การฆ่าตัวตายเลียนแบบ

การฆ่าตัวตายเลียนแบบ (copycat suicide) คือการที่คนคนหนึ่งฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตาย เลียนแบบเหตุการณ์การฆ่าตัวตาย หรือภาพจำลองเหตุการณ์การฆ่าตัวตาย ของคนอื่นที่เป็นคนรู้จัก หรือคนในสื่อ เช่นข่าวโทรทัศน์ เป็นต้น

Werther and Lotte, from The Sorrows of Young Werther

ปรากฎการณ์ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมากของจำนวนการฆ่าตัวตาย ซึ่งเกิดตามหลังการฆ่าตัวตายที่เป็นข่าวในวงกว้าง มักถูกเรียกว่า ปรากฎการณ์แวเธ่อร์ (Werther effect) ซึ่งตั้งตามนิยายของเกอเธ่เรื่อง แวเธ่อร์ระทม[1]

ในคนที่มีความเสี่ยงและไม่มีปัจจัยป้องกัน ข่าวสารเรื่องการฆ่าตัวตายอาจเป็นตัวกระตุ้นให้คนคนนั้นฆ่าตัวตายได้ อาจเรียกว่า การฆ่าตัวตายแพร่ระบาด (suicide contagion)[2] ซึ่งอาจพบ "แพร่ระบาด" ได้ในระดับโรงเรียน ชุมชน หรือหากเป็นบุคคลมีชื่อเสียง ก็อาจแพร่ระบาดในระดับประเทศ หรือนานาชาติได้ เรียกว่า การฆ่าตัวตายเป็นกลุ่มก้อน (suicide cluster)[2] ซึ่งเกิดจากการแพร่ไปของข่าวการฆ่าตัวตายหรือพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายออกไปในชุมชน กลุ่มก้อนแบบเป็นจุด (point cluster) คือกลุ่มของการฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้นในสถานที่เดียวและเวลาเดียว สัมพันธ์กับการทราบข่าวโดยตรงในสังคมจากบุคคลใกล้ชิด[3] ส่วนกลุ่มก้อนแบบใหญ่ (mass cluster) คือกลุ่มก้อนของการฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันแต่ต่างสถานที่ สัมพันธ์กับการออกสื่อของข่าวการฆ่าตัวตายของคนมีชื่อเสียง ผ่านสื่อมวลชน[4]

เพื่อเป็นการป้องกันการฆ่าตัวตายประเภทนี้ บางประเทศจึงถือเป็นธรรมเนียมที่จะไม่นิยมรายงานข่าวการฆ่าตัวตาย ยกเว้นเฉพาะกรณีพิเศษบางกรณี

อ้างอิง แก้

  1. Schmidtke A, Häfner H (1988). "The Werther effect after television films: new evidence for an old hypothesis". Psychol Med. 18 (3): 665–76. doi:10.1017/s0033291700008345. PMID 3263660.
  2. 2.0 2.1 Halgin, Richard P.; Susan Whitbourne (January 2006). Abnormal Psychology with MindMap II CD-ROM and PowerWeb. McGraw-Hill. p. 62. ISBN 0-07-322872-9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-08. สืบค้นเมื่อ 2017-12-20.
  3. Golman, D (1987-03-18). "Pattern of Death: Copycat Suicides among Youths". 1987. New York Times. สืบค้นเมื่อ April 21, 2011.
  4. Mesoudi, A (2009). "The Cultural Dynamics of Copycat Suicide". PLoS ONE. 4 (9): e7252. doi:10.1371/journal.pone.0007252. PMC 2748702. PMID 19789643.