พิโกไฟแนนซ์ (อังกฤษ: Pico Finance) คือ ธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับกระทรวงการคลัง[1] [2]ที่เปิดให้ประชาชนสามารถดำเนินธุรกิจสินเชื่ออย่างถูกกฏหมายในพื้นที่ ที่ผู้ให้กู้กับผู้กู้มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในจังหวัดเดียวกัน โดยบริษัทที่ผ่านการอนุญาตจากกระทรวงการคลังถือว่าเป็นสถาบันทางการเงินที่สามารถดำเนินธุรกิจสินเชื่อได้อย่างถูกกฏหมาย

ความเป็นมา

แก้

เนื่องจากปัญหาหนี้นอกระบบ เป็นปัญหาซึ่งนำมาถึงการกระทำผิดกฏหมาย โดยเกิดจากลูกหนี้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเงินกู้ในระบบได้ เนื่องด้วยอาชีพ รายได้ หรือ สภาพทางการเงินที่ธนาคารไม่อนุมัติให้กู้ จึงทำให้ต้องกู้กับเจ้าหนี้นอกระบบ หรือ เจ้าหนี้ที่ไม่ใช่สถาบันทางการเงิน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีนโยบายเพิ่มช่องทางการเข้าถึงสินเชื่อที่ง่ายขึ้น โดยผ่านการจัดตั้ง พิโกไฟแนนซ์ ซึ่งเปลี่ยนเจ้าหนี้นอกระบบให้สามารถดำเนินธุรกิจเป็น สถาบันทางการเงินได้ เพื่อกำกับให้อยู่ภายใต้กฏหมาย [2]

ความแตกต่างระหว่างสินเชื่อ

แก้

พิโกไฟแนนซ์ [1]ให้บริการสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ ที่มีลักษณะเป็นสินเชื่ออเนกประสงค์ ทั้งแบบมีหรือไม่มีหลักประกัน มีการพิจารณาสินเชื่อที่ยืดหยุ่นกว่าธุรกิจสถาบันทางการเงินประเภทธนาคาร โดยมีนโยบายเหมือนกับ ไมโครไฟแนนซ์ และ นาโนไฟแนนซ์ [3]แต่พิโกไฟแนนซ์จำกัดอยู่ที่พื้นที่ให้บริการสินเชื่อโดยผู้ให้กู้กับผู้กู้มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในจังหวัดเดียวกันเท่านั้น

สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์พลัส สินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์
พื้นที่ให้บริการระหว่างผู้ให้กู้กับผู้กู้ ต้องอยู่จังหวัดเดียวกัน ให้บริการได้ทั่วประเทศ
ลักษณะผู้ให้บริการ เป็นนิติบุคคลห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ บริษัทจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท เป็นนิติบุคคลห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ บริษัทจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ธนาคารพาณิชย์ เป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดที่มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท
วงเงินการกู้ ไม่เกิน 50,000 บาท/ราย ไม่เกิน 100,000 บาท/ราย ไม่เกิน 200,000 บาท/ราย ไม่เกิน 100,000 บาท/ราย
ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียม รวมกันไม่เกิน ร้อยละ 33 ต่อปี[4] รวมกันไม่เกิน ร้อยละ 33 ต่อปี[4] รวมกันไม่เกิน ร้อยละ 28 ต่อปี[5] รวมกันไม่เกิน ร้อยละ 36 ต่อปี[3]
กำกับโดย กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-11-10. สืบค้นเมื่อ 2022-11-10.
  2. 2.0 2.1 http://www.1359.go.th/picodoc/
  3. 3.0 3.1 พิโกไฟแนนซ์ และ นาโนไฟแนนซ์ แตกต่างกันอย่างไร
  4. 4.0 4.1 ประการ ปรับปรุงอัตราดอกเบี้ย อัตรากำไรจากการให้สินเชื่อ ค่าปรับ ค่าบริการ หรือค่าธรรมเนียมอื่นใดสำหรับการประกอบธุรกิจ   สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ
  5. แนวนโยบาย สินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ของธนาคารพาณิชย์