เค็นจิ มิยาซาวะ

เค็นจิ มิยาซาวะ (ญี่ปุ่น: 宮沢 賢治 หรือ 宮澤 賢治โรมาจิMiyazawa Kenji; เอสเปรันโต: Mijazaŭa Kenĝi; 27 สิงหาคม ค.ศ. 1896 – 21 กันยายน ค.ศ. 1933) เป็นนักเขียนวรรณกรรมเด็กและนักกวีชาวญี่ปุ่นจากเมืองฮานามากิ จังหวัดอิวาเตะ ในช่วงปลายยุคไทโชและต้นยุคโชวะ มิยาซาวะยังเป็นที่รู้จักว่าเป็นครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร, ผู้รับประทานมังสวิรัติ, นักเล่นเชลโล, พุทธศาสนิกชนผู้เคร่งครัด และนักเคลื่อนไหวทางสังคมแบบอุตมรัฐ[1]

เค็นจิ มิยาซาวะ
เค็นจิ มิยาซาวะ
เค็นจิ มิยาซาวะ
ชื่อท้องถิ่น
宮沢 賢治
เกิด27 สิงหาคม ค.ศ. 1896(1896-08-27)
เมืองฮานามากิ จังหวัดอิวาเตะ ประเทศญี่ปุ่น
เสียชีวิต21 กันยายน ค.ศ. 1933(1933-09-21) (37 ปี)
เมืองฮานามากิ จังหวัดอิวาเตะ ประเทศญี่ปุ่น
อาชีพนักเขียน, นักกวี, ครู, นักธรณีวิทยา
สัญชาติญี่ปุ่น
ช่วงเวลายุคไทโชและต้นยุคโชวะ
แนววรรณกรรมเด็ก, บทกวี
เค็นจิ มิยาซาวะ
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
ชินจิไต宮沢 賢治
คีวจิไต宮澤 賢治
ฮิรางานะみやざわ けんじ
คาตากานะミヤザワ ケンジ
การถอดเสียง
โรมาจิMiyazawa Kenji

ผลงานสำคัญส่วนหนึ่งของมิยาซาวะ ได้แก่ รถไฟสายทางช้างเผือก, คาเซะ โนะ มาตาซาบูโร, โกซุ อัจฉริยะนักเซลโล่ และ ทาเนยามากาฮาระ โนะ โยรุ เค็นจิหันมานับถือพุทธศาสนานิกายนิจิเร็งหลังจากได้อ่านสัทธรรมปุณฑรีกสูตรและเข้าร่วมโคกูชูไกซึ่งเป็นองค์กรของนิกายนิจิเร็ง ความเชื่อทางศาสนาและสังคมของมิยาซาวะสร้างความร้าวฉานระหว่างเขาและครอบครัวที่มั่งคั่งของเขาโดยเฉพาะบิดา แม้ว่าหลังการเสียชีวิตของมิยาซาวะครอบครัวของเขาก็หันมานับถือนิกายนิจิเร็งตามมิยาซาวะในที่สุด เค็นจิก่อตั้งสมาคมเกษตรกรราซุเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวนาในจังหวัดอิวาเตะ มิยาซาวะยังเป็นนักพูดภาษาเอสเปรันโตและแปลบทกวีบางส่วนของเขาเป็นภาษาเอสเปรันโต

มิยาซาวะเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวมในปี ค.ศ. 1933 เกือบตลอดชีวิตของมิยาซาวะไม่เป็นที่รู้จักในฐานะนักกวี ผลงานของมิยาซาวะมีชื่อเสียงขึ้นมาหลังการเสียชีวิตของเขา[2] และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงกลางทศวรรษ 1990 ในโอกาสอายุครบรอบหนึ่งร้อยปีของมิยาซาวะ [3] พิพิธภัณฑ์ที่สร้างอุทิศให้ชีวิตและผลงานของมิยาซาวะเปิดตัวในปี ค.ศ. 1982 ในเมืองบ้านเกิดของมิยาซาวะ วรรณกรรมเด็กหลายเรื่องของมิยาซาวะได้รับการดัดแปลงเป็นอนิเมะ โดยเรื่องที่โดดเด่นมากที่สุดคือ รถไฟสายทางช้างเผือก ผลงานบทกวีทังกะและบทกวีอิสระอื่น ๆ หลายบทของมิยาซาวะได้รับการแปลเป็นหลายภาษาและยังคงได้รับความนิยมในทุกวันนี้

อ้างอิง แก้

  1. Curley, Melissa Anne-Marie, "Fruit, Fossils, Footprints: Cathecting Utopia in the Work of Miyazawa Kenji", in Daniel Boscaljon (ed.), Hope and the Longing for Utopia: Futures and Illusions in Theology and Narrative, James Clarke & Co./ /Lutterworth Press 2015. pp.96–118, p.96.
  2. Makoto Ueda, Modern Japanese Poets and the Nature of Literature, Stanford University Press, 1983 pp.184–320, p.184
  3. Kilpatrick 2014, pp. 11–25.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้