ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชลัญจกรจีน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัด 30:
ราชลัญจกรดวงนี้สร้างขึ้นเมื่อปีที่ 221 ก่อนคริสตกาล เมื่อ[[จิ๋นซีฮ่องเต้|ฉินฉื่อหฺวังตี้]] (秦始皇帝) ปฐมกษัตริย์แห่ง[[ราชวงศ์ฉิน]] รวมแผ่นดินจีนเข้าเป็นหนึ่ง แล้วเอา[[เหอชื่อปี้]] หยกเลื่องชื่อซึ่งเป็นของแคว้น[[จ้าว (รัฐ)|จ้าว]] (趙) มาทำ ให้นายช่างซุน โช่ว (孫壽) สลักอักษรแปดตัวที่อัครมหาเสนาบดี[[หลี่ ซือ]] (李斯) เขียนว่า "โช่วมิ่ง-ยฺหวีเทียน จี้โช่วหยงชาง" (受命於天,既壽永昌) แปลว่า "รับ[[อาณัติแห่งสวรรค์|โองการจากฟ้า]] ขอพระชันษายืนยาวรุ่งเรือง" หรือที่[[เจ้าพระยาพระคลัง (หน)]] แปลว่า "เทวดาประสิทธิ์ให้ ถ้าผู้ใดได้ไว้แล้วครองราชสมบัติก็จะจำเริญพระชันษาสืบไป"<ref>{{cite web | title = สามก๊ก ตอนที่ ๕ | url = http://vajirayana.org/สามก๊ก/ตอนที่-๕ | author = [[เจ้าพระยาพระคลัง (หน)]] | year = n.d. | publisher = หอพระสมุดวชิรญาณ | location = กรุงเทพฯ | accessdate = 2016-11-12 }}</ref>
 
เหตุที่ใช้หยกสลักขึ้นเป็นราชลัญจกร เพราะตามธรรมเนียมจีนโบราณ หยกเป็นสัญลักษณ์แห่งความงดงามภายในใจมนุษย์ ทังทั้งสุสานและเครื่องทำศพก็นิยมประดับหยก เป็นต้นว่า [[Jade burial suit|ชุดหยก]] (玉衣) สำหรับสวมพระศพองค์ชาย[[Liu Sheng, Prince of Zhongshan|หลิว เชิ่ง]] (劉勝) ที่สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1968 ครั้นถึง[[ราชวงศ์ฮั่น]] หยกก็เป็นที่นับถือดั่งยาอายุวัฒนะ ผู้คนพากันบริโภคเครื่องดื่มทำจากหยกด้วยหวังว่าจะอยู่ยงชั่วนิรันดร์ ความนิยมเช่นนี้ยิ่งสัมพันธ์กับแนวคิดเรื่อง[[อาณัติแห่งสวรรค์]]ของสถาบันกษัตริย์จีน
 
==การผ่านมือ==