีย transuranic salt bed 655 m เริ่มดำเนินการปี 1999
สหรัฐ Yucca Mountain nuclear waste repository Nevada 70,000 ton ระดับสูง ignimbrite 200-300 m นำเสนอ, ยกเลิกปี 2010

สถานการณ์ปัจจุบันของบางพื้นที่เก็บ แก้

 
แผนผังของพื้นที่เก็บทางธรณีวิทยาที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Olkiluoto, ฟินแลนด์

หลุม Schacht Asse II เป็นอดีตเหมืองเกลือในเทือกเขาที่ Asse ใน Lower Saxony, เยอรมนี. มันถูกกล่าวหาว่าใช้เป็นเหมืองการวิจัยตั้งแต่ปี 1965. ระหว่างปี 1967 ถึง 1978 กากกัมมันตรังสีถูกนำมาวางเพื่อการจัดเก็บ. การวิจัยชี้ให้เห็นว่าน้ำเกลือที่ปนเปื้อนด้วยสารกัมมันตรังสีซีเซียม 137, พลูโตเนียมและส๖รอนเตียม ได้รั่วไหลออกจากเหมืองตั้งแต่ปี 1988 แต่ไม่ได้รายงานจนถึงมิถุนายน 2008[21].

พื้นที่เก็บสำหรับกากกัมมันตรังสี Morsleben เป็นพื้นที่เก็บทางธรณีวิทยาลึกสำหรับกากกัมมันตรังสีในเหมืองหินเกลือ Bartensleben ใน Morsleben ใน Lower Saxony/เยอรมนีที่ถูกใช้ระหว่างปี 1972-1998. ตั้งแต่ปี 2003, เกลือคอนกรีต 480,000 m3 (630,000 ลูกบาศ์กหลา) ถูกสูบลงไปในหลุมเพื่อให้ระดับบนมีเสถียรภาพชั่วคราว. โดมเกลืออยู่ในสภาพพร้อมล่มสลาย

โรงงานต้นแบบการแยกของเสีย (WIPP) ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เข้ามาให้บริการในปี 1999 โดยการใส่หลายลูกบาศก์เมตรแรกของกากกัมมันตรังสี transuranic[22] ในชั้นลึกของเกลือใกล้เมืองคาร์ลส, รัฐนิวเม็กซิโก.

มีข้อเสนอสำหรับพื้นที่เก็บของเสียระดับสูงระหว่างประเทศในออสเตรเลีย[23] และรัสเซีย[24]. อย่างไรก็ตาม, เนื่องจากมีการนำเสนอสำหรับพื้นที่เก็บระดับโลกในประเทศออสเตรเลีย (ซึ่งไม่เคยมีการผลิตพลังงานนิวเคลียร์มาก่อนและมีเครื่องปฏิกรณ์วิจัยหนึ่งเครื่อง), ได้มีการคัดค้านทางการเมืองภายในประเทศอย่างมากและยั่งยืน, การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าวในประเทศออสเตรเลียจึงไม่น่าจะเป็นไปได้.

