ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิฮั่นเหวิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Maytarsit (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 8987982 โดย Armonthap (พูดคุย) ด้วยสจห.: ไม่มีอ้างอิง + ลอกมาจากเว็บอื่น
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ
บรรทัด 50:
{{จักรพรรดิราชวงศ์ฮั่น}}
 
{{อายุขัย|342|387}}
{{lifetime|-202|-157}}
[[หมวดหมู่:จักรพรรดิราชวงศ์ฮั่นตะวันตก|เหวิน]]
== สุสานจักรพรรดิฮั่นเหวินตี้ ==
วันที่ 14 ธันวาคม สื่อจีนรายงาน นักโบราณคดีจีนยืนยันว่า "สุสานป้าหลิงของจักรพรรดิฮั่นเหวินตี้” ยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ที่หมู่บ้านเจียงชุน ชานเมืองซีอัน
จักรพรรดิฮั่นเหวินตี้ มีพระนามเดิมว่า หลิว เหิง เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ทรงมีพระชนม์ชีพในช่วง 202 – 157 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 4 ในจักรพรรดิหลิวปัง-ผู้สถาปนาราชวงศ์ฮั่น และทรงเป็นจักรพรรดิองค์แรกที่สร้างความเจริญรุ่งเรืองในประวัติศาสตร์จีน
ช่วงต้นสมัยราชวงศ์ฮั่น เนื่องจากผจญสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อนานปี ทำให้เศรษฐกิจสังคมซบเซาอย่างยิ่ง จักรพรรดิฮั่นเหวินตี้จึงมีพระบรมราชโองการลดการเก็บภาษีทำไร่ไถนาครึ่งหนึ่งในปีที่ 2 แห่งการครองราชย์ และอีกครั้งในปีที่ 12 จนปลดภาษีทำนาทั้งหมดในปีที่ 13 ขณะเดียวกัน ได้งดการส่งทหารไปรบกับประเทศรอบข้าง มุ่งรักษาความสงบสุขและพัฒนาเศรษฐกิจประเทศเป็นสำคัญ และทรงเป็นจักรพรรดิที่ใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่สร้างตำหนักพระราชวังใหม่โดยไม่จำเป็น จึงได้รับการสรรเสริญยกย่องว่าเป็นแบบอย่างของสังคม และยังได้วางรากฐานที่มั่นคงให้กับ "การปกครองเหวินจิ่ง" ที่นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองของราชวงศ์ฮั่นตะวันตก
ทั้งนี้ เดิมทีบุคคลแวดวงที่เกี่ยวข้องเห็นว่า สุสานของจักรพรรดิฮั่นเหวินตี้อยู่ที่หมู่บ้านเฟิ่งหวงจุ่ย แต่หลังจากนักโบราณคดีได้ศึกษาค้นคว้ามากขึ้นแล้วยืนยันว่า สุสานใหญ่ที่หมู่บ้านเจียงชุนต่างหากที่เป็น “สุสานป้าหลิงของจักรพรรคฮั่นเหวินตี้” แก้ข้อเท็จจริงที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับสุสานจักรพรรดิสมัยฮั่นตะวันตกที่เล่าขานกันมาเกือบพันปี
สุสานใหญ่หมู่บ้านเจียงชุนตั้งอยู่เขตชานเมืองซีอัน รูปร่างของสุสานเป็นตัวอักษรจีน ความยาวประมาณ 72 เมตร ลึก 30 เมตร ทั้งยังมีหลุมอีกกว่า 110 แห่งโดยรอบกำแพงล้อมรอบยาวประมาณ 390 เมตร
นักโบราณคดีจีนได้ขุดค้นหลุม 8 แห่งรอบสุสานใหญ่ พบหุ่นดินเผา ตราประทับ เกวียนและม้าสัมฤทธิ์ เครื่องเหล็ก และเครื่องปั้นดินเผาจำนวนกว่า 1,000 ชิ้น ตัวอักษรที่สลักบนตราประทับ เช่น "โรงผลิตรถ" "โรงผลิตเครื่องมือ" "โรงพิมพ์" เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าหลุมรอบสุสานใหญ่เหล่านี้เป็นสถานที่จำลองโรงงานและคลังต่างๆ ของทางการในสมัยนั้น