COPINE Scale เป็นมาตราสำหรับประเมินที่สร้างขึ้นในประเทศไอร์แลนด์แล้วต่อมาใช้ในสหราชอาณาจักรเพื่อจัดลำดับความร้ายแรงของรูปทารุณเด็กทางเพศ โดยตามกฎหมายของประเทศ คำว่า "เด็ก" หมายถึงบุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปี[1] เจ้าหน้าที่ของโปรเจ็กต์ COPINE (Combating Paedophile Information Networks in Europe แปลว่า เครือข่ายข้อมูลต่อสู้คนใคร่เด็กในยุโรป) พัฒนามาตราสำหรับประเมินนี้ขึ้น[2] โดยเป็นโปรเจ็กต์ที่ตั้งขึ้นเมื่อปี 2540 และมีสำนักงานอยู่ที่คณะจิตวิทยาประยุกต์ที่มหาวิทยาลัยคอลเลจคอร์ก (University College Cork) ในประเทศไอร์แลนด์

การใช้มาตรา แก้

เพื่อการรักษา แก้

มาตรานี้พัฒนาขึ้นดั้งเดิมเพื่อการบำบัดรักษาทางจิตวิทยา โดยเฉพาะแล้ว เป็นมาตราที่ใช้แยกแยะสื่ออนาจารเด็ก (child erotica) จากสื่อลามกอนาจารเด็ก (child pornography) นักจิตวิทยานิติเวชศาสตร์ผู้หนึ่งที่ทำงานในโปรเจ็กต์ COPINE ศ.แม็กซ์ เทย์เลอร์ เขียนไว้ว่า "ความสำคัญของการแยกแยะเช่นนี้ก็เพื่อเน้นคุณลักษณะทางเพศที่เป็นไปได้ของประเภทต่าง ๆ ของภาพถ่าย (และสื่ออื่น ๆ) ซึ่งทั้งหมดอาจจะไม่ผ่านกฎเกณฑ์ความลามกอนาจาร"[3]

กระบวนการยุติธรรม แก้

ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 โปรเจ็กต์ COPINE ได้ร่วมมือกับหน่วยคนใคร่เด็กของเจ้าหน้าที่ตำรวจลอนดอน พัฒนาแบบลักษณ์ (typology) เพื่อจัดหมวดหมู่ภาพทารุณเด็กทางเพศเพื่อใช้ทั้งในงานวิจัยและงานบังคับกฎหมาย[4] แบบลักษณ์ 10 ขั้นที่ตั้งขึ้น อาศัยการวิเคราะห์ภาพที่มีตามเว็บไซต์และตามกลุ่มข่าวทางอินเทอร์เน็ต (internet newsgroups) ต่อมานักวิจัยอื่น ๆ จึงเริ่มใช้มาตรา 10 ขั้นที่คล้าย ๆ กัน[5]

COPINE Scale
1 Indicative (ชี้) ภาพที่ไม่อนาจาร ไม่แสดงสภาวะทางเพศ ที่แสดงเด็กในชุดชั้นใน ชุดว่ายน้ำ มาจากแหล่งการค้าหรืออัลบั้มรูปของครอบครัว หรือภาพเด็กเล่นในสิ่งแวดล้อมปกติ แต่ว่าเป็นภาพที่อยู่ในบริบทหรือการจัดหมวดหมู่ของผู้สะสมที่ชี้ความไม่สมควร
2 Nudist (เปลือย) ภายเด็กเปลือยหรือกึ่งเปลือยในสิ่งแวดล้อมเปลือยที่สมควร และมาจากแหล่งที่ถูกกฎหมายต่าง ๆ
3 Erotica (อนาจาร) รูปแอบถ่ายเด็กในที่เล่นหรือสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยต่าง ๆ แสดงชุดชั้นในหรือการเปลือยกายในระดับต่าง ๆ
4 Posing (วางท่า) รูปวางท่าของเด็กไม่ว่าจะใส่เสื้อผ้าสมบูรณ์ ใส่บ้าง หรือว่าเปลือย (ที่ปริมาณความเปลือย บริบท หรือการจัดภาพแสดงความสนใจทางเพศ)
5 Erotic Posing (วางท่าอนาจาร) รูปวางท่าของเด็กไม่ว่าจะใส่เสื้อผ้าสมบูรณ์ ใส่บ้าง หรือว่าเปลือย ที่แสดงลักษณะทางเพศหรือเร้าอารมณ์
6 Explicit Erotic Posing (วางท่าอนาจารชัดแจ้ง) ภาพที่เน้นบริเวณอวัยวะเพศของเด็กไม่ว่าจะใส่เสื้อผ้าสมบูรณ์ ใส่บ้าง หรือว่าเปลือย
7 Explicit Sexual Activity (กิจกรรมทางเพศชัดแจ้ง) ภาพที่แสดงการสัมผัส การสำเร็จความใคร่ร่วมกันหรือด้วยตนเอง การร่วมเพศทางปาก และการร่วมเพศ ของเด็ก ที่ไม่เกี่ยวกับผู้ใหญ่
8 Assault (การทำร้าย) ภาพเด็กถูกทำร้ายทางเพศ รวมทั้งการจับต้องด้วยนิ้ว ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใหญ่
9 Gross Assault (การทำร้ายอย่างร้ายแรง) รูปทำร้ายทางเพศที่ลามกอนาจารอย่างร้ายแรง รวมทั้งกิจกรรมทางเพศที่มีการสอดใส่ (penetrative sex) การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง การร่วมเพศทางปาก ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใหญ่
10 Sadistic/Bestiality (เกี่ยวกับความซาดิสม์หรือสัตว์) ก. ภาพที่แสดงเด็กถูกมัด ผูก ตี เฆี่ยน หรือการอื่นที่ส่องให้เห็นความเจ็บปวด