ในปี 1978 กระทรวงพลังงานสหรัฐเริ่มศึกษา Yucca Mountain, ภายในขอบเขตความปลอดภัยของ'สถานีทดสอบเนวาดา'ใน Nye County รัฐเนวาดา, เพื่อพิจารณาว่ามันจะมีความเหมาะสมสำหรับทำเป็นพื้นที่เก็บทางธรณีวิทยาระยะยาวสำหรับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วและกากกัมมันตรังสีระดับสูงหรือไม่. โครงการนี้ได้เผชิญหน้ากับการต่อต้านที่สำคัญและประสบปัญหาความล่าช้าเนื่องจากการดำเนินคดีโดย'หน่วยงานสำหรับโครงการนิวเคลียร์ของรัฐเนวาดา' (สำนักงานโครงการกากนิวเคลียร์) และอื่นๆ[25]. รัฐบาลของโอบามาปฏิเสธที่จะให้ใช้สถานที่ในข้อเสนองบประมาณของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาปี 2009 ซึ่งตัดทิ้งการอุดหนุนทั้งหมดยกเว้นที่จำเป็นในการตอบคำถามจาก'คณะกรรมการกำกับดูแลนิวเคลียร์', "ในขณะที่ผู้บริหารกำลังปรับปรุงกลยุทธ์ใหม่ที่มีต่อการกำจัดกากนิวเคลียร์"[26]. ในวันที่ 5 มีนาคม 2009, รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของสหรัฐ นายสตีเว่น จือ ได้กล่าวต่อวุฒิสภาว่าสถานที่ตั้งที่ Yucca Mountain ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นตัวเลือกสำหรับการจัดเก็บขยะของเครื่องปฏิกรณ์อีกต่อไป[27].

 
แคปซูลกากนิวเคลียร์ KBS-3 ของสวีเดน

ในเยอรมนี มีการอภิปรายทางการเมืองเกี่ยวกับการค้นหาพื้นที่เก็บขั้นสุดท้ายสำหรับกากกัมมันตรังสี, พร้อมกับการประท้วง, โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่บ้าน Gorleben ในพื้นที่ Wendland ซึ่งถูกมองว่าเหมาะสำหรับเป็นพื้นที่เก็บขั้นสุดท้ายจนถึงปี 1990 เนื่องจากตำแหน่งของมันอยู่ในที่ห่างไกล, อยู่ในมุมเศรษฐกิจที่ตกต่ำของเยอรมนีตะวันตก, ติดกับชายแดนกับอดีตเยอรมนีตะวันออกที่ถูกปิด. หลังจากรวมประเทศ, หมู่บ้านตอนนี้อยู่ใกล้กับศูนย์กลางของประเทศ, และขณะนี้ถูกใช้สำหรับการจัดเก็บชั่วคราวของกากนิวเคลียร์.

กระบวนการของการเลือกพื้นที่เก็บลึกสุดท้ายที่เหมาะสมขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการในหลายประเทศที่คาดว่าพื้นที่แรกที่จะทดสอบระบบได้คือหลังจากปี 2010[28]. สถานที่ในเมือง Onkalo ประเทศฟินแลนด์อยู่ไกลสุดถนนที่จะถูกใช้ดำเนินงาน, การฝังของเสียถูกกำหนดไว้ว่าจะเริ่มต้นในปี 2020 (การอนุมัติขั้นสุดท้ายยังคงหายไป). สวีเดนยังก้าวหน้าเป็นอย่างดีในการวางแผนสำหรับการกำจัดเชื้อเพลิงใช้แล้วโดยตรง, เพราะรัฐสภาได้ตัดสินใจแล้วว่าแผนการนี้มีความปลอดภัยที่ยอมรับได้โดยใช้เทคโนโลยี KBS-3[ต้องการอ้างอิง].

