ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปาโบล ปิกาโซ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Security Thainam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ควรเป็น ข ในคำว่า เข้า ไม่ไช่ เช้า
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 44:
บาศกนิยมเป็นยุคความเคลื่อนไหวทางศิลปะล้ำยุคในศตวรรษที่ 20 ริเริ่มโดยปิกาโซ และ[[ฌอร์ฌ บรัก]] ได้เปลี่ยนรูปโฉมของจิตรกรรมและประติมากรรมยุโรป รวมไปถึงดนตรีและงานเขียนที่เกี่ยวข้อง สาขาแรกของบาศกนิยมเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "[[บาศกนิยมแบบวิเคราะห์]]" (analytical cubism) เป็นความเคลื่อนไหวทางศิลปะที่มีอิทธิพลรุนแรงและมีความสำคัญอย่างมากในฝรั่งเศส แม้จะเป็นช่วงเวลาที่ไม่นานนักระหว่าง ค.ศ. 1907–1911 ความเคลื่อนไหวในช่วงที่สองนั้นถูกเรียกว่า "[[บาศกนิยมแบบสังเคราะห์]]" (synthetic cubism) ได้แพร่กระจายและตื่นตัวจนกระทั่ง ค.ศ. 1919 เมื่อความเคลื่อนไหวของลัทธิเหนือจริงเป็นที่นิยม
 
ปิกาโซและบราคพยายามเน้นคุณค่าของปริมาตรกับอากาศซึ่งสัมพันธ์กันเต็มไปหมดในภาพ อีกทั้งไม่เห็นด้วยในหลักการของผู้นิยม[[ลัทธิประทับใจ]] ซึ่งละเลยความสำคัญของรูปทรงและปริมาตร ศิลปินต่างสำรวจความละเอียดของสิ่งที่พวกเขาต้องการวาด ด้วยการทำลายรูปทรงเหล่านั้นให้กลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยไม่ปะติดปะต่อกัน รูปทรงบางรูปอาจทับซ้อนกัน หรือเหลื่อมล้ำกันและกัน โดยมีจุดประสงค์สำคัญในเรื่องปริมาตรเป็นเป้าหมายสูงสุด การสร้างภาพที่มีการจัดวางแบบผสมผสานแปลกใหม่ ไม่เน้นกฎเกณฑ์ และนำเสนอภาพแง่มุมต่าง ๆ และที่สำคัญศิลปินทั้งสองเน้นว่า ผลงานบาศกนิยมไม่ใช่งานสามมิติ แต่มีมิติที่สี่เช้าเข้ามา ซึ่งได้แก่ มิติของเวลา ที่สัมพันธ์กับการรับรู้ของมนุษย์ พร้อมกันนี้อันนาสันได้เปรียบเทียบระหว่าง[[คติโฟวิสต์]]กับบาศกนิยมไว้ว่า แนวทางของคติโฟวิสต์มีลักษณะการสร้างงานในการใช้สีที่โดดเด่นกว่าลัทธิอื่น แต่การนำเสนอรูปร่างของคนที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ในขณะที่บาศกนิยมสามารถนำไปเป็นแนวทางการสร้างศิลปะลัทธิอื่น ๆ ได้ต่อไป เช่น [[ลัทธิเค้าโครง|งานโครงสร้าง]] (constructivism) [[ลัทธิเหนือจริง|งานเหนือจริง]] (surrealism) รูปแบบของ[[บาศกนิยม]] เป็นต้น
 
ในผลงานศิลปะของบาศกนิยมนั้น วัตถุจะถูกทำให้แตกเป็นชิ้น วิเคราะห์ และประกอบกลับขึ้นมาใหม่ในรูปลักษณ์ที่เป็นนามธรรมแทนที่จะแสดงวัตถุให้เห็นจากเพียงมุมมองเดียว จิตรกรนั้นได้ถ่ายทอดวัตถุจากหลายแง่มุมเพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงวัตถุที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่กว้างขึ้น บ่อยครั้งนักที่ผืนราบดูเหมือนจะตัดกันในมุมที่เป็นไปโดยบังเอิญ ปราศจากความสอดคล้องของความลึก ส่วนพื้นหลังและผืนราบแทรกเข้าไปในระหว่างกันและกันเพื่อที่จะทำให้เกิด พื้นที่ที่ไม่ชัดเจนอย่างผิวเผิน ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณลักษณะเฉพาะของบาศกนิยม