ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 37:
 
ในปี ค.ศ. 1901 คลูเกอได้รับหน้าที่ในกรมทหารปืนใหญ่ภาคสนามที่ 46 แห่งกองทัพบกปรัสเซีย เขาได้ทำหน้าที่ใน[[คณะเสนาธิการใหญ่ (เยอรมนี)|คณะเสนาธิการทั่วไป]] ระหว่างปี ค.ศ. 1910 และ ค.ศ. 1918 ได้รับเลื่อนตำแหน่งยศเป็นร้อยเอกบนแนวรบด้านตะวันตกในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขายังคงประจำการอยู่ใน[[ไรชส์แวร์]]ภายหลังความขัดแย้ง จนได้เป็นพันเอกในปี ค.ศ. 1930 พลตรีในปี ค.ศ. 1933 และพลโทในอีกหนึ่งปีต่อมา{{sfn|Barnett|1989|pp=395–396}} วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1934 คลูเกอได้บัญชาการแก่กองพลที่ 6 ใน[[มึนส์เทอร์]]{{sfn|Barnett|1989|pp=395–396}} คำประกาศ[[แวร์มัคท์]]ของ[[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]]ในปี ค.ศ. 1935 ได้เร่งรัดการกำหนดของเขาให้กับกองพลน้อยที่ 6 และกองทัพกลุ่มที่ 6 ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกองทัพที่ 4 {{sfn|Barnett|1989|pp=395–396}}
 
 
คลูเกอเชื่อว่า "ลัทธิแสนยนิยมที่หยาบประด้าง" ของฮิตเลอร์จะนำพาเยอรมนีไปสู่หายนะ ในช่วงวิกฤตการณ์ซูเดเทินลันท์ เขาเป็นสมาชิกของกลุ่มลับต่อต้านสงครามซึ่งนำโดย[[ลูทวิช เบ็ค]] และ Ernst von Weizsäcker ได้คาดหวังว่าจะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในดินแดนข้อพิพาท วิกฤตดังกล่าวได้ถูกเบี่ยงเบนโดย[[ข้อตกลงมิวนิก]] เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1938 แม้ว่าเขาจะวิพากษ์วิจารณ์ถึงพวกนาซีเป็นการส่วนตัว แต่คลูเกอมีความเชื่อมั่นในหลักการของ[[เลเบินส์เราม์]] (พื้นที่อยู่อาศัย) และภาคภูมิใจในการฟื้นแสนยานุภาพของแวร์มัคท์{{sfn|Barnett|1989|pp=396–398}}