มีห์รีมาห์ ซุลตาน

มีห์รีมาห์ ซุลตาน (ตุรกีออตโตมัน: مهر ماه سلطان, เสียงอ่านภาษาตุรกี: [mihɾiˈmah suɫˈtan]; ราว ค.ศ. 1522 – 25 มกราคม ค.ศ. 1578) หรือเป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกว่า กาเมเรีย โซลีมานี (อิตาลี: Cameria Solimani) เป็นเจ้าหญิงออตโตมัน พระราชธิดาของสุลต่านสุลัยมานผู้เกรียงไกรกับร็อกเซลานา[1][2] พระนาม "มีห์รีมาห์" เป็นคำเปอร์เซีย แปลว่า "รัศมีจันทร์" ส่วนโลกตะวันตกจะออกพระนามว่า "กาเมเรีย" มาจากคำอาหรับว่า "กอมาริยะฮ์" ที่แปลว่า "จากดวงจันทร์"

มีห์รีมาห์ ซุลตาน
วาลีเดซุลตานแห่งออตโตมัน
ครองราชย์7 กันยายน 1566 – 15 ธันวาคม 1574
ก่อนหน้าฮัฟซา ซุลตาน
ถัดไปนูร์บานู ซุลตาน
ประสูติราว ค.ศ. 1522
คอนสแตนติโนเปิล จักรวรรดิออตโตมัน
สิ้นพระชนม์25 มกราคม ค.ศ. 1578 (ราว 55–56 ปี)
คอนสแตนติโนเปิล จักรวรรดิออตโตมัน
พระสวามีริวซเตม พาชา
พระบุตรอัยเช ฮิวมาชาห์ ซุลตาน
ซุลตานซาเด โอสมาน
ราชวงศ์ออตโตมัน
พระบิดาสุลัยมานผู้เกรียงไกร
พระมารดาร็อกเซลานา
ศาสนาอิสลาม

พระองค์ถือเป็นเจ้านายฝ่ายในผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดในราชสำนักพระองค์หนึ่งในยุครัฐสุลต่านของฝ่ายใน และเป็นเจ้าหญิงออตโตมันเพียงพระองค์เดียวที่ได้รับการสถาปนาเป็นวาลีเดซุลตาน (Valide Sultan "พระราชชนนี") ในรัชสมัยสุลต่านเซลิมที่ 2 พระอนุชา

พระประวัติ แก้

มีห์รีมาห์ประสูติในคอนสแตนติโนเปิลเมื่อ ค.ศ. 1522 เป็นพระราชธิดาของสุลต่านสุลัยมานผู้เกรียงไกร ประสูติแต่บาทบริจาริกาชื่อฮิวร์เรม ซุลตาน หรือเป็นที่รู้จักในสมัญญาร็อกเซลานา ธิดานักบวชออร์ทอดอกซ์ กระทั่ง ค.ศ. 1533 หรือ ค.ศ. 1534 พระชนนีได้รับการแต่งตั้งเป็นพระชายาเอกขององค์สุลต่าน[3]

26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1539 ขณะพระชันษา 17 ปี มีห์รีมาห์เสกสมรสกับริวซเตม พาชา (Rüstem Pasha) อดีตเด็กหนุ่มโครเอเชียที่ถูกทหารออตโตมันเกณฑ์เป็นบรรณาการเลือด (Devshirme) ต่อมาได้ไต่เต้าเป็นผู้ว่าราชการเมืองดียาร์บากึร์ (Diyarbakır) ก่อนเลื่อนเป็นมหาเสนาบดีในรัชกาลสุลต่านสุลัยมาน[4] พระราชพีธีเสกสมรสถูกจัดขึ้นพร้อมกับพระราชพิธีสุหนัตของเชห์ซาเด บาเยซิด พระอนุชา[5]

ห้าปีหลังการเสกสมรส สุลต่านสุลัยมานโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ริวซเตมเป็นมหาเสนาบดีประจำรัชกาล[2] แม้ชีวิตรักของพระองค์จะไม่สุขสมนัก แต่พระองค์ได้ทรงอุปถัมภ์งานศิลป์ และหลังการเสียชีวิตของพระภัสดา พระองค์ก็ตามเสด็จพระชนกนาถตามที่ต่าง ๆ มีห์รีมาห์และพระภัสดามีพระบุตรด้วยกันสองพระองค์คือโอสมาน และฮิวมาชาห์[6]

อ้างอิง แก้

  1. "The Imperial House of Osman: Genealogy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2006.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 Peirce, Leslie P. (1993). The Imperial Harem: Women and Sovereignty in the Ottoman Empire. New York: Oxford University Press. ISBN 0-19-508677-5.[ต้องการเลขหน้า]
  3. Yermolenko, Galina (April 2005). "Roxolana: "The Greatest Empresse of the East". DeSales University, Center Valley, Pennsylvania. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)[ต้องการเลขหน้า]
  4. Vovchenko, Denis (2016-07-18). Containing Balkan Nationalism: Imperial Russia and Ottoman Christians, 1856-1914. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-061291-7.
  5. Peirce 1993, p. 123.
  6. Yermolenko, Galina I. (1988). Roxolana in European Literature, History and Culture. Ashgate Publishing Limited.[ต้องการเลขหน้า]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้