ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 50:
 
=== ยุทธการที่ฝรั่งเศส ===
[[ไฟล์:Bundesarchiv_Bild_146-1973-023-19,_Frankreich,_Günther_v._Kluge,_Adolf_Hitler.jpg|thumb|Klugeคลูเกอกับฮิตเลอร์ในช่วงเยี่ยมเยียนกองทหารในฝรั่งเศส with Hitler during a troop visit in France,ค.ศ. 1940]]
 
{{โครงส่วน}}
ในการเตรียมความพร้อมสำหรับฟัลเก็ลพ์ ("กรณีเหลือง") [[ยุทธการที่ฝรั่งเศส|การบุกครองฝรั่งเศส]] คลูเกอและกองทัพที่ 4 ได้ถูกย้ายไปอยู่ในกองทัพกลุ่มเอภายใต้บัญชาการของ[[แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท]]{{sfn|Horne|1969|pp=204–207}} ฮิตเลอร์ยังคงมองหาทางเลือกที่ดูก้าวร้าวมาแทนที่ในแผนการเดิม ได้ยอมรับความคิดของ[[เอริช ฟ็อน มันชไตน์]] ซึ่งเป็นที่รู้จักกันคือ [[แผนมันชไตน์]] ภายหลังการประชุมกับพวกเขา เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1940{{sfn|Horne|1969|pp=204–207}} แผนการได้ระบุว่า กองทัพที่ 4 จะให้การสนับสนุนเพื่อเข้าโจมตีผ่านภูมิประเทศ[[อาร์แดน]]ที่ดูขรุขระจากทางตอนใต้ของเบลเยียมและลักเซมเบิร์กมุ่งหน้าไปยังแม่น้ำเมิซ คลูเกอได้มอบหมายให้กองทัพน้อยกองทัพบกที่ 15 ทำการห้อมล้อมกองพลยานเกราะที่ 5 และที่ 7 เพื่อจัดตั้งปีกคุ้มกันแก่กองทัพน้อยของ Georg-Hans Reinhardt โดยการข้ามแม่น้ำเมิซที่ Dinant{{sfn|Horne|1969|p=208}}
 
การเปิดฉาก เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม กรณีเหลืองเริ่มประสบความสำเร็จ กองทัพน้อยของคลูเกอได้เข้ารุกอย่างรวดเร็ว จนมาถึงแม่น้ำเมิซในสองวัน{{sfn|Barnett|1989|pp=397–398}} ในการข้ามแม่น้ำ ผู้นำหัวหอกโดย[[แอร์วีน ร็อมเมิล]] ผู้บัญชาการยานเกราะที่ 7 ได้สร้างหัวสะพานบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเมิซ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม และบีบบังคับให้กองทัพฝรั่งเศสที่ 9 ต้องล่าถอย{{sfn|Horne|1969|pp=324–326; 329–331}} กองกำลังของคลูเกอ - โดยเฉพาะกองพลยานเกราะที่ 7 ได้ประสบความเร็วในการบุกทะลวงอย่างรวดเร็วจากหัวสะพานของพวกเขาในวันต่อมา ระหว่างวันที่ 16 และ 17 พฤษภาคม ร็อมเมิลได้จับกุมเชลยศึกจำนวน 10,000 นาย และยึดรถถัง 100 คัน และกวาดล้างกองทัพฝรั่งเศสที่ 9 ที่หลงเหลืออยู่โดยสูญเสียกำลังคนไปเพียง 35 นาย{{sfn|Horne|1969|pp=472–479}} ด้วยการเคลื่อนทัพที่ยาวไกลเกินไปและนำหน้าอย่างเต็มที่ของกองทัพกลุ่ม กองพลยานเกราะที่ 5 และที่ 7 ได้ป้องกัน[[ยุทธการที่อารัส (ค.ศ. 1940)|การโจมตีตอบโต้กลับร่วมกัน]]ของบริติช-ฝรั่งเศส ใกล้กับเมืองอารัส เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม{{sfn|Barnett|1989|pp=399–400}}
 
