ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ. 2452"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Somsak Ung (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NoNameCU (คุย | ส่วนร่วม)
ยกเหตุการณ์การมอบเมืองมลายูจากสยามให้อังกฤษ และทรรศนะของรัฐบาลสยาม ที่แสดงความต้องการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์
บรรทัด 21:
 
แม้สยามจะต้องสูญเสียดินแดนกว่า 38,000 ตารางกิโลเมตร แต่[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ได้เคยมีพระราชดำริต่อดินแดนส่วนนี้ว่า "เราไม่มีผลประโยชน์เป็นพิเศษแต่อย่างใดในบรรดาหัวเมืองเหล่านี้…หากเราต้องสูญเสียหัวเมืองเหล่านี้ให้แก่อังกฤษ เราจะขาดแต่เพียง[[ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง|ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง]] นอกเหนือไปจากเครื่องราชบรรณาการนี้แล้ว ก็ไม่มีการสูญเสียทางด้านวัตถุอื่นใดอีก..."<ref> ชารอม อาหมัด. ความสัมพันธ์ระหว่างเคดาห์กับสยาม (๒๕๒๘). หน้า ๑๑๙-๑๒๐. อ้างถึงใน ครองชัย หัตถา. ปัตตานี. หน้า ๑๑๑.</ref> อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญาฉบับนี้ทำให้[[สุลต่านอับดุล ฮามิด ฮาลิมแห่งเกอดะฮ์|สุลต่านไทรบุรี]]โกรธเคืองมาก โดยตรัสว่า "ประเทศของฉัน ประชาชนของฉัน ถูกขายไปเหมือนกับการขายลูกวัว ฉันให้อภัยคนซื้อซึ่งไม่มีพันธะกับฉันได้ แต่ฉันให้อภัยคนขายไม่ได้"<ref>อ.บางนรา. ปัตตานี : อดีต-ปัจจุบัน. หน้า ๑๖๔-๑๖๕. อ้างถึงใน ทวีศักดิ์ เผือกสม. “อยุธยาในเงื้อมมือของปัตตานี : ประวัติศาสตร์นิพนธ์ของปัตตานีและบทสนทนาระหว่างศูนย์กลางกับท้องถิ่นในการเขียนประวัติศาสตร์” (เอกสารต้นฉบับ, กำลังจะตีพิมพ์), หน้า ๔๔.</ref>
 
รัฐบาลสยามไม่มีท่าทีที่แสดงความลังเลหรือต้องการเมืองประเทศราชเหล่านี้ไว้ โดยพิจารณาตามเอกสารประชุมเสนาบดีรัชกาลที่ 5 เกี่ยวกับเรื่องเขตแดนในแหลมมลายูก่อน ลงนามสนธิสัญญากับอังกฤษปี พ.ศ. 2452 “...ในเวลานี้เรายังมีของที่มีราคาอยู่ จึงควรถือเอาราคาอันนี้แลกเปลี่ยนกับสิ่งอื่น...” ตามความหมายของข้อความดังกล่าว คือ การใช้หัวเมืองมลายูเหล่านี้เป็นสิ่งแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ที่จะได้รับจากอังกฤษ บ่งชี้ได้ว่ารัฐบาลสยามพร้อมที่จะผลักเอาพันธะของเมืองเหล่านี้ในระบบการปกครองแบบจารีตออกไป เพราะเหตุผลจากข้อความข้างต้นที่ได้ยกมาสื่อความถึงสยามจะไม่ได้ประโยชน์จากเมืองเหล่านี้ และไม่สามารถเข้าไปมีบทบาทในการพัฒนาประเทศราชได้อย่างเต็มกำลังสามารถ รวมถึงในอนาคตหัวเมืองมลายูจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศของสยาม เนื่องจากพื้นที่หัวเมืองมลายูโดยเฉพาะเมืองกลันตัน และตรังกานู ในประวัติศาสตร์ของสยามเมืองเหล่านี้ห่างไกลจากการรับรู้และเป็นหัวเมืองประเทศราชอย่างแท้จริง เหตุการณ์ยกเมืองไทรบุรีให้แก่อังกฤษ มีการอัญเชิญจดหมายพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพในฐานะรัฐบาลสยาม แสดงความขอบใจในความภักดีของสุลต่านที่มีต่อพระมหากษัตริย์สยามตั้งแต่อดีตเรื่อยมา<ref>ชัยวัฒน์ ปะสุนะ. (2564). “รัฐบาลสยามกับการจัดการปกครอง 4 หัวเมืองมลายู (ไทรบุรี ปะลิส กลันตัน และตรังกานู) ระหว่าง ค.ศ. 1873-1910”. ''วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์'' 12(2), 217-240. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polscicmujournal/article/view/240247</ref>
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}