ข. ภาพที่มีสัตว์แสดงพฤติกรรมทางเพศเกี่ยวกับเด็ก

SAP scale แก้

คดีศาลอุทธรณ์ปี 2002[6] ตั้งมาตราอีกอย่างที่จัดระดับภาพลามกอนาจารเด็ก คือ คณะแนะนำการตัดสิน (Sentencing Advisory Panel) ของสหราชอาณาจักรได้ยอมรับมาตรา 5 ขั้นที่เรียกว่า SAP scale ซึ่งทำโดยใช้ศัพท์ต่าง ๆ จากมาตรา COPINE ดังนั้น จึงมักจะมีความเข้าใจสับสนกัน[7]

SAP Scale
1 เปลือยหรือแสดงท่าทางอนาจารที่ไม่มีกิจกรรมทางเพศ
2 กิจกรรมทางเพศระหว่างเด็ก หรือการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองเดี่ยวของเด็ก
3 กิจกรรมทางเพศที่ไม่มีการล่วงล้ำระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก
4 กิจกรรมทางเพศที่มีการล่วงล้ำระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก
5 ภาพเกี่ยวกับความซาดิสม์หรือสัตว์

เอกสารของ SAP อธิบายอย่างละเอียดว่ากฎเกณฑ์ของ COPINE ได้นำมาใช้อย่างไร โดยกล่าวด้วยว่า COPINE scale มีจุดประสงค์เพื่อการรักษา ไม่ใช่ให้ใช้ในศาล แต่เมื่อตรวจสอบก็จะพบได้ว่า หมวด 2–5 ของมาตรานี้ เท่ากับหมวด 7–10 ของ COPINE scale ส่วนหมวด 1 ของมาตรานี้ดูเหมือนจะคล้าย ๆ กับหมวด 4–6 ของ COPINE scale ส่วนหมวด 1 ของ COPINE scale ไม่รวมอยู่ในมาตรานี้ เพราะว่า "ภาพที่มีลักษณะเช่นนี้จะไม่จัดหมวดว่าเป็นรูปลามกอนาจาร" ส่วนคณะที่ออกมาตรานี้พบว่า หมวด 2–3 ของ COPINE ไม่ชัดเจนว่าเป็นรูปอนาจารหรือไม่[7]

แนวทางการตัดสินความผิดทางเพศ แก้

ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2014 มีการออกแนวทางการตัดสินความผิดทางเพศใหม่ คือ[8][9]

แนวทางการนิยามการทำผิดทางเพศ
(Sexual Offences Definitive Guideline)

หมวด A

ภาพกิจกรรมทางเพศที่มีการล่วงล้ำ และ/หรือภาพกิจกรรมทางเพศกับสัตว์หรืออย่างซาดิสม์

หมวด B

ภาพกิจกรรมทางเพศที่ไม่มีการล่วงล้ำ

หมวด C

ภาพลามกอนาจารอื่น ๆ ที่ไม่อยู่ในหมวด A หรือ B

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. "Family Law Reform Act 1969". Legislation.gov.uk (National Archives). สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2016.
  2. "COPINE Project News and Upcoming Events". COPINE Project. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2007.
  3. Taylor, Max; Holland, G; Quayle, E. (2001). "Typology of Paedophile Picture Collections" (PDF). The Police Journal. 74: 97–107. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2012.
  4. Quayle, Ethel (กันยายน 2008). "The COPINE Project". Irish Probation Journal. Probation Board for Northern Ireland. 5. ISSN 1649-6396.
  5. Taylor, M.; Quayle, E.; Holland, G. (2001). "Child Pornography, the Internet and Offending". The Canadian Journal of Policy Research. ISUMA. 2 (2): 94–100.
  6. "Regina v. Oliver (case summary)". 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ธันวาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2016.
  7. 7.0 7.1 Vella, Paul. "Understanding Computer Evidence" (PDF). Evidence Matters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2016.
  8. "Sentencing Council - Sexual Offences Definitive Guideline" (PDF). sentencingcouncil.org.uk. Sentencing Council. 2013. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2023.
  9. "Assessment Levels". IWF. Internet Watch Foundation (IWF). สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้