หลังจากการประชุมกับฮิตเลอร์และรุนท์ชเต็ท คลูเกอได้ออกคำสั่งแก่หน่วยยานเกราะของเขาให้หยุด เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ซึ่งอยู่ห่างระยะทางเพียง 16 กิโลเมตร(9.9 ไมล์) จาก[[เดิงแกร์ก]] ซึ่งในขณะนั้นเป็นเส้นทางการหลบหนีที่เป็นไปได้สำหรับ[[กองกำลังรบนอกประเทศบริติช (สงครามโลกครั้งที่สอง)|กองกำลังรบนอกประเทศบริติช]]{{sfn|Barnett|1989|pp=399–400}} การหยุดพักชั่วคราวเพียงสองวันทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรทำการรวบรวมกำลังคนบริเวณรอบเดิงแกร์กและเตรียมความพร้อมสำหรับ[[การถอนทัพที่เดิงแกร์ก|การอพยพ]]{{sfn|Barnett|1989|pp=399–400}} เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ณ จุดเริ่มต้นของ[[ฟัลโรท]] (กรณีแดง) ระยะที่สองของแผนการบุกครอง กองทัพที่ 4 ของคลูเกอได้ช่วยเหลือในการบรรลุการบุกทะลวงครั้งแรกที่อาเมียงและมุ่งหน้าไปถึง[[แม่น้ำแซน]] เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน{{sfn|Barnett|1989|pp=401–402}}{{sfn|Horne|1969|pp=641–643}} การบัญชาการของคลูเกอและการนำทัพของร็อมเมิลในช่วงตลอดของการบุกครองทำให้เขาได้รับเลื่อนตำแหน่งยศเป็น[[จอมพล (เยอรมัน)|แกเนอราลเฟ็ลท์มาร์ชัล]](จอมพล) เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม{{sfn|Barnett|1989|pp=401–402}}
 
=== การบุกครองสหภาพโซเวียต ===
{{บทความหลัก|ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา|สงครามของการทำลายล้าง}}คลูเกอได้บัญชาการแก่กองทัพที่ 4 ในการเปิดฉาก[[ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา]] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพกลุ่มกลาง นอกเหนือจากการบัญชาการของเขา กองทัพกลุ่มซึ่งรวมทั้งกองทัพบกภาคสนาม กองทัพที่ 9 และขบวนเคลื่อนที่เร็วสองหน่วย กลุ่มยานเกราะที่ 2 (ไฮนทซ์ กูเดรีอัน) และที่ 3 (แฮร์มันน์ โฮท){{sfn|Glantz|House|2015|p=35}}
{{โครงส่วน}}
 
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน คลูเกอได้ออกคำสั่งว่า ผู้หญิงที่อยู่ในชุดเครื่องแบบจะต้องถูกยิงทิ้ง ตามที่สอดคล้องกับโลกทัศน์ในอุดมการณ์นาซี ซึ่งถือว่า ผู้ต่อสู้รบที่เป็นผู้หญิงเป็นการแสดงให้เห็นถึงรูปแบบหนึ่งของลัทธิบอลเชวิคที่ดู"ป่าเถื่อน" ซึ่งบทบาททางเพศตามธรรมชาติได้พลิกกลับ คำสั่งดังกล่าวได้ถูกยกเลิกในวันต่อมา และให้จับกุมผู้หญิงที่อยู่ในชุดเครื่องแบบแทน{{sfn|''Die Zeit''|2011}} เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม [[กองบัญชาการใหญ่กองทัพบกเยอรมัน]] (OKH) ได้ส่งมอบกลุ่มยานเกราะที่ 2 และที่ 3 ให้อยู่ภายใต้บัญชาการของคลูเกอ เพื่อปรับปรุงการประสานงานระหว่างหัวหอกยานเกราะที่เคลื่อนที่เร็วและทหารราบที่เชื่องช้า ผลลัพธ์ได้ก่อตัวขึ้นทำให้เกิดสามัคคีบนกระดาษ ในความเป็นจริง ผู้บัญชาการกลุ่มยานเกราะมักจะขัดคำสั่งของคลูเกอและกูเดรีอัน และคลูเกอหมั่นไส้แต่ละคนเป็นการส่วนตัว{{sfn|Glantz|House|2015|p=62}}<ref>https://www.youtube.com/watch?v=0GogjX5SppE&t=419s</ref> คลูเกอได้ยอมแพ้ทั้งหมดยกเว้นแต่กองทัพน้อยทหารราบสองหน่วยของเขา กองทัพน้อยหน่วยอื่น ๆ ของเขาได้รับมอบหมายให้เป็นกองทัพที่ 2 ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ถูกจัดให้เป็นกองกำลังสำรอง{{sfn|Klink|1998|p=527}}
 
