ซินชาร์อิชคุน (อักษรโรมัน: Sinsharishkun, Sin-shar-ishkun; คูนิฟอร์มอัสซีเรียใหม่: Sîn-šar-iškun [5][6] หรือ Sîn-šarru-iškun,[7]) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ ครองราชย์ประมาณ 627 – 612 ปีก่อนคริสตศักราช ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าอาชูร์บานิพัล (Ashurbanipal) และอาจเป็นพระเชษฐา (พี่ชาย) ของพระเจ้าอาชูร์-อูบัลลิตที่ 2 มีประวัติเกี่ยวกับพระองค์น้อยมาก แต่คาดว่าทรงขึ้นครองราชย์ประมาณปีที่ 627 ก่อนคริสตศักราชต่อจากอาชูร์-อิทิล-อิลานี (Ashur-etil-ilani)[8] พระองค์ต้องสู้รบกับซิน-ชามู-ลีชีร์ (Sin-shumu-lishir) ในสงครามกลางเมือง ในขณะที่ประเทศราชต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ โดยเฉพาะบาบิโลเนียที่มีผู้นำคือแนโบโพแลสซาร์ หลังชนะสงครามกลางเมือง พระเจ้าซินชาร์อิชคุนกับแนโบโพแลสซาร์ทำสงครามแย่งชิงเมืองนิปปูร์ (Nippur) ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจของอัสซีเรีย พระเจ้าซินชาร์อิชคุนป้องกันเมืองไว้ได้ แต่แนโบโพแลสซาร์ก็เข้าเมืองบาบิโลนและสถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์

ซินชาร์อิชคุน
จดหมายของซินชาร์อิชคุนที่เขียนถึงแนโบโพแลสซาร์แห่งบาบิโลน ศัตรูหลักของพระองค์ที่ระบุเป็นกษัตริย์แห่งบาบิโลนและขอให้รักษาอาณาจักรของพระองค์ ความน่าเชื่อถือของจดหมายนี้ยังคงเป็นที่โต้เถียง[1]
กษัตริย์แห่งจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่
ครองราชย์627–612 ปีก่อนคริสต์ศักราช[2]
ก่อนหน้าอาชูร์-เอติล-อีลานี
ถัดไปอาชูร์-อูบัลลิตที่ 2
(อัสซีเรีย)
แนโบโพแลสซาร์
(บาบิโลน)
สวรรคตสิงหาคม 612 ปีก่อนคริสต์ศักราช[3]
นิเนเวห์
คู่อภิเษกอานา-ตัชเมตุม-ตักลาก (?)
พระราชบุตรอาชูร์-อูบัลลิตที่ 2[4] (?)
แอกแคดSîn-šar-iškun
Sîn-šarru-iškun
ราชวงศ์ซาร์กอน
พระราชบิดาอาชูร์บานิปัล
พระราชมารดาลิบบาลี-ชาร์รัต

พระเจ้าซินชาร์อิชคุนนำทัพไปที่บาบิโลน แต่กลับพบว่ามีการกบฏเกิดขึ้นภายในเมืองหลวงและทหารไปเข้ากับกลุ่มกบฏ แม้พระองค์จะปราบกบฏได้สำเร็จ แต่ก็ต้องเสียเมืองนิปปูร์ไป ในปีที่ 616 พระเจ้าแนโบโพแลสซาร์ทรงร่วมเป็นพันธมิตรกับพระเจ้าไซอาซาเรส กษัตริย์แห่งชาวมีเดีย ต่อมากลุ่มชนหลายกลุ่มได้เข้าร่วมกับพันธมิตรนี้แล้วบุกโจมตีนิเนเวห์ เมืองหลวงของจักรวรรดิอัสซีเรีย จนที่สุดในปีที่ 612 ก่อนคริสตศักราช นิเนเวห์ก็เสียเมือง ชะตากรรมสุดท้ายของพระเจ้าซินชาร์อิชคุนไม่เป็นทราบแน่ชัด[9] แต่มีความเป็นไปได้ที่พระองค์อาจจะสวรรคตในการรบครั้งนี้[10]

พระเจ้าอาชูร์-อูบัลลิตที่ 2 กษัตริย์องค์ต่อมาทรงถอยทัพไปที่เมืองฮาร์ราน ทางตอนเหนือของซีเรียและเป็นพันธมิตรกับฟาโรห์เนโคที่ 2 (Necho II) ต่อมากองทัพบาบิโลน-มีเดียได้ยึดเมืองฮาร์รานและรบชนะในยุทธการที่คาร์เคมิช (Battle of Carchemish) ยุทธการสุดท้ายระหว่างอัสซีเรีย-อียิปต์กับบาบิโลน-มีเดีย[11]

อ้างอิง แก้

บรรณานุกรม แก้

เว็บไซต์ แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้