ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามสยาม-เวียดนาม พ.ศ. 2327"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''สงครามสยาม-เวียดนาม พ.ศ. 2327''' เป็นสงครามความขัดแย้งระหว่างสยามรัตนโกสินทร์ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก กับเวียดนามราชวงศ์เตยเซิน (Tây Sơn dynasty) ในประ...
 
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 31:
เจืองวันดารายงานสถานการณ์ขอความช่วยเหลือไปยังพระเจ้าท้ายดึ๊กเหงียนญัค ซึ่งเป็นประมุขของฝ่ายเตยเซินที่เมืองกวิเญิน เหงียนญัคจึงมีพระราชโองการให้อนุชาคือเหงียนเหวะยกทัพจำนวน 20,000 คน มาช่วยเจืองวันดาต่อสู้กับทัพสยาม เหงียนเหวะยกทัพเรือมาตั้งที่เมืองหมีทอหรือสมิถ่อในเดือนมกราคมพ.ศ. 2328 เอกสารฝ่ายเวียดนามระบุว่าเหงียนเหวะพยายามที่จะเจรจากับฝ่ายสยามด้วยการถวายของมีค่าแด่กรมหลวงเทพหริรักษ์ ให้ฝ่ายสยามเลิกสนับสนุนองเชียงสือและมาเป็นไมตรีกับเตยเซินแทน ฝ่ายองเชียงสือได้มอบหมายให้หมักตื๊อซิญจัดเตรียมเรือไว้ในกรณีที่พ่ายแพ้และต้องหลบหนี เหงียนเหวะจัดทัพตั้งซุ่มไว้ที่สักเกิ่ม (Rạch Gầm) และสว่ายมุ๊ต (Xoài Mút) ริมสองฝั่งริมฝั่งแม่น้ำโขงซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำโขงแคบลงใกล้กับหมีทอเพื่อซุ่มโจมตีฝ่ายไทย
 
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2328 กรมหลวงเทพหริรักษ์มีพระราชโองการบัญชาให้พระยาวิชิตณรงค์ตั้งรักษาเป็นทัพหลังอยู่ที่บ้านป่ายุง (Ba Giồng) และเสด็จนำทัพเรือจากซาเด๊ก เข้าโจมตีเหงียนเหวะที่หมีทอ ในวันที่ ทัพฝ่ายสยามล่องตามแม่น้ำโขงมาถึงสักเกิ่มและสว่ายมุ๊ต จุดที่เหงียนเหวะได้เตรียมซุ่มไว้ นำไปสู่'''การรบที่สักเกิ่ม-สว่ายมุ๊ต''' (Battle of Rạch Gầm-Xoài Mút) ทัพฝ่ายเตยเซินได้เข้าปิดล้อมทางหัวและท้ายของทัพฝ่ายสยาม ทำให้ทัพฝ่ายสยามถูกล้อมทั้งหน้าและหลัง ทัพเตยเซินเข้าโจมตีกระหนาบสองข้างทำให้ทัพเรือสยามทิ้งเรือหนีขึ้นบกพ่ายแพ้แตกพ่ายไป<ref name=":2" /> ในเวลานั้นเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำท่วมเจิ่งนองไปทั่งสมรภูมิ สร้างความลำบากให้แต่ทัพฝ่ายสยามในการถอยทางบก ข้าหลวงในกรมหลวงเทพหริรักษ์หากระบือได้ตัวหนึ่ง ให้ทรงกระบือลุยน้ำเสด็จไปยังกัมพูชา<ref name=":2" /> ฝ่ายองเชียงสือซึ่งได้เตรียมเรือไว้ก่อนหน้าแล้ว ล่องเรือกลับมาถึงกัมพูชาเช่นกัน องเชียงสือได้รับความลำบากขาดแคลนอาหารจนกระทั่งเหงียนวันถ่าญ (Nguyễn Văn Thành 阮文誠) คนสนิทขององเชียงสือจำต้องปล้นหาอาหารมาประทังเลี้ยงองเชียงสือผู้เป็นนายของตน
 
== อ้างอิง ==