สหราชอาณาจักรได้เดินไปตามเส้นทางปัจจุบันเพื่อการกำจัดทางธรณีวิทยาตั้งแต่โครงการ Defra White Paper ปี 2008, ที่มีชื่อว่าการจัดการด้านความปลอดภัยของกากกัมมันตรังสี (อังกฤษ: Managing Radioactive Waste Safely (MRWS)). แตกต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ, สหราชอาณาจักรได้วางหลักการของความสมัครใจอยู่เหนือความเหมาะสมทางธรณีวิทยา. ในการแสวงหาอาสาสมัครจากสภาท้องถิ่นสำหรับระยะที่ 1 ของกระบวนการ MRWS, มีเพียงเมือง Allerdale และเมืองโคปแลนด์ที่อยู่ภายในมณฑลคัมเบรีเท่านั้นที่ยอมเป็นอาสาสมัครโดยคณะกรรมการของพวกเขา. พื้นที่เดียวกันนี้ได้รับการตรวจสอบก่อนหน้านี้และถูกปฏิเสธไปในปี 1990. ขั้นที่ 2 ซึ่งเป็นขั้นตอนการคัดกรองความไม่เหมาะสมเบื้องต้นได้ดำเนินการโดย'การสำรวจทางธรณีวิทยาของอังกฤษ' (BGS) ในปี 2010. การสำรวจนี้ได้ตัดออกไปประมาณ 25% ของพื้นที่เนื่องจากการมีอยู่ของแร่ธาตุบางอย่างและชั้นหินอุ้มน้ำ. ยังมีการโต้เถียงบางอย่างเกี่ยวกับขั้นตอนนี้อันเนื่องมาจากข้อกล่าวหาที่ว่ากฏเกณฑ์การพิจารณาได้มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างชุดร่างและชุดสุดท้ายของรายงานนี้, ทำให้พื้นที่ Solway Plain ถูกนำกลับมาพิจารณาใหม่, อย่างไรก็ตาม กฏเกณฑ์ได้ถูกตีพิมพ์อย่างชัดเจนใน 2008 Defra White Paper โดยมีชื่อว่า MRWS, 2 ปีก่อนที่จะถูกนำมาใช้

ในเดือนมิถุนายน 2012, นักธรณีวิทยาอิสระ, ที่ให้คำแนะนำกลุ่มหุ้นส่วน MRWS ในท้องถิ่น เวสต์คัมเบรี, ได้ให้ชื่อกลุ่มภูเขาหินสามแห่งว่าอาจจะเหมาะสำหรับเป็นที่กำจัดทางธรณีวิทยาของกากนิวเคลียร์. กลุ่มเหล่านี้คือ Mercia Mudstone Group rocks ที่อยู่ระหว่างกลุ่ม Silloth Abbeytown กับกลุ่ม Westnewton ในคัมเบรีเหนือ, และกลุ่ม Ennerdale และกลุ่ม Eskdale granites ไปทางใต้ซึ่งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติ Lake District

การตัดสินใจว่าจะดำเนินการในขั้นตอนต่อไปหรือไม่จะถึงกำหนดในเดือนมกราคม 2013, และจะต้องดำเนินการโดยที่ปรึกษา 7 คนเท่านั้น, ตั้งขึ้นเป็น'ผู้บริหารระดับสูงของ Allerdale และอีกเจ็ดคนจาก Copeland'. คณะมนตรีที่มีสมาชิกสิบคนของ'สภามณฑลคัมเบรี'มีสิทธ์ยับยั้งซึ่งสามารถป้องกันการต่อเนื่องในการค้นหา.

ในเดือนมกราคม 2013, สภามณฑลคัมเบรีได้ใช้อำนาจยับยั้งและปฏิเสธข้อเสนอของรัฐบาลกลางสหราชอาณาจักรที่จะเริ่มต้นการทำงานใน'พื้นที่เก็บกากนิวเคลียร์เครื่องปฏิกรณ์การผลิต'ใกล้อุทยานแห่งชาติ Lake District. "สำหรับชุมชนเจ้าของบ้านใดๆ, จะมีแพคเกจผลประโยชน์ชุมชนที่สำคัญและมีมูลค่าหลายร้อยล้านปอนด์" เอ็ด ดาวี่ จากกระทรวงพลังงานกล่าว แต่ไม่น้อยกว่านั้น, หน่วยงานการบริหารและการปกครองท้องถิ่นที่ได้รับการเลือกตั้งได้โหวต 7-3 คัดค้านการวิจัยต่อเนื่อง, หลังจากการรับฟังหลักฐานจากนักธรณีวิทยาอิสระว่า"ชั้นร้าวของมณฑลเป็นไปไม่ได้ที่จะมอบความไว้วางใจให้กับวัสดุที่เป็นอันตรายและความเสี่ยงที่ยาวนานนับพันปีเช่นนั้น"[29][30].

