ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักหอสมุดแห่งชาติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 9470690 สร้างโดย 2405:9800:BA10:501C:91C8:11B8:F36C:3C (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 5 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8.1
บรรทัด 49:
ในปีพุทธศักราช 2469 [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯให้แยกหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครออกเป็น 2 หอ คือ หอพระสมุดวชิราวุธ ตั้งอยู่ที่ตึกถาวรวัตถุเช่นเดิมให้เป็นที่เก็บหนังสือฉบับพิมพ์และ หอพระสมุดวชิรญาณ ให้ใช้เป็นที่เก็บหนังสือตัวเขียนและตู้พระธรรม
 
ปีพุทธศักราช 2476 รัฐบาลจัดตั้ง[[กรมศิลปากร]]ขึ้นและมี[[พระราชกฤษฎีกา]]แบ่งส่วนราชการกำหนดให้หอพระสมุดสำหรับพระนคร มีฐานะเป็นกองหนึ่งในกรมศิลปากรเรียกว่า กองหอสมุดและได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อหอพระสมุดสำหรับพระนครเป็น[[หอสมุดแห่งชาติ]]ในเวลาต่อมา จนถึงพุทธศักราช 2505 รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติเป็นอาคารทรงไทย สูง 5 ชั้นขึ้น ที่บริเวณท่าวาสุกรี ถนนสามเสน และได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2509 สำนักหอสมุดแห่งชาติ เป็นอาคารทรงไทย 5 ชั้น บนเนื้อที่ประมาณ 17 ไร่ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ท่าวาสุกรี ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร สังกัด[[กรมศิลปากร]] [[กระทรวงวัฒนธรรม]]<ref>[http://www.nlt.go.th/th_about.htm ความเป็นมาของสำนักหอสมุดแห่งชาติ จากเว็บไซต์หอสมุดแห่งชาติ] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20091211213323/http://www.nlt.go.th/th_about.htm |date=2009-12-11 }} เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553</ref>
 
==การรวบรวมหนังสือ==
บรรทัด 74:
== หนังสือ ==
=== หนังสือทั่วไป ===
หนังสือทั่วไป ประกอบด้วย หนังสือนานาชาติ ภาษาญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศส ลาว อารบิค สังคมศาสตร์ ภาษาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เบ็ดเตล็ด ศิลปะ วรรณคดี ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ ส่วนภายในห้องสมุด[[หลวงวิจิตรวาทการ]] มีหนังสือเกี่ยวกับประเทศไทย หนังสือจีน งานนิพนธ์ของหลวงวิจิตรวาทการ หนังสือและต้นฉบับลายมือ เครื่องใช้หลวงวิจิตรวาทการ และภายในห้องสมุดพระยาอนุมานราชธน มีหนังสือศิลปะ วรรณคดี ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ภาษาอังกฤษ นวนิยาย และหนังสือ สิ่งของเครื่องใช่ส่วนตัว ของที่ระลึกของ[[พระยาอนุมานราชธน]]<ref>[{{Cite web |url=https://www.nlt.go.th/th/node/231 |title=หนังสือทั่วไป] |access-date=2018-06-07 |archive-date=2017-11-02 |archive-url=https://web.archive.org/web/20171102150207/http://www.nlt.go.th/th/node/231 |url-status=dead }}</ref>
 