ด้วยการคาดหวังว่า สงครามในระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งไม่มีความจำเป็นในการแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานโซเวียตสำหรับความพยายามในการทำสงครามของเยอรมัน กองบัญชาการใหญ่และผู้นำทางทหารไม่ได้เตรียมความพร้อมที่เพียงพอสำหรับที่พักเชลยศึกและพลเรือนที่ถูกคุมขัง ในเขตบังคับบัญชาการของคลูเกอ เชลยศึก 100,000 นายและพลเรือน 40,000 คนได้ถูกต้อนเข้าไปในค่ายกลางแจ้งขนาดเล็กในมินสค์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1941 ท่ามกลางสภาพที่ดูทรุดโทรมและความอดอยากในค่าย [[องค์การท็อท|องค์กรท็อท]]ได้ร้องขอให้คลูเกอปล่อยคนงานที่มีความสามารถจำนวน 10,000 คน คลูเกอได้ปฏิเสธและต้องการตัดสินใจเกี่ยวกับนักโทษด้วยตัวเขาเอง{{sfn|Müller|1998|pp=1146–1147}}
 
ในส่วนหนึ่งของ[[แผนความหิว]] ซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลักของสงครามของการทำลายล้างกับสหภาพโซเวียต แวร์มัคท์ส่วนใหญ่คาดหวังว่า "พื้นที่ที่จะได้อยู่อาศัย" ดังนั้น การฉกชิงทรัพย์ การปล้นสะดม และการกระทำทารุณต่อประชากรพลเรือนได้ลุกลามมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ด้านหลัง ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1941 คลูเกอได้ออกคำสั่งให้กองทหารของเขามุ่งเป้าไปที่การฟื้นฟูกฎระบียบวินัย โดยกล่าวว่า "ถึงเวลาแล้วที่จะต้องยุติวิธีการได้รับเสบียงอย่างไม่ยุติธรรม การโจมตีโฉบฉวย การเที่ยวปล้นสะดมในระยะทางอันกว้างใหญ่ การกระทำที่ไร้สติและอาชญากรรมทั้งหมด " คลูเกอได้ข่มขู่ว่าจะใช้มาตรการรุนแรงต่อผู้รับผิดชอบพร้อมกับผู้บัญชาการทหารระดับสูงของพวกเขาที่ล้มเหลวในการรักษากฎระบียบวินัย{{sfn|Förster|1998|pp=1210–1211}}
 
=== ยุทธการที่มอสโก ===
{{บทความหลัก|ยุทธการที่มอสโก|}}
{{โครงส่วน}}
[[ไฟล์:Bundesarchiv_Bild_101I-141-1258-08,_Russland-Mitte,_Soldaten_der_französischen_Legion,_Hans_Günter_v._Kluge.jpg|thumb|คลูเกอได้ตรวจแถว[[กองพันทหารอาสาสมัครฝรั่งเศสต่อต้านบอลเชวิค|กองพันทหารอาสาสมัครชาวฝรั่งเศส]] ซึ่งเป็นฝ่ายให้ความร่วมมือของฝรั่งเศส พฤศจิกายน ค.ศ. 1941.]]
ในช่วง[[ปฏิบัติการไต้ฝุ่น]] เยอรมันได้เข้ารุกสู่กรุงมอสโก คลูเกอได้กลุ่มยานเกราะที่ 4 ภายใต้บัญชาการโดย[[เอริช เฮิพเนอร์]] ซึ่งมาอยู่ใต้บังคับบัญชาการของกองทัพที่ 4 ในช่วงต้นเดือนตุลาคม กลุ่มยานเกราะที่ 4 ได้ทำ[[ยุทธการที่มอสโก|การโอบล้อมที่ Vyazma อย่างสมบูรณ์]] ด้วยความไม่พอใจอย่างมากของเฮิพเนอร์ คลูเกอได้สั่งให้เขาหยุดการรุก เนื่องจากหน่วยของเขามีความจำเป็นเพื่อขัดขวางการตีฝ่าวงล้อมของกองทัพโซเวียต เฮิพเนอร์นั้นมีความมั่นใจว่า จะสามารถเคลียร์วงล้อมและรุกเข้าสู่กรุงมอสโกซึ่งสามารถทำได้ในเวลาเดียวกัน เขามองว่า การกระทำของคลูเกอเป็นการแทรกแซง ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งและ"การปะทะ" กับหัวหน้าของเขา ในขณะที่เขาได้เขียนจดหมายไปทางบ้าน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม{{sfn|Stahel|2013|pp=74–75, 95}} ดูเหมือนว่า เฮิพเนอร์จะไม่ปลื้มที่หน่วยของเขามีเชื้อเพลิงน้อยมาก กองพลยานเกราะที่ 11 ได้รายงานว่าไม่มีเชื้อเพลิงเลย มีเพียงแต่กองพลยานเกราะที่ 20 ซึ่งมุ่งหน้าเข้าสู่กรุงมอสโกท่ามกลางสภาพถนนที่ทรุดโทรม{{sfn|Stahel|2013|p=95}}
 