ดูเพิ่มเติม แก้

อ้างอิง แก้

  1. NEA - Moving forward with geological disposal
  2. 2.0 2.1 Harold Feiveson; Zia Mian; M.V. Ramana; Frank von Hippel (27 June 2011). "Managing nuclear spent fuel: Policy lessons from a 10-country study". Bulletin of the Atomic Scientists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-26. สืบค้นเมื่อ 2014-07-17. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |author-separator= ถูกละเว้น (help)
  3. "US DOE - Radioactive waste: an international concern". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-24. สืบค้นเมื่อ 2014-07-17.
  4. R. Naudet. 1976. The Oklos nuclear reactors: 1800 millions years ago. Interdisciplinary Science Reviews, 1(1) p.72-84.
  5. Vandenbosch, Robert, and Susanne E. Vandenbosch. 2007. Nuclear waste stalemate. Salt Lake City: University of Utah Press.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 IAEA-TECDOC-1243
  7. 7.0 7.1 "ONKALO". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-12. สืบค้นเมื่อ 2014-07-17.
  8. 8.0 8.1 "Andra - French National Radioactive Waste Management Agency". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-21. สืบค้นเมื่อ 2014-07-17.
  9. 9.0 9.1 JAEA R&D Review 2010, R&D on Geological Disposal of High-Level Radioactive Waste
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-04-08. สืบค้นเมื่อ 2014-07-17.
  11. Korean KURT facility home page
  12. "Mont Terri Project". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-24. สืบค้นเมื่อ 2014-07-17.
  13. The Argentine radioactive waste respository: Basic criteria, preliminary siting and design conceptual basis [ลิงก์เสีย]
  14. Ontario Power Generation DGR page
  15. 15.0 15.1 T. Aikas and P. Antilla. 2008. Repositories for low- and intermediate-level waste in Finland. Reviews in Eng. Geology 19, 67-71.
  16. NUMO website
  17. "Nuclear Power in South Korea". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-11. สืบค้นเมื่อ 2014-07-17.
  18. SFR
  19. http://www.skb.se/Templates/Standard____31004.aspx เก็บถาวร 2011-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Licence application March 2011
  20. Managing Radioactive Waste Safely (MRWS) UK Department of Energy and Climate Change
  21. "Problems at Germany's Asse II Nuclear Waste Repository". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-03. สืบค้นเมื่อ 2014-07-18.
  22. "DOE Waste Isolation Pilot Plant Receives EPA Recertification". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-12. สืบค้นเมื่อ 2014-07-18.
  23. Holland, I. (2002). "Waste not want not? Australia and the politics of high-level nuclear waste". Australian Journal of Political Science (37): 283–301.
  24. Disposition of high-level waste and spent nuclear fuel: The continuing societal and technical challenges. Washington, DC: National Academy Press. 2001.
  25. "Earthquakes In The Vicinity Of Yucca Mountain". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-25. สืบค้นเมื่อ 2014-07-18.
  26. A New Era of Responsibility เก็บถาวร 2009-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The 2010 Budget, p. 65.
  27. Hebert, H. Josef. 2009. “Nuclear waste won't be going to Nevada's Yucca Mountain, Obama official says.” Chicago Tribune. March 6, 2009, 4. [1] เก็บถาวร 2009-04-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Accessed 3-6-09.
  28. "Final disposal nearing realization" (PDF). Press release. Swedish Nuclear Fuel and Waste Management Co. 2007-09-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-25. สืบค้นเมื่อ 2009-01-05.
  29. Wainwright, Martin (30 January 2013). "Cumbria rejects underground nuclear storage dump". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 1 February 2013.
  30. Macalister, Terry (31 January 2013). "Cumbria sticks it to the nuclear dump lobby – despite all the carrots on offer". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 1 February 2013.