=== เอกสารโบราณ ===
ห้องบริการเอกสารโบราณ มีเอกสารโบราณประเภทจารึก หนังสือสมุดไทย คัมภีร์ใบลาน ยังมีคัมภีร์ใบลานฉบับหลวง สร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีบางส่วนเก็บไว้ที่ห้องเอกสารโบราณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ แต่เอกสารส่วนใหญ่เก็บไว้ที่หอมนเฑียรธรรม ในพระบรมมหาราชวัง และภายในหอสมุดยังมี[[พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐ]] นอกเหนือจากเอกสารโบราณยังเก็บ [[ตู้ปิดทองลาดรดน้ำ]] [[ศิลาจารึก]] อีกด้วย<ref>[{{Cite web |url=https://www.nlt.go.th/th/node/230 |title=เอกสารโบราณ] |access-date=2018-06-07 |archive-date=2017-11-10 |archive-url=https://web.archive.org/web/20171110001301/http://www.nlt.go.th/th/node/230 |url-status=dead }}</ref>
=== หนังสือหายาก ===
หนังสือหายากและเอกสารที่มีคุณค่าเป็นมรดกทรัพย์สินทางปัญญาของชาติทั้งด้านเนื้อหาและด้านการพิมพ์ คือหนังสือและเอกสารที่มีอายุประมาณ 50-150 ปี ได้แก่ หนังสือหายากเช่น พระราชนิพนธ์ พระนิพนธ์ หนังสือส่วนพระองค์ของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] [[พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น ๆ หนังสือที่พิมพ์ในระยะเริ่มแรก หนังสือฉบับพิมพ์ครั้งแรก และพิมพ์ในโอกาสพิเศษต่าง ๆ รวมทั้งหนังสือที่มีความโดดเด่น มีรูปเล่มสวยงาม และมีภาพประกอบที่ทรงคุณค่า<ref>[{{Cite web |url=https://www.nlt.go.th/th/node/229 |title=หนังสือหายาก] |access-date=2018-06-05 |archive-date=2017-11-02 |archive-url=https://web.archive.org/web/20171102145442/http://www.nlt.go.th/th/node/229 |url-status=dead }}</ref>
 
ตัวอย่างของหนังสือหายากเช่น หนังสือ[[บางกอกรีคอร์เดอร์]] ซึ่งถือเป็นหนังสือพิมพ์ไทยฉบับแรกพิมพ์ปี พ.ศ. 2483 หรือหนังสือพระราชนิพนธ์เรื่อง[[ไกลบ้าน]] ฉบับพิมพ์ครั้งแรก ปี ร.ศ.93 หรือปี พ.ศ. 2417<ref>[https://www.thairath.co.th/content/205822 ทุ่ม 438 ล้านปรับโฉมหอสมุดชาติหวังดึงนักอ่าน]</ref>
บรรทัด 86:
* '''อาคาร 1 หอสมุดแห่งชาติ''' มีห้องบริการหนังสือความรู้ทั่วไป ปรัชญา ศาสนา สังคมศาสตร์ ภาษาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มุมทรัพยากรสารสนเทศเกาหลี ศิลปะ วรรณคดี ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หนังสือเกี่ยวกับประเทศไทย ทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีน และเก็บวารสารและหนังสือพิมพ์เย็บเล่ม และฉบับล่วงเวลา
* '''อาคาร 2 หอสมุดแห่งชาติ''' เก็บวิทยานิพนธ์และวิจัย หนังสือหายาก หนังสือตัวเขียนและจารึก (เอกสารโบราณ)
* '''หอวชิราวุธานุสรณ์''' สร้างขึ้นเพื่อฉลองวันพระบรมราชสมภพครบ 100 ปี ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2524 เป็นอาคารทรงไทย 3 ชั้น<ref>[{{Cite web |url=https://www.nlt.go.th/th/node/140 |title=หอวชิราวุธานุสรณ์] |access-date=2018-06-07 |archive-date=2017-11-03 |archive-url=https://web.archive.org/web/20171103072231/http://www.nlt.go.th/th/node/140 |url-status=dead }}</ref>
* '''หอสมุดดนตรี''' ประกอบด้วยหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่รวบรวมเพลงพระราชนิพนธ์ทุกรูปแบบ เป็นศูนย์ค้นคว้างานวิชาการทางด้านดนตรี และ ห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร เป็นศูนย์ข้อมูลทางวิชาการทางดนตรีสำหรับใช้ศึกษาค้นคว้า วิจัยดนตรีไทย ไทยสากล ไทยลูกทุ่ง และเพลงพื้นเมืองดนตรีต่างประเทศ
* '''หอสมุดดำรงราชานุภาพ''' ตั้งอยู่บริเวณ[[วังวรดิศ]] มีหนังสือส่วนพระองค์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และหนังสือพระราชนิพนธ์ตลอดจนหนังสือที่เกี่ยงข้องโดยเน้นในสาขาประวัติศาสตร์โบราณคดี วรรณคดี การเมืองการปกครอง การท่องเที่ยว ศาสนาและขนบประเพณี ฯลฯ รวมถึงจัดแสดงของใช้ส่วนพระองค์