ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Heuristics (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 141:
 
=== ประเทศไทย ===
'''ประเทศไทย'''ได้มีการประกาศใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นทางการฉบับแรก คือ '''พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ [[พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975)]]''' ซึ่งได้กำหนดให้มีการแต่งตั้ง[[คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ]]ขึ้น มีอำนาจหน้าที่ คือ
 
1) เสนอนโยบายและความเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษา[[คุณภาพสิ่งแวดล้อม]]
 
2) ให้ความเห็นเกี่ยวกับโครงการ ที่อาจส่งผลเสียหายต่อคุณภาพ[[สิ่งแวดล้อม]]
 
ต่อมาได้มีการออก'''[[พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ]] ฉบับที่ 2 [[พ.ศ. 2521]]'''
(ค.ศ. 1978) ทั้งนี้เนื่องจากพระราชบัญญัติ ฉบับที่ 1 มิได้มีการระบุให้แน่ชัดเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติบางเรื่อง จึงก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ ดังนั้น จึงได้มีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2518 โดยได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้ชัดเจนและรัดกุมขึ้นกว่าเดิมรวม 3 ประการ คือ
 
1) กำหนดให้มีการจัดทำ[[รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม]]สำหรับโครงการพัฒนาของรัฐและ
กิจกรรมบางประเภทของเอกชน
 
2) ให้อำนาจในการกำหนด[[มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม]] ที่มิได้อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยราชการใด ตลอดจนการกำหนดวิธีการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
 
3) ดำเนินการในด้านการจัดการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในกรณีที่ฉุกเฉิน
สำหรับ[[กฎหมาย]]ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสามารถจะเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อเอื้ออำนวยต่อการบริหารสิ่งแวดล้อม และแก้ไขอุปสรรคและข้อขัดข้องในทางปฏิบัติได้
ในเดือนกันยายน [[พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1982)]] สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้กำหนดให้มรมีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ หรือกิจการบางประเภทและบางขนาด โดยอาศัยอำนาจตามประกาศกฎ[[กระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีและการพลังงาน]]ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ [[27 กันยายน]] [[พ.ศ. 2524]] โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการศึกษาเกี่ยวกับ[[ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม]]และคุณค่าต่าง ๆ ที่มีต่อมนุษย์ที่อาจจะถูกกระทบกระเทือน เนื่องจากโครงการหรือกิจการนั้น ๆ (สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ [[พ.ศ. 2527]])
ในปี [[พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992)]] ได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกฎหมายสิ่งแวดล้อมออกเป็น '''พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม [[พ.ศ. 2535]]''' ในส่วนของการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ปรากฏใน '''ส่วนที่ 4 มาตราที่ 46 ถึง มาตราที่ 51'''
กฎหมายฉบับดังกล่าวได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์แก่ผู้รักษาการ (แต่ยังมิได้ระบุไว้ในมาตราโดยตรง) วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องนำเสนอพร้อมรายงานฯ เพิ่มเติม
ล่าสุด[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี พ.ศ. 2540]] ได้ระบุไว้ชัดในมาตราที่ 56 โดยมีประเด็นหลักที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาใด ๆ ก็ตามที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต[[ชุมชน]]จะไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการใด ๆ หากไม่มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อน ดังนั้น จากกฎหมายหลักฉบับนี้ของไทย ทำให้กฎหมายต่าง ๆและข้อบังคับต่างๆ ต้องปฏิบัติตามภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว
 
== ดูเพิ่ม ==