ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทุเรียน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 9866906 โดย InternetArchiveBot (พูดคุย) ด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ
บรรทัด 63:
ทุเรียนเป็น[[ไม้ผล]]ยืนต้นไม่ผลัดใบ ลำต้นตรง สูง 25-50 เมตรขึ้นกับชนิด<ref name=Brown/> แตกกิ่งเป็นมุมแหลม ปลายกิ่งตั้งกระจายกิ่งกลางลำต้นขึ้นไป เปลือกชั้นนอกของลำต้นสีเทาแก่ ผิวขรุขระหลุดลอกออกเป็นสะเก็ด ไม่มียาง [[ใบ]]เป็นใบเดี่ยว เกิดกระจายทั่วกิ่ง เกิดเป็นคู่อยู่ตรงกันข้ามระนาบเดียวกัน ก้านใบกลมยาว 2–4 ซม. แผ่นใบรูปไข่แกมขอบขนานปลายใบใบเรียวแหลม ยาว 10-18 ซม. ผิวใบเรียบลื่น มีไขนวล ใบด้านบนมีสีเขียว ท้องใบมีสีน้ำตาลเส้นใบด้านล่างนูนเด่น ขอบใบเรียบ ดอกเป็นดอกช่อ มี 3-30 ช่อบนกิ่งเดียวกัน เกิดตามลำต้น และกิ่งก้านยาว 1–2 ซม. ลักษณะ[[ดอกสมบูรณ์เพศ]] มี[[กลีบเลี้ยง]]และมี[[กลีบดอก]] 5 กลีบ (บางครั้งอาจมี 4 หรือ 6 กลีบ) มีสีขาวหอม ลักษณะดอกคล้ายระฆัง มีช่วงเวลาออกดอก 1-2 ครั้งต่อปี ช่วงเวลาออกดอกขึ้นกับชนิด สายพันธุ์ และสถานที่ปลูกเลี้ยง โดยทั่วไปทุเรียนจะให้ผลเมื่อมีอายุ 4-5 ปี โดยจะออกตามกิ่งและสุกหลังจากผสมเกสรไปแล้ว 3 เดือน ผลเป็นผลสดชนิดผลเดี่ยว อาจยาวมากกว่า 30 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางอาจยาวกว่า 15 ซม. มีน้ำหนัก 1-3 กก.<ref name=Brown/> เป็นรูปรีถึงกลม เปลือกทุเรียนมีหนามแหลมเมื่อแก่ผลมีสีเขียว เมื่อสุกมีสีน้ำตาลอ่อน แตกตามแต่ละส่วนของผลเรียกเป็นพู เนื้อในมีตั้งแต่สีเหลืองอ่อนถึงแดง ขึ้นกับชนิด<ref name=Brown/> เนื้อในจะนิ่ม กึ่งอ่อนกึ่งแข็ง มีรสหวาน [[เมล็ด]]มีเยื่อหุ้ม กลมรี เปลือกหุ้มสีน้ำตาลผิวเรียบ เนื้อในเมล็ดสีขาว รสชาติฝาด
 
== การขยายพันธุ์ของทุเรียน ==
 
[[ไฟล์:Durian flower.jpg|thumb|left|upright|ดอกของทุเรียนปกติจะหุบในช่วงกลางวัน]]
บรรทัด 78:
=== สายพันธุ์ ===
[[ไฟล์:D101 and random stock.jpg|thumb|right|ทุเรียนต่างพันธุ์กันบ่อยครั้งจะมีสีต่างกัน D101 (ขวา) มีสีเหลืองเข้มทำให้สามารถแยกออกจากอีกพันธุ์ (ซ้าย) ได้อย่างชัดเจน]]
เป็นเวลาหลายศตวรรษมาแล้วทุเรียนที่เพาะปลูกมากมายหลายชนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยใช้ทุเรียนต้นที่ให้ผลดีมีรสอร่อยมาขยายพันธุ์โดยการ[[เสียบยอด]] ทาบกิ่ง ติดตา และ[[ตอนกิ่ง]]<ref name="สารานุกรม"/><ref>[http://natres.psu.ac.th/Researchcenter/tropicalfruit/fruit/durian.htm ทุเรียน], การผลิตไม้ผลเมืองร้อน, ศูนย์วิจัยพืชยืนต้นและไม้ผลเมืองร้อน โครงการสถานีวิจัยและศูนย์วิจัย ฝ่ายวิจัยและบริการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์</ref> แต่ละพันธุ์ก็จะมีความเด่นที่ต่างกัน อย่างความต่างของรูปทรงผล เช่น หนาม เป็นต้น<ref name=Brown/> ทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกรับประทานได้ตามความพึงพอใจถึงแม้ว่าจะมีราคาสูงกว่าอีกพันธุ์หนึ่งในตลาดก็ตาม<ref name=ST/> โดยส่วนใหญ่จะปลูกบริเวณภาคใต้ '/'
 
สายพันธุ์ส่วนใหญ่มีชื่อเรียกและรหัสหมายเลขที่ขึ้นต้นด้วย "D" เช่น กบ (D99), ชะนี (D123), ทุเรียนเขียว (D145), ก้านยาว (D158), หมอนทอง (D159), กระดุมทอง และที่ไม่มีชื่อเรียก ได้แก่ D24 และ D169 แต่ละสายพันธุ์มีรสชาติและกลิ่นต่างกันไป มี ''D. zibethinus'' มากกว่า 200 สายพันธุ์ในไทย ชาวสวนนิยมนำพันธุ์ชะนีมาทำเป็นต้นตอเพราะเป็นพันธุ์ที่ทนทานต่อเชื้อรา ''Phytophthora palmivora'' ในจำนวนสายพันธุ์ทั้งหมดในประเทศไทยมีเพียง 4 พันธุ์เท่านั้นที่นิยมปลูกเชิงพานิชย์ คือ ชะนี, กระดุมทอง, หมอนทอง และก้านยาว<ref name=Brown/> ส่วนใน[[ประเทศมาเลเซีย|มาเลเซีย]]มีมากกว่า 100 สายพันธุ์<ref>{{cite web | url =http://www.ecst.csuchico.edu/~durian/info/vk_duri.htm | title =Comprehensive List of Durian Clones Registered by the Agriculture Department (of Malaysia) | publisher =Durian OnLine | archivedate =2007-04-07 | archiveurl =https://web.archive.org/web/20070407225917/http://www.ecst.csuchico.edu/~durian/info/vk_duri.htm | accessdate =20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 | url-status =dead }}</ref>