วันที่ 17 พฤศจิกายน กลุ่มยานเกราะที่ 4 เข้าโจมตีมอสโกอีกครั้งพร้อมกับกองทัพน้อยกองทัพที่ 5 ของกองทัพที่ 4 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการไต้ฝุ่นโดยกองทัพกลุ่มกลาง กลุ่มยานเกราะและกองทัพน้อยกองทัพบกได้แสดงให้เห็นแล้วว่าเป็นกองกำลังที่ดีที่สุดของคลูเกอ ซึ่งมีความพร้อมอย่างมากสำหรับการรุกอย่างต่อเนื่อง ในการสู้รบสองสัปดาห์ กองทัพเยอรมันได้เข้ารุกเพียงระยะทาง 60 กิโลเมตร (37 ไมล์)(4 กิโลเมตร (2.5 ไมล์) ต่อวัน){{sfn|Stahel|2015|p=228}} การขาดแคลนรถถัง การขนส่งทางรถยนต์ที่ไม่เพียงพอ และสถานการณ์ด้านเสบียงที่ดูล่อแหลม พร้อมกับการต้านทานที่เหนี่ยวแน่นของกองทัพแดง และอำนาจเหนือน่านฟ้าที่ทำได้โดยเครื่องบินรบของโซเวียตได้เข้าขัดขวางการโจมตี{{sfn|Stahel|2015|pp=240–244}}
 
เมื่อเผชิญแรงกดดันจากกองบัญชาการใหญ่ ในที่สุดคลูเกอได้ส่งกองกำลังเข้าโจมตีปืกใต้ที่อ่อนแอ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ในภายหลังจากการสู้รบ เฮิพเนอร์และกูเดรีอันได้กล่าวโทษความมุ่งมั่นที่ล่าช้าของคลูเกอที่ปีกใต้ของกองทัพที่ 4 เพื่อเข้าโจมตีสำหรับความล้มเหลวของเยอรมันในการเข้าถึงมอสโก นักประวัติศาสตร์ที่ชื่อว่า David Stahel ได้เขียนว่า การประเมินผลครั้งนี้ได้ประเมินความสามารถสูงเกินไปอย่างไม่ลดละของกองกำลังที่เหลืออยู่ของคลูเกอ{{sfn|Stahel|2015|pp=229–230}} พวกเขายังมองไม่เห็นถึงความเป็นจริงที่ว่ากรุงมอสโกเป็นเมืองขนาดใหญ่ และกองกำลังเยอรมันก็ขาดแคลนกำลังคนจำนวนมากเพื่อการโอบล้อม ด้วยแนวป้องกันชั้นนอกได้เสร็จสิ้นในวันที่ 25 พฤศจิกายน มอสโกจึงเป็นตำแหน่งที่มีป้อมปราการซึ่งแวร์มัคท์ขาดแคลนกำลังคนเพื่อเข้าจู่โจมส่วนหน้า การโจมตีที่ไกลห่างออกไปได้ถูกยกเลิก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม กองทัพแดงได้เปิดฉากการรุกตอบโต้กลับฤดูหนาวในวันเดียวกัน{{sfn|Stahel|2015|pp=306–307}}
 
=== กองทัพกลุ่มกลาง ===